วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การขโมยข้อมูลบัตรเครดิต (Skimming)



เนื่องจากช่วงนี้มีข่าวในวงการผู้ใช้บัตรเครดิตหลายท่านว่าถูกขโมยข้อมูลบนบัตรและมีรายการใช้จ่ายจากต่างประเทศเข้ามาในบัตรของตนเอง เบื้องต้นหากทุกท่านประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ อย่าตกใจครับเพราะทั้งบริษัท Visa และ Master Card รวมถึงAMEX,JCB นั้นมีกฎหมายครับว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นนั้นผู้รับผิดชอบคือธนาคารผู้ออกบัตร(Issuer Bank) ดังนั้นรายการพวกนี้จึงสามารถแจ้งปฏิเสธรายการ (Dispute Transaction) ได้ทุกรายการครับ โดยความเสียหายจะตกอยู่กับธนาคารผู้ออกบัตร(Issuer Bank) และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมากกว่าที่จะเกิดความเสียหายกับพวกเราซึ่งเป็นผู้ถือบัตร(Card Holder)
ข้อมูลถูกขโมยอย่างไร

คราวนี้เรามาดูกันว่าข้อมูลบนบัตรเรานั้นถูกขโมยไปอยู่ในมือพวกมิฉาชีพ(Fraud Gang) ได้อย่างไร

บัตรเครดิตที่แพร่หลายกันทั่วโลก ณ ขณะนี้จะเป็นแบบแถบแม่เหล็ก(Magnetic Stripe) เมื่อเรานำบัตรเครดิตไปใช้ไม่ว่าร้านค้าใด ๆ (Merchant) ก็ตามเรามีสิทธิ์ถูกคัดลอกข้อมูลไปได้ตลอดเวลา ซึ่งข้อมูลในแถบแม่เหล็กก็จะจัดเก็บทั้งข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ เลขที่บัตร วันหมดอายุ และข้อมูลของธนาคารผู้ออกบัตร เช่น ชื่อธนาคาร ซึ่งเวลาที่ท่านไปใช้บัตรผ่านเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ(EDC) ทางแก๊งค์ทุจริตก็จะ Copy ข้อมูลบนบัตรของท่านไว้ รวมถึง

การที่ท่านใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าบนเวบที่ไม่เป็นมาตรฐาน และบันทึกเลข 3 ตัวท้ายข้างหลังบัตรซึ่งมีชื่อเรียกว่า CVV2(Card Verification Value) ซึ่งเลขตัวนี้เป็นสูตรในการคำนวณค่าความถูกต้องของบัตร กล่าวคือเป็นสูตรที่จะใช้คำนวณค่าความถูกต้องของเลขที่บัตร 16 ตัว วิธี การขโมยข้อมูลตามร้านค้า หรือสถานบริการต่าง ๆ โดยเด็กที่เดินรูดบัตรตามร้านค้า ปั๊มน้ำมัน หรือร้านอาหารจะนำบัตรเราไปรูดที่เครื่องคัดลอกข้อมูล(Skimmer) ก่อนที่จะรูดกับเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ EDC(Electronic Data Capture) และข้อมูลพวกนี้จะถูกเก็บไว้อาจจะ 1- 2 เดือน หรืออาจจะยาวนานถึง 1 ถึง.... ปี ตราบใดที่บัตรยังไม่หมดอายุข้อมูลพวกนี้ก็สามารถใช้ทำปลอมบัตรเครดิตได้และมีประกาศขายทั่วไป เช่น บนอินเตอร์เนต ตามตลาดมืด

ทำบัตรปลอมอย่างไร

ในตลาดจะมีบัตรที่ปลอมเหมือนบัตรจริงอยู่แล้ว ซึ่งบัตรพวกนี้ผลิตไม่ยากเพียงแค่มีเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับหนึ่งก็สามารถทำได้ และบัตรปลอมพวกนี้จะพิมพ์ไว้สำหรับธนาคารที่ดัง ๆ เช่น Citibank,HSBC,

Bank Of USA,UOB, หรือแม้กระทั่งบัตรในประเทศ เช่น BBL,KTC,K-bank เมื่อมีบัตรปลอมง่าย ๆ บัตรปลอมก็จะทำหน้าที่เหมือนแผ่นDisk เมื่อใดก็แล้วแต่ที่มีข้อมูลบนบัตรมา Copy ลงไปก็จะสามารถนำบัตรไปใช้ได้ทุกร้านที่รับบัตรนั้น ๆ จึงเห็นได้ว่ารายการพวกนี้จะมาจากทั่วโลก พวกแก๊งค์ปลอมบัตรก็ใช้ไปเมื่อไหร่ใช้ไม่ได้ก็ทิ้ง แล้วก็หาบัตรใหม่ ๆ ใช้ต่อไป

แล้วผู้ใช้บัตรจะสามารถป้องกันได้อย่างไร

ป้องกันไม่ได้เพียงแต่สามารถใช้บัตรอย่างระมัดระวังได้ พวกทุจริตก็เหมือพวกก่อการร้ายที่มักใช้วิธีที่ใหม่ ๆ และรอเวลาเราเผลอ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็มักจะเดินตามหลังพวกนี้ 1 ก้าวเสมอ แต่เราก็พยายามเผ้าระวัง ดังนี้

1. ไม่ใช้บัตรในประเทศที่เสี่ยง(High Risk Country) เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดฯ เป็นต้น

2. สังเกตุพนักงานรูดบัตรเครดิตนำบัตรเราไปลับตานาน ๆ หรือการรูดบัตรผิดปกติหรือไม่

3. หมั่นตรวจสอบวงเงินคงเหลือในบัตรตัวเองบ่อย ๆ

4. หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อ Call Center ของธนาคารนั้น ๆ ทันทีเพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานป้องกันทุจริตบัตรเครดิต(Fraud Department) ซึ่งจะทำงานคล้ายตำรวจคอยตรวจสอบ และติดตามจับกุมกระบวนการทุจริตแกงค์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและในโลก

5. ร้านค้าเสี่ยงในประเทศไทย ปั๊มน้ำมันรูปดาวย่านพัฒนาการ ห้างสรรพสินค้าด้านคอมพิวเตอร์ย่านประตูน้ำ ผับชื่อดังย่านทองหล่อ ห้างสรรพสินค้าไฮโซย่านสยาม


ด้วยความปรารถนาดีจาก Thailand People Tribune

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=193158