วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นก่อนการจับมด

ในบทความ นี้ เราจะมาพูดถึงสิ่งต่างๆที่ควรรู้ก่อนการจับมดกันครับ โดยก่อนที่จะทำการจับมดนั้น แน่นอนว่าเราต้องหาความรู้ในหลายๆอย่าง ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่จำเป็นๆ ก็มีดังนี้ครับ
1. การศึกษาสายพันธุ์ของมดในบริเวณที่จะทำการจับ
resizeofimg_4899a.300a

สิ่ง แรกที่เราต้องทำก่อนเลยก็คือ การเดินสำรวจตรวจสอบ ณ บริเวณที่เราต้องการจะจับมดนั่นเองครับ ซึ่งเราต้องหาข้อมูลให้ได้ก่อนว่า มด ในบริเวณที่เราจะจับนั้น มีสายพันธุ์อะไรบ้าง ลักษณะรูปร่างแบบไหน รวมถึงสายพันธุ์ที่เราเจอนั้น มีลักษณะการดำรงชีวิตเช่น ฤดูสืบพันธุ์ ที่อยู่อาศัย เป็นอย่างไร โดยอาจจะหาข้อมูลคร่าวๆจากอินเทอร์เนตเป็นต้น

ตัวอย่างในการทำเช่น แถวๆบริเวณที่เราจะจับนั้น มี
มดแดงหรือมดส้ม อาศัยอยู่สายพันธุ์: Oecophylla smaragdinaชื่อเรียกทั่วไป: Weaver antลักษณะคร่าวๆ: ตัวสีแดงออกส้ม ขายาวที่อยู่อาศัย: ทำรังอยู่ตามต้นไม้ฤดูสืบพันธุ์: ช่วงเดือน กพ. ถึง เดือน เม.ย. โดยประมาณ

เมื่อเราได้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือ
2. ศึกษาพฤติกรรมคร่าวๆของมด เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยง
3352982154_6912dd5493

แน่ นอนครับ ถ้าเรารู้เพียงแค่ข้อมูลข้างต้นแล้วจับมาเลี้ยงเลย โอกาสสำเร็จในการเลี้ยงจะค่อนข้างน้อย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องหาเพิ่มเติมก็คือ พฤติกรรมของมัน ก่อนที่จะจับมันมาเลี้ยงโดยผมขอแบ่งพฤติกรรมของสายพันธุ์มดออกเป็นสองแบบดัง นี้ครับ
2.1 ลักษณะเฉพาะของมดในสายพันธุ์นั้น

สามารถแบ่งหลักๆออกเป็น 2 ประเภทครับคือ

Polygynous: ภาย ในมด 1 รัง สามารถมีนางพญาได้มากกว่า 1 ตัวช่วยกันออกไข่ ซึ่งแน่นอนครับ เราอาจพบนางพญาได้มากกว่า 1 ตัวใน 1 รัง และทำการจับมาอยู่ร่วมกันได้เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยง

Monogynous: ภายในมด 1 รัง จะมีนางพญาดูแลแค่เพียง ตัวเดียว
2211974567_ee4606b493_m
อย่าง ไรก็ตาม มดบางสายพันธุ์จะถูกเรียกว่าเป็น Pleometrosis ซึ่งมีลักษณะคือ สามารถมีนางพญาได้มากกว่า 1 ตัวใน 1 รัง เพียงระยะเวลาช่วงแรกๆช่วยกันเลี้ยงไข่และตัวอ่อน แต่หลังจากนั้น นางพญาจะเกิดการต่อสู้และฆ่ากันเองจนเหลือเพียงตัวเดียว

ลักษณะเฉพาะ เหล่านี้ มีประโยชน์กับเราในเวลาออกไปจับมดตรงที่ เวลาเราหานางพญา ถ้าเป็นสายพันธุ์ Polygynous จะสามารถหานางพญาได้ง่าย และเราสามารถหาได้มากกว่า 1 ตัว และจับมารวมอยู่ด้วยกันได้เลย แต่ถ้าเป็น Monogynous เราจะรู้ว่าโอกาสที่เราจะหานางพญาได้นั้นก็ค่อนข้างยาก เป็นต้น

2.2 วัฏจักรการเติบโต
5a2a64e5b39030693c07859ff183a886

ต่อจากลักษณะเฉพาะ
เราก็ต้องมาดูว่ามดที่เราจะจับมาเลี้ยงนั้นมีการเติบโตอย่างไร โดยผมแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ

Monomorphic: ในรังมดสายพันธุ์ที่เป็น Polymorphic นั้นจะมีการแบ่งวรรณะแค่ชั้นเดียวเท่านั้นคือ มดงาน (workers)

Polymorphic: มีการแบ่งวรรณะมากกว่า 1 ชั้นคือ อาจมีมดทหาร (Soldier) มดงาน (Worker) เป็นต้น ซึ่งอาจจะแยกเป็นทั้ง Major Soldier, Minor Soldier, Major worker และ Minor worker ด้วยครับ

นอกจากนี้ เรา ต้องศึกษาวงจรชีวิตคร่าวๆของมดสายพันธุ์ดังกล่าวด้วยเช่นจากไข่ที่ฟักออกมา แล้ว จะกลายเป็นอะไรต่อไปก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย เป็นต้น
19a9d9691f8efbd0e99e9211f6881bb0

โดย สิ่งที่เราจะได้จากการทำขั้นตอนนี้ก็คือ เพื่อช่วยในการสรรหาที่เลี้ยงที่สามารถเข้ากับมดเรามากที่สุด เนื่องจาก วัฏจักรมดบางสายพันธุ์อาจมีการสร้าง Cocoon และต้องมีการบ่มเพื่อให้ตัวอ่อนฟักออกมาได้ ดังนั้นรังที่จะใช้เลี้ยงอาจจะต้องมีส่วนที่อุ่น และแห้ง สำหรับ Cocoon และส่วนที่ค่อนข้างชื้น สำหรับตัวอ่อน และไข่ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการขุดรังจับเนื่องจากรังมดที่เต็มไป ด้วยมดทหารนั้น ค่อนข้างอันตรายในกรณีที่มดเข้ามารุมทำร้ายผู้จับด้วย

จากตัวอย่างทางด้านบน เมื่อนำมาศึกษาเพิ่มเติมตามข้อ 2 แล้ว จะได้ข้อมูลเพิ่มดังนี้
มดแดง หรือมดส้ม
สายพันธุ์: Oecophylla smaragdinaชื่อเรียกทั่วไป: Weaver antลักษณะคร่าวๆ: ตัวสีแดงออกส้ม ขายาวที่อยู่อาศัย: ทำรังอยู่ตามต้นไม้ฤดูสืบพันธุ์: ช่วงเดือน กพ. ถึง เดือน เม.ย. โดยประมาณลักษณะเฉพาะ: Monogynous (1 รัง 1 นางพญา)การเติบโตของไข่: Monomorphic (มีแค่วรรณะเดียว)วัฏจักร: ไข่ > ตัวอ่อน > ตัวเต็มวัย
3. ศึกษาลักษณะที่อยู่อาศัยของมดในสายพันธุ์นั้น
3086946338_afc83e1f19

เพื่อ จัดสถานที่และตกแต่งอุปกรณ์การเลี้ยง ให้คล้ายกับลักษณะที่อยู่อาศัยของมดชนิดนั้นๆมากที่สุด โดยสิ่งที่จำเป็นจะต้องหาข้อมูล และศึกษาคือ
ความชื้น: มดบางสายพันธุ์ต้องการความชื้นสูงในตัวรัง ในทางกลับกันบางสายพันธุ์ต้องการความแห้ง ข้อมูลตรงนี้จะทำให้เรารู้ถึงปริมาณน้ำที่เราควรจะหยดลงไปในรังเพื่อเพิ่ม ความชื้นในแต่ละวันของมดในแต่ละสายพันธุ์
อุณหภูมิ: มด ส่วนใหญ่สามารถอยู่ในอุณหภูมิปกติในบ้านเราได้ จึงไม่น่ามีปัญหาอะไรมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม บางสายพันธุ์ต้องการความอบอุ่นที่ใช้สำหรับการบ่ม Cocoon ของมัน
ในดินหรือบนต้นไม้: มดบางสายพันธุ์ทำรังลงไปลึกในดิน บางสายพันธุ์ตามโคนต้นไม้ และบางสายพันธุ์บนต้นไม้ใหญ่เป็นต้น
อาหาร: ลักษณะอาหารที่มดขนเข้าสู่รังเช่นเศษอาหาร แมลงต่างๆ ฯลฯ
จากตัวอย่างทางด้านบน เมื่อนำมาศึกษาเพิ่มเติมตามข้อ 3 แล้ว จะได้ข้อมูลเพิ่มดังนี้
1f8e5b159b444f97516dff9a1b41f694

มดแดง หรือมดส้ม
สายพันธุ์: Oecophylla smaragdinaชื่อเรียกทั่วไป: Weaver antลักษณะคร่าวๆ: ตัวสีแดงออกส้ม ขายาวที่อยู่อาศัย: ทำรังอยู่ตามต้นไม้ฤดูสืบพันธุ์: ช่วงเดือน กพ. ถึง เดือน เม.ย. โดยประมาณลักษณะเฉพาะ: Monogynous (1 รัง 1 นางพญา)การเติบโตของไข่: Monomorphic (มีแค่วรรณะเดียว)วัฏจักร: ไข่ > ตัวอ่อน > ตัวเต็มวัยความชื้นและอุณหภูมิ: พอประมาณ แต่ไม่ชอบแห้งลักษณะรัง: ทำรังจากการห่อใบไม้เป็นก้อนบนต้นไม้ใหญ่อาหาร: สัตว์หรือแมลงขนาดเล็ก เศษอาหารตามโคนต้นไม้

อย่าง ไรก็ตาม ในบางสายพันธุ์ อาจต้องหาข้อมูลเฉพาะและเทคนิคในการจับเพิ่มเติมในแต่ละสายพันธุ์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น บนต้นไม้มีรังมดส้มอยู่ประมาณ 5 รัง เราอาจคิดว่าในรังที่อยู่บนต้นไม้นั้น ต้องมีนางพญาอยู่แน่ๆ 1 ตัวในแต่ละรัง แต่ที่จริงแล้ว ทั้ง 5 รังนั้นคือ 1 รังใหญ่ ที่ลูกๆของมันแยกออกมาสร้างเพื่อหาอาหาร แต่รังที่มีตัวนางพญานั้นมีอยู่รังเดียวใน 5 รังนั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นรังที่อยู่บนสุดในจำนวนทั้ง 5 รังนั้นนั่นเอง

เป็นยังไงบ้างครับ ... ทีนี้เราก็เตรียมพร้อมขั้นนึงแล้วสำหรับการที่เราจะเริ่มล่ามดกัน ^^