วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การผลิตและการบริการที่เร็วขึ้นด้วยหลักการ QRM (Quick Response Manufacturing)

QRM (Quick Response Manufacturing) คืออะไร

คือ แนวคิดและหลักการในการบริหารการผลิตที่มุ่งเน้นการตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว ลดเวลาในการส่งมอบงาน

QRM สำคัญอย่างไร

ใน สภาวะธุรกิจในปัจจุบันนี้ นอกจากการแข่งขันกันทางด้านราคา และคุณภาพแล้ว การส่งมอบงานให้ลูกค้าได้รวดเร็วก็เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ธุรกิจใดตอบสนองต่อลูกค้าได้รวดเร็วกว่า ก็จะได้เปรียบ ทำอย่างไรจึงจะตอบสนองต่อลูกค้า หรือส่งมอบงานได้รวดเร็วขึ้น นั่นก็คือ เราจะต้องเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆ เสียก่อน ซึ่ง QRM เป็นแนวคิดและหลักการที่มุ่งเน้นในการลดเวลาอย่างถูกวิธี


แนวคิดของ QRM

คุณลองทำแบบสอบถาม 9 ข้อต่อไปนี้ ดูว่าคุณเห็นด้วยกับแนวคิดเหล่านี้หรือไม่


1. เราจะต้องทำงานให้หนักขึ้น ใช้เวลาในการทำงานมากๆ เพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น

2. เพื่อที่จะให้งานเสร็จเร็ว เราจะต้องให้เครื่องจักร และคนงานยุ่งอยู่ตลอด

3. เพื่อจะให้งานเสร็จเร็วขึ้น เราจะต้องมีการวัดประสิทธิภาพและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพ

4. แต่ละแผนกงานจะต้องกำหนดวันส่งงานของตนขึ้นมาและทำงานให้ทันกำหนดการส่งงานของแผนก

5. สำหรับชิ้นส่วนที่ผู้ขายต้องใช้เวลามากในการส่งของให้เรา เราควรจะเจรจากับผู้ขายเพื่อสั่งเป็นลอตใหญ่ๆ และขอส่วนลด

6. เราควรจะกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อทีละมากๆ และลดราคาให้ลูกค้า

7. แต่ละแผนกควรจัดตั้งกลุ่มคนเพื่อหาทางลดเวลาในส่วนงานของแต่ละแผนก

8. เราควรจะคิดเงินเพิ่ม หากทำงานด่วนให้ลูกค้าสำเร็จ

9. เราจะต้องลงทุนสูง เพื่อลดเวลาในการส่งมอบงาน

คุณ เห็นด้วยกับแนวคิดข้างต้นกี่ข้อ มีงานวิจัยซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการลดเวลาในการส่งมอบงาน (Quick Response Manufacturing: QRM) ได้สรุปว่า แนวคิดข้างต้นนั้นไม่ถูกต้องสักทีเดียว ลองมาดูแนวคิดใหม่ๆกันบ้าง

1. แทนที่จะใช้เวลาทำงานมากๆ มาหาวิธีทำงานใหม่โดยมุ่งเน้นที่การลดเวลา จะให้ผลคุ้มค่ากว่า

2. จาก ทฤษฎีคิวพบว่า การที่ให้เครื่องจักรและคนทำงานอยู่ตลอดเวลานั้น จะทำให้สินค้าออกมาช้าลง เนื่องจากเวลารอคิวรวมจะเพิ่มขึ้น การที่เพิ่มจำนวนเครื่องจักรหรือเพิ่มกะ และให้เครื่องจักรทำงานอยู่ที่ 70% หรือ 80% ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่จะทำให้เวลารวมน้อยลง ไม่ต้องเสียเวลาเปล่าในคิว ซึ่งจะทำให้ท่านส่งสินค้าได้เร็วขึ้น เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในระยะยาว

3. การวัดประสิทธิภาพไม่ได้ประกันว่าจะช่วยลดเวลา การใช้ตัววัดเวลาจะช่วยให้เกิดการลดเวลาได้ตรงจุดกว่า

4. การ ที่แต่ละแผนกให้ความสำคัญกับการส่งงานทันกำหนดเวลาที่แต่ละแผนกตั้งไว้ อาจทำให้แต่ละแผนกกำหนดเวลาที่นานเกินความจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าแผนกตนจะทำงานเสร็จทันแน่ๆ แนวคิดนี้ยิ่งจะทำให้เวลารวมเพิ่มขึ้น แต่ละแผนกน่าจะมุ่งเน้นที่การลดเวลาโดยรวมมากกว่า

5. การผลิต ลอตเล็กๆ จะทำให้เวลารวมน้อยกว่า เนื่องจากปัญหาเรื่องคิวจะน้อยกว่า ดังนั้น จึงควรเจรจาและร่วมมือกับผู้ขายเพื่อให้เกิดการส่งของเป็นลอตเล็กๆ ทั้งนี้จะเป็นการประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการเก็บของ และยังทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแผนด้วย ในการที่เราจะผลิตของเป็นลอตเล็กลง ก็หมายถึงว่าจะต้องมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์บ่อยขึ้น ดังนั้น จะต้องหาวิธีการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรลงเมื่อเวลาเปลี่ยนลอตด้วย และเมื่อเราสามารถผลิตสินค้าเป็นลอตเล็กได้รวดเร็วขึ้น เราก็จะเจรจาให้ลูกค้ารับสินค้าลอตเล็กได้ ซึ่งก็เป็นผลดีกับลูกค้าที่ว่าลูกค้าก็ไม่ต้องเก็บสินค้าไว้นาน

6. การ ที่แต่ละแผนกมุ่งที่จะลดเวลาในแต่ละแผนก อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแผนกได้ ควรจะมีการจัดตั้งกลุ่ม ที่ประกอบด้วยแผนกต่างๆ และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือลดเวลารวมของงาน

7. การ คิดเงินลูกค้าเพิ่มในกรณีที่ส่งงานเร่งด่วนให้กับลูกค้าได้นั้น เราอาจทำได้ แต่ไม่ควรเป็นจุดประสงค์หลัก จุดประสงค์หลักควรจะเป็นการส่งมอบที่รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้บริษัทมีชื่อเสียง และจะทำให้ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินตามมา

8. การ ลงทุนไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความเข้าใจของทุกคนในบริษัท ที่จะมุ่งเน้นการทำงานเพื่อลดเวลา ควรมีการปรับปรุงตัวชี้วัดของบริษัท ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลดเวลาการส่งมอบ


แนวทางสู่ QRM

ขั้น แรกผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง จากนั้นกำหนดผลิตภัณฑ์หรือส่วนงานที่จะทำการลดเวลา จัดตั้งทีมงานวางแผนและดำเนินงาน โดยหาเวลาที่ใช้ในปัจจุบัน จากนั้น กำหนดเป้าหมาย รวบรวมข้อมูล หาวิธีการลดเวลา และลงมือทำให้เกิดผล

ที่มา http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php?view=knowledgeInsite.KnowledgesDetail&p=&nid=&sid=29&id=1406&left=10&right=11&level=3&lv1=3