วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนดื้อรั้น



ผู้บริหารควรจะได้รู้จักกับบุคคลิกภาพที่แตกต่างกันของผู้ใต้บังคับบัญชา และสร้างมนุษย์สัมพันธ์ให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา ได้แก่ การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนดื้อรั้น คนเฉื่อยชา คนที่อารมณ์อ่อนไหว คนที่ขลาดกลัว คนที่ก้าวร้าว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

       1. วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนดื้อรั้น โดยปกติคนประเภทนี้ ไม่พอใจเมื่อถูกสั่งงาน วิธีสร้างความสัมพันธ์กับคนดื้อรั้น มีวิธีดังนี้

            1.1 ถ้าจะสั่งให้ทำงานควรใช้คำสั่งเชิงขอร้อง เช่น คุณช่วยผมตรวจดูบัญชีนี้หน่อยนะ

            1.2 ไม่ควรคาดคั้นให้เขายอมรับว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ถูกต้อง แต่ควรชี้ให้เขาเห็นว่าเขามีส่วนในการรักษาผลประโยชน์ขององค์การ

            1.3 คนประเภทนี้ไม่ค่อยยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง ไม่ควรตำหนิข้อบกพร่อง แต่ควรพูดในลักษณะเป็นการให้กำลังใจ

       2. วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนเฉื่อยชา คนประเภทนี้คิดช้า ทำช้า ดังนั้นวิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนเฉื่อยชา มีดังนี้คือ

            2.1 เมื่ออกคำสั่งควรใช้คำพูดที่ง่ายๆ ชัดเจน และช้าๆ และควรจะพูดทีละเรื่อง

            2.2 คนพวกนี้จะครุ่นคิดถึงเรื่องไม่พอใจตลอดเวลา เพราะเขาไม่อาจโต้ตอบคนอื่นได้ทัน เราต้องแสดงความเห็นใจเขา

            2.3 ถ้าเขาทำอะไรบกพร่องควรชี้ให้เขาเห็นข้อบกพร่องอย่างตรงไปตรงมา

            2.4 ยกย่องชมเชยเขาทันทีที่เขากระทำความดี

            2.5 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในองค์การหรือในกลุ่ม ควรแจ้งให้เขาทราบและอธิบายให้เขาเข้าใจอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เขาถาม

        3. วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนที่อ่อนไหวง่าย โดยปกติคนที่ทีอารมณ์อ่อนไหวมักทนคำพูด คำวิจารณ์ต่างๆไม่ได้ ดังนั้นวิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนที่อ่อนไหว มีวิธีดังนี้คือ

             3.1 พยามระมัดระวังคำพูดที่จะใช้กับบุคลประเภทนี้ให้มากที่สุด พูดคำที่สุภาพ น้ำเสียงธรรมดา หรืออ่อนหวานขึ้น

             3.2 ควรให้ความสนใจแก่เขาเป็นพิเศษ ถ้าเขาพูดก็ต้องฟังและแสดงวามเห็นอกเห็นใจ

             3.3 ถ้าจะออกคำสั่งควรเป็นเชิงแนะนำ เพราะคนประเภทนี้ต้องการการปลอบใจ ต้องการความรักความอบอุ่น

             3.4 ไม่ควรโต้เถียงหรือคัดค้านความคิดเห็นของคนประเภทนี้ เพราะคนประเภทนี้โมโหง่าย

             3.5 หาโอกาสยกย่องชมเชย และให้กำลังใจแก่เขา

             3.6 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในองค์การหรือในกลุ่ม ควรหาโอกาสชี้แจงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเขาตัวต่อตัว แสดงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน เพื่อให้เขาคลายความวิตกกังวล

        4. วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนที่ขลาดกลัว คนที่ขลาดกลัวมักจะขี้อาย ไม่

กล้าซักถาม ดังนั้นวิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนประเภทนี้ คือ

              4.1 เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันควรจะอธิบายให้ชัดเจนว่าจะให้เขาทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร

              4.2 ควรสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเขา เช่น ความไม่พอใจ และหาโอกาสซักถามถึงเรื่องต่างๆเพื่อให้เขาเปิดเผยความในใจ เพราะถ้าไม่ถามเขาก็จะไม่กล้าพูด

              4.3 ไม่ควรเอ่ยถึงความบกพร่องของเขา และควรแสดงให้เขารู้สึกว่าข้อบกพร่องของเขาไม่ใช่เรื่องสำคัญดดยการไม่สนใจสิ่งนั้น

              4.4 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ควรอธิบายให้เขาเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

         5. วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนที่ก้าวร้าว บุคคลที่ก้าวร้าวมักจะชอบโต้เถียง เมื่อไม่พอใจก็มักจะพูดหรือกระทำด้วยความรุนแรง ดังนั้นควรสร้างมนุษยสัมพันธ์กับคนก้าวร้าว ดังนี้

               5.1 ถ้าจะสั่งให้เขาทำอะไรควรสั่งในเชิงขอร้อง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ใช้อำนาจกับเขา แต่เรายกย่องให้เกียรติเขา

               5.2 บุคคลประเภทนี้มักจะชอบร้องเรียน เพื่อเป็นการเรียกร้องความสนใจ ควรฟังแต่ไม่ควรเอาใจใส่ในทุกเรื่อง บางเรื่องก็ต้องฟัง บางเร่องก็ไม่ควรใส่ใจ

               5.3 ไม่ควรใช้คำชมเชยที่พร่ำเพรื่อแต่จะชมเฉพาะเรื่องที่สำคัญเท่านั้น ควรใช้คำชมที่สั้นๆ เพื่อแสดงให้เขาเห็นว่าเราพอใจในความสามารถของเขา

               5.4 การพูดถึงข้อบกพร่องของเขานั้น ควรอธิบายเป็นขั้นตอนตามข้อเท็จจริงตัวต่อตัว เพื่อให้เขาเข้าใจและยอมรับข้อบกพร่องนั้น

               5.5 พยายามศึกษาความสามารถ หรือจุดเด่นของคนที่ก้าวร้าวเพื่อจะใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์

จากประสพการณ์ที่ผ่านมา การที่จะบริหารลูกน้องที่มีอายุมากว่าและ แถมมีนิสัยค่อนข้างจะหัวดื้อนั้น ผมจะใช้วิธีการดังนี้คือ

1. ลูกน้องดังกล่าวมักจะคิดว่าตัวเองจะมีประสพการณ์สูงและ เก่งกว่าคุณที่มีอายุน้อยกว่าแต่คุณเป็นหัวหน้างานของเขานั้น จะต้องเรียกมาคุยในห้องเป็นการส่วนตัว คุณต้องปล่อยให้โอกาสเขาเล่าความเก่งกาจมากด้วยประสพการณ์ให้คุณฟังก่อน และคุณต้องทำตัวยกยอปอปั้นลูกน้องคุณคนนั้น หลังจากนั้นคุณค่อยให้เขาแสดงความคิดเห็นในงานที่คุณทำอยู่ และอย่าขัดโดยเด็ดขาดปล่อยเขาพุดออกมาก่อน หลังจากนั้นคุณก็มอบหมายงานที่สำคัญเพื่อเป็นการพิสูจน์ตามที่เขาได้โม้ให้ คุณฟังก่อนสักเรื่องสองเรื่องและให้ระยะเวลา (Time frame) ให้กับเขาและให้เขากับมารายงานให้คุณฟังอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนคุณที่จะมอบหมายงานให้เขาทำนั้นคุณจะต้องบอกเขาว่า "คุณเป็นบุคคลที่มีความสามารถดังนั้นผมขอมอบหมายงานนี้ให้คุณทำโดยมีกำหนด เวลา.....วัน ผมขอให้คุณช่วยกลับมารายงานผมด้วยอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อที่ผมจะได้เสนองานให้กับผู้ใหญ่ต่อไป" รับรองว่าเขาทำงานชิ้นนี้ให้คุณอย่างสุดชีวิตเลยทีเดียว เพื่อเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา

2. อีกนัยหนึ่งการบริหารคนประเภทนี้ค่อนข้างจะยากมากๆ เพราะเขาเห็นคุณเป็นเด็กเมื่อวานซืนตลอดเวลาไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมแน่นอนทีเดียว ดังนั้นคุณจะต้องทำตัวเป็นจิ้งจกเปลี่ยนสีเพื่อเข้ากับลูกน้องคุณให้ได้ บางครั้งคุณอาจจะพูดในแนวทางว่า "ผมต้องการงานชิ้นนี้โดยด่วนและต้องทำรายงานส่งให้กับผู้บริหารชั้นสูง ผมจะให้คุณเข้าไปพบด้วยกับผู้บริหารท่านนี้ด้วยเผือว่า ท่านผู้บริหารอาจจะต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เป็นการแสดงบทบาทว่าคุณเห็นความสำคัญกับเขามาก ดังนั้นเขาจะ ทำงานถวายชีวิตให้กับคุณโดยไม่มีข้อกังขา บางครั้งคุณต้องปล่อยให้เขาแสดงบทบาทบ้าง และ คุณต้องไม่แสดงเป็น ONE MAN SHOW โดยเด็ดขาดเพราะคุณจะเหนื่อยแทบตายและไม่มีคนช่วยคุณทำงานอย่างเปิดใจและ จริงใจแน่นอน

3. ในบางครั้งคุณเป็นหัวหน้าคน คุณต้องพาลูกน้องไปเลี้ยงข้าวด้วยไม่ว่าจะเป็นข้าวในร้านทั่วไปเช่น ก๊วยเตี้ยว ข้าวแกง หรือจะเป็น ภัตตาคารหรูก็ตาม เพราะลูกน้องคุณจะดูและศึกษาคุณว่า คุณเป็นคนเช่นไรเหมือนกัน ซึ่งจะเหมือนกับคุณศึกษาลูกน้องคุณฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน คุณต้องซื้อใจเขาให้ได้ เขาจะต้องคิดว่าคุณเป็นคนสปอตหรือเปล่า ขี้เหนียวใหม คิดเล็กคิดน้อยใหม นี้คือปัจจัยและเป็นหัวใจในการบริหารคนที่แท้จริงครับ

4. คุณจะไม่เหนื่อยเลยถ้าคุณได้แบ่งงานให้ทั่วหน้ากันไม่ใช่เก็บทำคนเดียวหรือ ที่เรียกว่า one man show นั้นเอง คุณควรจะเรียกประชุมเฉลี่ยอาทิตย์ละ 1 - 2 ครั้งไม่ต้องใช้เวลายาวมากเพราะจะเกิดความเบื่อหน่าย และ รำคราญใจ ไม่ต้องจี้งานมากถามเปรยๆก็ได้ ถ้ามีอะไรให้ลูกน้องคุณเข้าไปรายงานส่วนตัวในห้องให้คุณฟังดีกว่า เพราะบางครั้งเขาทั้งหลายไม่ชอบให้คุณไปประจานด่าหรือว่าต่อหน้าทุกคนในห้อง ประชุม ดังนี้นสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่งเช่นกันต้องระวังให้มากๆ ด้วย มิฉะนั้นลูกน้องคุณจะไปพูดในสิ่งที่ไม่ดีของคุณข้างนอกจนเสียผู้เสียคนมามาก ต่อมากแล้ว เขาต้องการให้คุณชมพวกเขาแต่ละคนในที่ประชุมเพราะต้องการได้หน้าเหมือนกัน ไม่ต้องการคำด่าหรือคำติเตียนโดยเด็ดขาด เขาจะยิ้มระรื่นหัวใจในการทำงาน เหมือนมีพลังเกิดขึ้นสู้ตายเพื่อคุณเลยทีเดียวครับ

ที่มา
http://www.learners.in.th/blogs/posts/378109
http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20081124060551AAO8YmR