วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ERP

 
ERP คืออะไร?
ERP เป็นซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม นั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP
ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า มีหลายธุรกิจที่อิมพลีเมนต์ ERP เพื่อผลในการทำ Business Reengi -neering เพราะต้องการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรให้เป็นไปตามกระบวนการ ที่เป็น Best Practice โดยที่ซอฟต์แวร์ ERP จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น (ที่เรียกกันว่า Customizing หรือ คอนฟิกูเรชัน) ซึ่งในทางทฤษฎีได้แบ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปออกเป็น 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์แพ็กเกจ กับ Customizing Software Package
ข้อแตกต่างของ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งสองประเภทก็คือ ซอฟต์แวร์แพ็กเกจ นั้น เราไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนระบบงานในซอฟต์แวร์นั้นได้ตามความต้องการของ ธุรกิจแต่ละแบบ ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เข้ากับธุรกิจนั้นๆ ก็อาจต้องแก้ไขโปรแกรมของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปตัวนั้นเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็น Customizing Software Package ระบบของซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เตรียมส่วนที่เรียกว่า Customizing ไว้ให้เราใช้ปรับเปลี่ยนการทำงานของซอฟต์แวร์ ให้เข้ากับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจขององค์กรแล้ว
ถ้าจะกล่าวถึง เทคโนโลยีหลักๆ ที่ผลักดันให้เกิดซอฟต์แวร์ ERP ขึ้นมาก็คือ เทคโนโลยีทางด้านระบบฐานข้อมูล และไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นั่นเอง เพราะระบบ ERP นั้น เป็นระบบที่อินทิเกรตฟังก์ชันงานทั้งหมดขององค์กร ดังนั้นข้อมูลจึงจำเป็นที่จะต้องเก็บอยู่ในฐานข้อมูลกลางด้วย ส่วนไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์นั้น เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของการบันทึกข้อมูล จากระบบเดิมที่เคยทำงานในส่วนของแบ็กออฟฟิศมาเป็นรูปแบบในการทำงานในส่วนของ ฟรอนต์ออฟฟิศซึ่งต้องการหน้าจอในลักษณะกราฟิก (Graphic User Interface: GUI) ไม่ใช่รูปแบบที่แสดงแต่ตัวอักษร เหมือนสมัยก่อน ดังนั้นไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์จึงสามารถสนองตอบในส่วนความต้องการในเทคโนโลยี ด้านนี้ได้
ซึ่งถ้าลองศึกษาถึงประวัติศาสตร์ของระบบซอฟต์แวร์สำเร็จ รูปทางธุรกิจกันจริงๆ แล้ว จะพบในอดีตประมาณช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 นั้น ผู้ที่อยู่ในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับองค์กรต่างๆ มีความต้องการที่จะพัฒนาระบบที่เป็นอินทีเกรตซอฟต์แวร์แพ็กเกจแต่ด้วย เทคโนโลยีทางด้านระบบฐานข้อมูลที่ยังมาไม่ถึง รูปแบบของซอฟต์แวร์ในลักษณะนี้จึงเกิดขึ้นไม่ได้

ERP ก็มีประวัติศาสตร์เหมือนกัน

ก่อน ที่จะมีระบบ ERP นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรม ประมาณช่วงทศวรรษ ที่ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการ ผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning (MRP) ซึ่งก็คือ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษที่ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่อง จักร และส่วนของเรื่องการเงิน นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า Manufacturing Resource Planning (MRP II) จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้
ใน ช่วงที่ผมจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาใหม่ๆ นั้น ผมได้มีโอกาสได้สัมผัสระบบ MRP II ตัวหนึ่งที่ชื่อ TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์ ถ้าดูจากหน้าจอเมนูหลัก จะพบว่ามีอยู่ 3 โมดูลหลักๆ ด้วยกันคือ Financial Accounting, Distribution และ Manufacturing และในโมดูลของ Manufacturing จะมี MRP รวมอยู่ด้วย จะเห็นได้ว่า ในการนำเอาระบบ MRP II เข้ามาช่วยในองค์กรหนึ่งๆ นั้น ยังไม่สามารถสนับสนุนการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้ พอจะนึกออกมั้ยครับว่ายังขาดส่วนของระบบงานใด คำตอบก็คือ ระบบการจัดการทางด้านทรัพยากรบุคคลนั่นเองครับ
นี่จึงเป็นที่มาของ ระบบ ERP โดยที่นิยามของคำว่า ERP นี้ เกิดขึ้นในยุคต้นทศวรรษที่ 1990 โดย Gartner Group ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า ERP ดังนั้นระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ 4 M ในองค์กร ซึ่งจะประกอบไปด้วย Material, Machine, Money และ Manpower นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าไปดูที่เมนูหลักของระบบ ERP เราจะพบว่ามีเมนูของทั้ง MRP และ MRP II รวมอยู่ด้วย เพราะ ERP มีต้นกำเนิดมาจากระบบ MRP และ MRP II นั่นเอง 

ERP (Enterprise Resource Planning) สามารถจัดการ Transaction Cycle ได้หมดดังนี้
- Expenditure
- Conversion
- Revenue
- Financial

ERP เป็น Software ที่ใช้ในการ Manage ได้ทั้งองค์กร โดยที่มี common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้มีประสิทธิภาพ มีการ Share ข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และ สามารถที่จะ Integrate ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing
ก่อนที่จะมีระบบ ERP นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรมประมาณช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณ ความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning ( MRP ) ก็คือเราจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุ ดิบหรือ Material ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการนำเอาระบบ คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่องจักร ( Machine ) และส่วนของเรื่องการเงิน ( Money ) นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า Manufacturing Resource Planning ( MRP II )

จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้ ดังที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า ระบบ MRP นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการทางด้าน Material ส่วนระบบ MRP II นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการใน M อีกสองตัวนอกเหนือจาก Material ก็คือ Machine และ Money ซึ่งระบบ MRP II ที่ชื่อ TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์ จะมีเมนูหลักของ Module 3 Modules หลักด้วยกันคือ Financial Accounting , Distribution และ Manufacturing และใน Module ของ Manufacturing จะมีส่วนของ MRP รวมอยู่ด้วย
จะเห็นได้ว่าในการนำเอาระบบ MRP II เข้ามาช่วยในองค์กรหนึ่งๆ นั้น จะยังไม่สามารถซัพพอร์ตการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้ นี่จึงเป็นที่มาของระบบ ERP ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า ERP นั่นเอง ดังนั้นระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร ( Enterprise Wide ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ 4 M ซึ่งจะประกอบไปด้วย Material , Machine , Money และ Manpower นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าไปดูที่เมนูหลักของระบบ ERP เราจะพบว่ามีเมนูของทั้ง MRP และ MRP II รวมอยู่ด้วยเพราะ ERP มีต้นกำเนิดมาจากระบบ MRP และ MRP II นั่นเอง
ERP จะเน้นให้ทำ Business Reengineering เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้ากับ ERP ซึ่งจะแบ่ง Function Area เป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ
1. Marketing Sales
2. Production And Materials Management
3. Accounting And Finance
4. Human Resource
แต่ละส่วนจะมี Business Process อยู่ในนั้น ซึ่งจะมีหลาย Business Activity มาประกอบกัน เช่น activity การออก Invoice เป็น Activity แต่ละ Activity จะไปต่อเนื่องกันหลายๆอันออกไปจนกลายเป็น Process ที่เรียกว่า “Computer Order management” ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ Functional Area ที่เรียกว่า “Marketing And Sale” Concept หลักๆของ ERP คือ เอาทุกข้อมูลของแต่ละแผนกมา Integrate กัน เพื่อ Share ข้อมูลกัน

สรุปแนวคิดคร่าวๆ ของระบบ ERP

  • ERP เป็นซอฟต์แวร์ที่อินทิเกรตฟังก์ชันการทำงานทั้งหมดทั่วทั้งองค์กร ไม่ใช่ระบบสารสนเทศ ที่สนับสนุนการทำงานเฉพาะส่วนของ Business Function เหมือนในสมัยก่อน ซึ่ง ERP จะสนับสนุนรูปแบบการทำงานในส่วนของ กระบวนการทางธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานในหลายๆ ฟังก์ชัน
  • ERP มีการเก็บข้อมูลทั้งหมดอยู่ใน Common Database
  • ERP มีการทำงานในแบบเรียลไทม์ ถูกพัฒนาขึ้นมาตามมาตรฐานที่เป็น Best Practice ในอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ERP ไม่ใช่เป็นแค่เพียงซอฟต์แวร์แพ็กเกจ แต่มันเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือที่เรียกว่าเป็น The way of doing business
  • SAP เป็นมากกว่าคำว่า ERP


ดัง นั้นท่านที่คิดว่า SAP เป็นแค่เพียงซอฟต์แวร์บัญชี คงจะเปลี่ยนแนวคิดได้แล้วนะครับ ผมรู้สึกเสียดายนะครับถ้าท่านคิดว่า SAP เป็นแค่เพียงซอฟต์แวร์บัญชีตัวหนึ่ง เพราะจริงๆ แล้วมันคือ ERP ตัวหนึ่งที่ใช้ในการบริหารและจัดการทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร หลายๆ องค์กรได้ใช้ขีดความสามารถของ SAP เพียงแค่ใช้ในการทำงานในส่วนของระบบประมวลผลทรานซ์แอ็กชันเท่านั้น ผมในฐานะที่ทำงานในส่วนของ Basis ในระบบ SAP R/3 รู้สึกว่า SAP ไม่ใช่เพียงแค่ซอฟต์แวร์แพ็กเกจตัวหนึ่ง แต่เป็นเทคโนโลยี สำหรับแอพพลิเคชันทางธุรกิจ มากกว่า
ทราบไหมครับว่า SAP มีส่วนของระบบ Electronic Data Interchange หรือ EDI ที่สนับสนุนการส่ง EDI Message ทั้งในมาตรฐาน ANSI X.12 หรือ EDIFACT มีส่วนของ Web Integration ที่สนับสนุน HTML โดยอาศัยเว็บบราวเซอร์เป็นไคล-เอ็นต์แทน SAPGUI โดยทำงานผ่าน In-ternet Transaction Server (ITS) ของระบบ SAP มีส่วนของ Business Connector ที่สนับสนุนการส่งข้อมูลในรูปแบบของ XML มีส่วนของ SAPConnect ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อระบบ SAP R/3 กับระบบภายนอก ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต แฟกซ์ X.400 หรือ SAPOffice R/3-R/3 Connection มีส่วนของ SAP Exchange Connector ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบ R/3 Mail System กับระบบ MS Exchange Server ของไมโครซอฟท์และระบบ SAP Internet Mail Gateway ที่ใช้ในการส่ง และรับเมสเซจผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
นอกจาก นี้ยังมีระบบ SAPphone ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อกับระบบ Computer Telephony Integration (CTI) Server ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบ Private Branch Exchange (PBX) โดยที่เราสามารถที่จะใช้งานในส่วนของ Telephony Control Function ได้เช่น Initiating and Transferring Call, Processing Incoming Call Information และรวมถึงเรื่อง Interactive Voice Res ponse(IVR)
นอก เหนือจากที่ผมกล่าวมาทั้งหมดแล้ว SAP R/3 ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายที่มีการทำงานในลักษณะของระบบเปิด ซึ่งผมเองยังยอมรับเลยครับว่า ถึงแม้ว่าจะทำงานมากับระบบ SAP R/3 มาเกือบ 8 ปี ผมยังไม่ได้ใช้งานระบบ SAP R/3 ในส่วนของ Basis ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของระบบ SAP สักเท่าไร บางทีอาจจะเป็นเพราะรูปแบบธุรกิจขององค์กรที่ผมได้มีโอกาสอิมพลีเมนต์ให้ ไม่ได้ต้องการงานในส่วนนี้ หรืออาจเป็นเพราะลูกค้าที่ผมวางระบบ SAP ให้นั้น ไม่ทราบว่ามีส่วนระบบงานพวกนี้อยู่ในเอ็นจินของระบบ SAP R/3 ดังนั้นบทความที่ผมเขียนในส่วน SAP R/3 นี้ ผมอยากให้เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจกับเทคโนโลยีของระบบ SAP R/3 ซึ่งในส่วนของข้อมูลทางเทคนิคนี้ ผมยกไปนำเสนอในนิตยสาร PC Magazine Thailand ส่วนที่ eLeader นี้ ผมคงนำเสนอในมุมมองทางด้านแนวคิดและเทคโนโลยีมากกว่า
ส่วนงานในระบบ SAP Basis ถือว่าเป็นส่วนงานกลางของระบบ SAP (Core) โดยเราจะเรียกคนที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนของ Basis นี้ว่าเป็น Basis Administrator นอกจากนี้ในส่วนของงานทางด้านเทคนิคยังมีงานทางด้าน ABAP ซึ่งแบ่งออกเป็นงานย่อยๆ ได้ 3 ส่วนหลักๆ คืองาน ABAP Report คือการเขียนโปรแกรม ABAP เพื่อออกรายงานที่เป็น Customizing Report งาน Dialog Programming ก็คือการเขียนโปรแกรม ABAP ในลักษณะของทรานส์แอ็กชัน และสุดท้ายก็คืองาน SAPScript ก็คือการเขียน ABAP เพื่อพิมพ์ Preprint Form ต่างๆ เช่น อินวอยซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีส่วนของการเขียน BDC Program สำหรับการทำ Data Conversion และ Interface Program ซึ่งผมจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของงาน ABAP Report

เบื้องหลังของระบบ SAP R/3

สำหรับ ในส่วนของแอพพลิเคชันทั้งหมดในระบบ SAP นั้น จะได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยภาษา ABAP หรือ Advance Business Application Programming (ABAP/4 ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมในยุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นคำที่เรียกใน SAP Release 3.0 ส่วนใน SAP Release 4.0 เป็นต้นไป จะเรียกว่า ABAP เนื่องจากว่ามีการพัฒนาภาษาโปรแกรม ABAP เป็นแบบออบเจ็กต์โอเรียลเต็ดมากขึ้น) และในส่วนของรันไทม์หรือ เคอร์เนลของระบบ SAP นั้น จะถูกพัฒนาขึ้นมาจากภาษา C/C++ (ในรีลีสถัดไปจะมีส่วนของจาวา)
ในส่วนของการอิมพลีเมนต์ ระบบ SAP นั้น จะมีการทำในส่วนของ Customizing หรือ คอนฟิกูเรชัน (จริงๆ แล้วก็คือ การกำหนดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ นั่นเอง) ผ่านทาง Implementation Guide (IMG) เพื่อให้ระบบงาน SAP ทำงานได้กับองค์กรนั้นๆ

โมดูลแอพพลิเคชันหลักๆ ในระบบ SAP


โมดูลแอพพลิเคชันหลักๆ ในระบบ SAP

  1. FI Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
  2. CO Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร
  3. AM Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร
  4. SD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
  5. MM Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ
  6. PP Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
  7. QM Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ
  8. PM Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน
  9. HR Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
  10. TR Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
  11. WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
  12. IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตรฐานของระบบ SAP R/3 ซึ่งจะมีทั้งระบบ Aerospace, Automotive, Banking, Chemicals, Consumer Products, Engineering and Construction, Healthcare, Higher
  13. Education and Research, High Tech, Insurance, Media, Mill Products, Oil and Gas, Pharmaceuticals, Public Sector, Retail, Service Provider, Telecommunications, Transportation และ Utilities