กระแสการระบาดของโลกไข้หวัด 2009 ระลอกสองหน้าหนาวนี้ แน่นอนว่าทำให้ สินค้าคอนซูมเมอร์ หลายตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นและเครื่องฟอกอากาศ หลากยี่ห้อประกาศว่าสินค้าของบริษัท มีประสิทธิภาพในการ”ฆ่าเชื้อโรคได้”
ในยุคแห่งโรคระบาด ความต้องการและความคาดหวัง ของผู้บริโภคต่อสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ เพื่อความสะดวกสบายภายในบ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ อุณหภูมิหรือความสะอาดเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ต้องมีความชัดเจนว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคด้วย
คำถามที่ผมเชื่อว่าอยู่ในใจของผู้บริโภค ทุกคนคือเทคโนโลยีตัวไหนที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้จริง ๆ
สภาวะการแข่งขันแบบนี้ทำให้สินค้าแบรนด์ ชาร์ป โดดเด่นขึ้นมาทันทีเนื่องจากบริษัทชาร์ป ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า พลาสม่าคลัสเตอร์ ตั้งแต่พ.ศ. 2534 และ
ทำอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้สถาบันต่าง ๆ
ทั่วโลกรวมทั้งสถาบันการแพทย์ในประเทศไทยทำการพิสูจน์ ประสิทธิภาพของ
พลาสม่าคลัสเตอร์ ไอออนในการทำลายเชื้อโรคในอากาศ
สถาบัน
วิจัยที่ร่วมกับชาร์ปในการศึกษาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีพลาสม่าคลัสเตอร์
ไอออนในการฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย สารก่อภูมิแพ้
รวมทั้งไวรัสในอากาศมีจำนวนกว่า 13 สถาบันที่มืชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลีใต้ แคนาดา สหรัฐอเมริกา จีนและเยอรมนี
สำหรับประเทศไทยได้ทราบจาก นายทัตซึยะ มิยากิ กรรมการผู้จัดการบริษัทชาร์ป ไทย ว่ามีการวิจัยเช่นกันซึ่งเป็นความร่วมมือกับโรงพยาบาลในประเทศ เนื่องจาก
เครื่องพลาสมาคลัสเตอร์ ไอออน ยังมีราคาค่อนข้างสูงสำหรับผู้บริโภคทั่วไป
แต่โรงพยาบาลมีความเข้าใจเพราะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและผู้ทำงาน
ในโรงพยาบาล บริษัทชาร์ปสำรวจตลาดแล้วจึงมุ่งไปที่โรงพยาบาล และให้โรงพยาบาลทดลองใช้และทดสอบประสิทธิภาพสินค้าในการฆ่าเชื้อโรค
คุณมิยากิ ระบุว่าโรงพยาบาลหลายแห่งให้ความสนใจพลาสมาคลัสเตอร์ไอออน อย่างจริงจังเนื่องจากเกิดการระบาดของไข้หวัด 2009 รวมทั้งไข้หวัดนกที่ระบาดอยู่แล้ว ดังนั้นนายแพทย์จึงเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจอย่างจริงจังในสินค้าตัวนี้
“ในประเทศญี่ปุ่นมีการผลิตเครื่องพลาสมาคลัสเตอร์ไอออน ขนาดเล็กเรียกว่า โมเดล A-10 มี
หลายสีขายเป็นสินค้าแมส ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
แม่บ้านใส่เข้าไปในตู้เสื้อผ้าลดกลิ่นอับ
พวกวัยรุ่นใช้ดับกลิ่นในรองเท้าบู้ต
นอกจากนี้ยังมีการเอาเครื่องพลาสมาคลัสเตอร์ไปประยุกต์สำหรับการใช้งานใน
สถานที่ต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งในบ้าน รถไฟฟ้า สนามบิน โรงพยาบาล โรงงาน
ภัตตาคาร รถบัส ลิฟต์ รวมไปถึงห้องน้ำ”
การวิจัย ประสิทธิภาพของเครื่องพลาสมาคลัสเตอร์ ไอออนในประเทศไทยนั้นนาย สุทธิชัย
เกียรติตนานุสนธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระบุว่าบริษัท
ชาร์ป ไทย ได้ร่วมกับ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ทำการวิจัย ประสิทธิภาพของอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์
ในการฆ่าเชื้อวัณโรคในอากาศ และแผนกจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ
สุทธิ
ชัย ระบุว่าความร่วมมือในการวิจัยประสิทธิภาพของพลาสมาคลัสเตอร์
ในการฆ่าเชื้อวัณโรคกับสถาบันทรวงอกเกิดจากในช่วงเดือนมีนาคมปีนี้
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าจะต่อสู้กับวัณโรค เป็นโรคอันดับหนึ่งในเอเชีย
“ผม
ก็จบมาทางด้านเภสัช พอรู้อยู่บ้างว่า ถ้าทำลายเชื้อวัณโรคได้ เชื้ออื่น
เด็ก ๆ เลย เพราะเชื้อวัณโรคทำลายยาก ชาร์ป ติดต่ออาจารย์ เจริญ (ชูโชติถาวร)
ที่สถาบันทรวงอกเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของพลาสมาคลัสเตอร์
ไอออนในการทำลายเชื้อวัณโรค ซึ่งตอนนั้น
ก็ไม่ทราบว่าจะได้ผลเป็นอย่างไรและอาจารย์เจริญเองก็บอกว่าถ้าไม่ได้ผลก็จะ
ประกาศว่าไม่ได้ผลเหมือนกัน”
สุทธิ
ชัย บอกว่าการวิจัยร่วมกับสถาบันโรคทรวงอกแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน
ขั้นแรกเอาเชื้อโรคจริงมาเพาะให้แข็งแรงเป็นสองชุด
ชุดหนึ่งพ่นพลาสม่าคลัสเตอร์ ไอออน เข้าไปอีกชุดหนึ่งไม่พ่น “ปรากฏว่าเชื้อโรคถูกทำลายเกือบหมดในช่วง 30 นาทีแรก ทำมากสี่ร้อยตัวอย่างซึ่งทางสถิติมีนัยยะสำคัญ ขั้นที่สองเอาเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรง 18 ราย
และนำมาเพาะเชื้อ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ก็ปรากฏว่าทดลองแล้วตายหมด
ก็สรุปเบื้องต้นว่าได้ผลดีคือ พลาสม่าคลัสเตอร์ ไอออน
สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคได้”
“อาจารย์
เจริญ อยากจะทำวิจัยเพิ่มเติมทั้งจำนวนเคส เชื้อจากคนป่วยให้เพิ่มขึ้น
และการจำลองสถานการณ์
สร้างห้องปิดและให้มีเชื้ออยู่ในอากาศและทดลองใช้พลาสม่าคลัสเตอร์
ไอออนเพื่อให้เห็นประสิทธิภาพในการฆ่าขณะที่เชื้อล่องลอยอยู่ในอากาศ
ซึ่งเป็นครั้งแรกในโลก”
ทาง
ด้านการวิจัยร่วมกับแผนกจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในอากาศ สุทธิชัยระบุว่า “ทดลอง
กับแบคทีเรียห้าชนิดและเชื้อราสามชนิด
โครงการนี้ร่วมกับอาจารย์ที่สอนทางการแพทย์ มีการนำเชื้อทั่ว ๆ ไปมาทดลอง
ซึ่งเชื้อแบคทีเรียทั้งห้าตัวนี้
อาจารย์บอกว่ามีอยู่ตัวหนึ่งที่ทำลายยากมาก ก็ทำคล้ายกับวัณโรค
คือนำเชื้อมาเพาะให้แข็งแรงแล้วก็พ่นพลาสมาคลัสเตอร์ ออกมาก็ได้ผล 90 เปอร์เซ็นต์เหมือนกันแต่เชื้อรา จะได้ผลน้อยกว่าแบคทีเรียเพราะเชื้อรามีพนังเซลล์ที่แข็งแรง”
สุทธิ
ชัย ระบุว่าจากการพูดคุยกับคณะแพทย์ที่ขอนแก่นทราบว่า พลาสมาคลัสเตอร์
ไอออนที่มีประสิทธิภาพ
แบบนี้จะมีประโยชน์มากสำหรับโรงเรียนแพทย์และอุปกรณ์ห้องแลบ
เนื่องจากเป็นสถานที่มีการแพร่กระจายของเชื้อต่าง ๆ
ได้ง่ายโดยเฉพาะอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ เทเลสโคปซึ่งต้องทำความสะอาดบ่อย
และมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้ามีเทคโนโลยีทำลายเชื้อต่าง ๆ
ในอากาศได้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงสำหรับ นักศึกษาแพทย์และอุปกรณ์ราคาแพงต่าง ๆ
ในห้องแลบไม่ให้ติดเชื้อได้
“มี
การวิจัยอื่นด้วยซึ่งยังไม่เรียบร้อย ซึ่งทางชาร์ป ไทย
ให้ความช่วยเหลือทางด้านอุปกรณ์และค่าแรงต่าง ๆ ซึ่งเป็นเงินไม่มาก
ซึ่งในกรณีของประเทศไทยนั้น เป็นความร่วมมือซึ่งมีความพิเศษ ตรงที่อาจารย์
อยากจะทำวิจัยและเราช่วยสนับสนุน
เฉพาะค่าอุปกรณ์และค่าแรงเท่านั้นไม่ใช่เป็นการจ้างจึงเป็นการวอลันเทียร์
ของอาจารย์ และเป็นการวิจัยเบื้องต้น”
นายทัต
ซึยะ
มิยากิบอกว่าการวิจัยในประเทศไทยค่อนข้างจะพิเศษเนื่องจากเป็นความอยากรู้
ของแพทย์ ว่าประสิทธิภาพของพลาสมาคลัสเตอร์ไอออนมีมากน้อยขนาดไหน ปรกติ
มีสถาบันที่ให้บริการวิจัยหลายแห่งที่สามารถทำการวิจัยให้กับชาร์ปหรือคู่
แข่งของชาร์ปได้ แต่การวิจัยที่เกิดขึ้นไม่ใช่แบบนั้น
และทางชาร์ปก็ให้สนับสนุนแค่อุปกรณ์หรือการซื้อวัสดุค่าแรงเท่านั้นไม่ได้
ใช้เงินมาก ๆ เหมือน กับการให้สถาบันที่เชี่ยวชาญทำการวิจัย ซึ่งเรื่องนี้ “เป็นความสวยงามของประเทศไทย”
ผู้บริหารชาร์ป บอกว่าเทคโนโลยีพลาสมาคลัสเตอร์ น่าจะเป็นเทคโนโลยีเดียวในโลกที่สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้โดยไม่มีคู่แข่ง
แต่ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์รายอื่น ๆ คงไม่เห็นด้วยมีการโฆษณาเหมือนกันว่าฆ่าเชื้อโรคได้เหมือนกัน
ไม่
ว่าใครจะประกาศว่าอย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าคิด
ว่าเทคโนโลยีพลาสมาคลัสเตอร์ ของชาร์ป
มีผลวิจัยมากมายทั่วโลกสนับสนุนและเดินหน้าในเรื่องของการวิจัยทดสอบตลอด
เวลา ในขณะที่รายอื่น ยังไม่เห็นชัดว่ามีอะไรสนับสนุน
ที่มา
http://www.thanonline.com
http://www.sharp-pci.com/th/technology.html