บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 9 ระดับคือ
- สมเด็จเจ้าพระยา
- เจ้าพระยา
- พระยาหรือ ออกญา
- พระ และ จมื่น
- หลวง
- ขุน
- หมื่น
- พัน
- นาย
แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง
นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กลับว่า
ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป
โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550
ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น
เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก
หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป
เมืองตากเป็นเมืองเล็ก
เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็
เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น
จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา
แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ
ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มเติม บรรดาศักดิ์ต่างๆ จากทำเนียบพระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองขึ้นอีกเป็นอันมาก
ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ
ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล
ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น
จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน
ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมีราชทินนาม และ ศักดินา เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น
บรรดาศักดิ์ จมื่น หรือ พระนาย นั้น เป็นบรรดาศักดิ์
หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 ไร่ เทียบได้เท่ากับ
บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น
ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน
และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี
มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด
พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต
ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา
ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น
แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า
สรุป
บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยนี้ ไม่อาจเทียบกับตะวันตกได้
เนื่องจากระบบที่แตกต่างกัน ขุนนางตะวันตกเป็นขุนนางสืบตระกูล
และไม่ใช่ข้าราชการ แม้ว่าขุนนางบางคนรับราชการ แต่ขุนนางไทยเป็นข้าราชการ
และตำแหน่งขุนนางผูกพันกับระบบราชการ ส่วนขุนนางตะวันตกนั้น ตำแหน่งขุนนาง
ผูกพันกับการถือครองที่ดิน ที่ได้รับพระราชทานไว้แต่เดิม และส่วยสาอากร
หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดินนั้น ขุนนางตะวันตก
จึงมีส่วนคล้ายกับเจ้าต่างกรม ของไทย ในส่วนของผลประโยชน์ในตำแหน่ง เช่น
ส่วย กำลังคน เป็นต้น แต่เจ้าต่างกรมของไทย ก็ไม่ได้สืบตระกูล
ดังนั้น บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยจึงน่าจะเป็นชั้นยศ (Rank)
มากกว่าเป็นบรรดาศักดิ์ (Title) ตามหลักการสมัยใหม่
การเทียบตำแหน่งขุนนางไทยโบราณกับปัจจุบันจึงไม่ยากนัก
เพราะเมื่อเป็นชั้นยศ ที่หมายถึงลำดับสูงต่ำของคนในระบบนั้น
ก็เอาระดับสูงสุด กับต่ำสุดมาเทียบกัน และประมาณการเอาได้ โดยไม่ยาก
แต่อาจจะไม่ตรงกันโดยสมบูรณ์ แต่ก็จะทราบอย่างคร่าวๆ เช่น ข้าราชการรับ ซี 1
อาจเทียบได้กับ "นาย" ระดับ 2 เทียบ พัน หรือ หมื่น ระดับ 3,4 เทียบขุน
(เพราะระดับ 3 ถือเป็นข้าราชการสัญญาบัตร) ระดับ 5,6 เทียบ หลวง ระดับ 7,8
เทียบพระ และระดับ 9,10 เทียบพระยา (โดยระดับ 10 อาจเทียบพระยานาหมื่น
คือศักดินา 10,000 ไร่ ส่วนระดับ 9 เทียบพระยาศักดินาต่ำลงมาคือ 5,000 ไร่)
ส่วน ข้าราชการระดับ 11 อาจเทียบได้กับ เจ้าพระยา ส่วน บรรดาศักดิ์
"สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป
เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ
ไม่อาจเทียบได้กับข้าราชการปัจจุบัน แต่เหมือนกับการยกสามัญชน
ขึ้นเทียบเท่าเจ้าต่างกรมมากกว่า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการเทียบเพียงคร่าวๆ
เท่านั้น
หากจะเทียบขุนนางสมัยก่อนกับข้าราชการในสมัยปัจจุบันอาจเทียบได้ดังนี้
คือ ตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง ในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันเรียก ปลัดกระทรวง
นั้นในสมัยโบราณมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" ส่วนตำแหน่ง เจ้ากรม
ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเรียก อธิบดี สมัยโบราณนั้น
เจ้ากรมมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" หรือ "พระ"
เพราะฉะนั้นหากจะเทียบเคียงกันจริงๆนั้น เทียบได้ยาก
แต่ก็พอเปรียบได้ดังนี้ คือ ปลัดกระทรวง มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระยา
รองปลัดกระทรวง,อธิบดี มีบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยา" หรือ "พระ"
รองอธิบดี,ผู้อำนวยการสำนัก มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง"
ผู้อำนวยการกอง,หัวหน้ากลุ่มงาน มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงหรือขุน"
ระบบบรรดาศักดิ์ของไทย รวมทั้งราชทินนาม ได้มีการยกเลิกไปใน พ.ศ. 2485 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล