| | ในบรรดาไม้ ที่ได้จากการปลูกเชิงพานิชย์ในประเทศไทย มีไม้สักเท่านั้นที่ได้ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างมากที่สุด การปลูกสวนป่าอื่นๆ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อการต่างๆโดยเฉพาะเช่น ต้นยูคาลิปตัส ก็เพื่อนำไปทำเยื่อกระดาษ สวนยางพาราก็เพื่อผลิตน้ำยาง เมื่อต้นยางพาราหมดอายุที่จะให้น้ำยางต่อไป จำเป็นต้องโค่นออกเพื่อปลูกต้นยางรุ่นใหม่ ชาวบ้านจะลำต้นเป็นขนาดความยาวประมาณ 1 เมตร เพื่อให้สามารถแบกขนส่งด้วยแรงคนออกมาจากสวนยางได้โดยง่าย ไม้ยางเหล่านี้ถูกนำไปเผาทำถ่านไม้ ทำเป็นฟืนบ้าง หรือเอาไปบดย่อยผสมกาวอัดออกมาเป็นแผ่นวัสดุไม้เทียมบ้าง จนกระทั่งมีคนญี่ปุ่นเห็นความสวยงามของเนื้อไม้สีอ่อน ขาวสวยของไม้ยาวพาราเข้า จึงมากว้านซื้อไม้ยางพาราจากไทยไปผลิตทำเฟอร์นิเจอร์ ไม้ยางพาราจึงเริ่มมีราคาขึ้น แต่ก็ยังไม่มีการนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างบ้านและอาคาร เพราะในอดีตยังไม่มีความรู้ที่จะกันปลวก และการป้องกันการเกิดเชื้อรา กับเนื้อไม้ยางพาราได้ เมื่อความต้องการใช้ไม้ในประเทศมีมากขึ้นถึงขั้นขาดแคลน ! ประเทศไทยที่เคยมีสินค้าไม้เป็นสินค้าส่งออกสำคัญ กลับต้องสั่งไม้สน จากประเทศแถบ สแกนดิเนเวียนขนใส่เรือข้ามโลกมาใช้ สั่งไม้จากมาเลเชียที่เรียกให้ดูดีว่าเต็งมาเลเซีย คนไทยจึงหันกลับมาดูไม้ที่เรามีใช้อย่างเหลือเฟือ คือไม้ยางพารา วิทยานิพนธ์ วปอ. รุ่น 4111 ที่เสนอโดย วิทยา งานทวี สรุปว่าป่าสวนยางพารา จะมีมูลค่าอีกมหาศาลพลิกเศรษฐกิจภาคใต้ได้เพราะเราสามารถใช้ไม้ยางพารามา เป็นประโยชน์ให้มากกว่าการนำมาเผาเป็นเชื้อเพลิง หรือนำมาเพิ่มมูลค่าได้สูงสุดแค่การนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบเดิมๆ โดยต้องใช้เทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพไม้ที่ใช้กันในยุโรปและ อเมริกามาปรับเปลี่ยนไม้ยางพาราให้เหมาะสมกับการใช้ในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ค่าก่อสร้างในประเทศไทยแพงอยู่ที่ราคาวัสดุมีสัดส่วนถึง 70% ของมูลค่าก่อสร้างทั้งหมด ดังนั้นชาวชนบทจึงจะสามารถปลูกและหาวัสดุก่อสร้างได้ฟรีเอง ถ้าไม้ยางพารานำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ กรมป่าไม้ได้ทำข้อมูลคุณสมบัติของไม้ยางพาราเทียบกับไม้อื่นๆที่ปลูกเป็น อุตสาหกรรมได้ ปรากฎว่ามีผลออกมาที่น่าสนใจ และ ต่างกับความเข้าใจเดิมๆของคนทั่วไปเพราะพบว่า เมื่อเทียบกับไม้สัก ไม้ยางพารา มีความแข็งแกร่งในด้านวิศวกรรม ใกล้เคียงเทียบเท่า กับไม้สัก ! และมีคุณสมบัติเหนือกว่าไม้ยูคาลิปตัส และไม้สะเดา เป็นอย่างมาก (ดูตารางคุณสมบัติที่ เกียรติศักดิ์ จิรเธียรนาถ ศึกษานำมาเปรียบเทียบ)
คุณสมบัติของไม้ยางพารา เปรียบเทียบ ไม้สักและไม้ปลูกเชิงพานิชย์อื่นๆ Selected Thai Wood Properties | Parameter | Unit | สัก (สวน) | ยางพารา | ยูคาลิปตัส | สะเดาเทียม | 1 | ชั้นคุณภาพ | A-C, S | A | B | B | B | 2 | ความแน่น | กก./ม3 | 642-650 | 700 | 1,000 | 510 | 3 | การหดตัวด้านรัศมี | % | 1.08-2.52 | 2.95 | 3.25-6.31 | 0.99-3.26 | 4 | การหดตัวด้านสัมผัส | % | 3.05-6.36 | 5.58 | 6.49-10.37 | 2.81-6.42 | 5 | ความยากง่ายในการผึ่งไม้ | ง่าย-ยากมาก | ง่าย | NA | NA | ค่อนข้างง่าย | 6 | การอบไม้ | 1.0 - 7.0 | 4 | 4 | 4 | 4 | 7 | Static Bending - MOR | MPa | 100 | 95 | 132 | 94 | 8 | Static Bending - MOE | MPa | 10,089 | 9,414 | 14,800 | 9,777 | 9 | Compression parallel to grain | MPa | 49 | 46 | 69.9 | 52 | 10 | Shear parallel | MPa | 14.6 | 15.8 | 20 | 16 | 11 | Static Bending - MOR | กก./ซม2 | 1,045 | 973 | 1,344 | 960 | 12 | Static Bending - MOE | กก./ซม2 | 113,700 | 96,000 | 150,900 | 99,700 | 13 | Compression parallel to grain | กก./ซม2 | 533 | 478 | 713 | 535 | 14 | Shear parallel | กก./ซม2 | 169 | 162 | 199 | 164 | 15 | Impact | กก-ม. | 2.20 | 2.86 | 2.33 | 2.15 | 16 | Hardness (ความแข็ง) | N | 4,864 | 5,276 | 8,510 | 4,011 | 17 | ความทนทานตามธรรมชาติ | ปี | 19.4 | NA | NA | NA | 18 | การอาบน้ำยาไม้ | 1.0-6.1 | 4 | 4 | 4 | 4 | 19 | การเลื่อย | ง่าย-ยากมาก | ค่อนข้างง่าย | ปานกลาง | ค่อนข้างยาก | ปานกลาง | 20 | การไส | ง่าย-ยากมาก | ค่อนข้างง่าย | ปานกลาง | ค่อนข้างยาก | ปานกลาง | 21 | การเจาะ | ง่าย-ยากมาก | ค่อนข้างง่าย | ปานกลาง | ค่อนข้างยาก | ปานกลาง | 22 | การกลึง | ง่าย-ยากมาก | ค่อนข้างง่าย | ปานกลาง | ค่อนข้างยาก | ปานกลาง | 23 | การยึดเหนี่ยวตะปู | ดีมาก-น้อยมาก | ดี | ดี | น้อย | ปานกลาง | 24 | การขัดเงา | ง่ายมาก-ยาก | ง่าย | ง่าย | ค่อนข้างยาก | ง่าย | หมายเหตุ - การจัดชั้นคุณภาพไม้ของกรมป่าไม้แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ A (ไม้ชั้นคุณภาพดี), B (ไม้ชั้นคุณภาพปานกลาง), C (ไม้คุณภาพต่ำ) และ S (ไม้เนื้ออ่อนตามที่มีการจำแนกตามลักษณะพฤกษศาสตร์)
- กลสมบัติของไม้ เป็นการจัดขึ้นความแข็งแรงของเนื้อไม้ที่แยกออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่
ชั้นความแข็งแรงของเนื้อไม้ | ความแข็งแรงประลัยของการดัด | ความแข็งแรงอัดสูงสุดของ | สถิต (M.O.R.ของแรงตัดสถิต) (N/mm.2) | การอัดขนานเสี้ยน (N/mm.2) | A (ความแข็งแรงสูง) | สูงกว่า 95.0 | สูงกว่า 51.0 | B (ความแข็งแรงปานกลาง | 60.0-94.9 (ยาง = 95) | 35.0 - 50.9 (ยาง = 46) | C (ความแข็งแรงต่ำ | ต่ำกว่า 60.0 | ต่ำกว่า 35.0 | - ความทนทานตามธรรมชาติ เป็นการจัดขึ้นความทนทานตามธรรมชาติโดยได้จากการทดลองภายใต้สภาวะธรรมชาติ ของดินฟ้าอากาศในแปลงทดลองกลางแจ้ง ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยใช้ไม้ตัวอย่างที่ปราศจากตำหนิขนาด 5 x 5 x 50 ซม. ความชื้นเฉลี่ยไม่เกิน 20 % และปักลงดิน 25 ซม. มี 4 ชั้น ได้แก่ 1) ความทนทานต่ำ (<>10 ปี) ตามความทนทานตามธรรมชาติของไม้บางบชนิดในปี พ.ศ. 2503, 2508, 2519, 2523, และ 2533 โดย พจน์ อนุวงศ์ และคณะ
ไม้ยางพารา มีจุดอ่อนอยู่ที่อายุการใช้งาน จากการการทำลายของปลวก และการเกิดเชื้อรา ที่ไม่สามารถเทียบกับไม้สักตามธรรมชาติที่มียางธรรมชาติในเนื้อไม้ที่กัน ปลวกได้ และไม้สักถึงแม้ว่าจะมีเนื้อไม้อ่อนกว่าไม้ยางพาราก็ตาม แต่มีความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าทำให้ไม้สักมีการดูดซึมของน้ำน้อยกว่า แต่ด้วยเทคโนโลยีสารเคมีที่จะกันปลวก และการป้องกันการดูดซึมน้ำ กับเนื้อไม้ยางพาราธรรมชาติ ในปัจจุบัน ไม้ยางพาราจึงสามารถถูกปรับปรุงให้มีอายุการใช้งานได้เทียบเท่ากับไม้ก่อ สร้างตามธรรมชาติทั่วไปแล้ว มาดูกันว่าในต่างประเทศ เขาได้ใช้ไม้สน ไม้เนื้ออ่อน ต่างๆที่ปรับคุณสมบัติด้วยสารเคมีต่างๆ กัน อย่างไรบ้างแล้ว คานไม้ประกอบด้วยกาว สามารถประกอบเป็นคานใหญ่ ไม่จำกัดขนาดอีกต่อไป คานไม้ประกอบ ที่นำมาสร้างเป็นโครงหลังคาขนาดใหญ่ และมีรูปทรงสวยงาม หน้าตัดคานไม้ประกอบ (Glue Laminated Beam) โครงสร้าง และ การนำไม้ยางพาราไทย มาใช้ในงานพื้น ผนัง ประตู ของตัวอย่างบ้านเอื้ออาทร ที่โครงการ ฉลุง หาดใหญ่ |