การเลี้ยงออกเป็นสองวิธีดังนี้ครับ
1. การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาเพียงแค่ตัวเดียว
เป็นการเลี้ยงมดโดยเริ่มจาก จับนางพญามาเพียงแค่ตัวเดียว ซึ่งวิธีการจับก็คือการหาจับเอาตามช่วงฤดูผสมพันธุ์ของมดสายพันธุ์ที่จะ เลี้ยงครับโดยข้อมูลของฤดูผสมพันธุ์ของมดในแต่ละสายพันธุ์ ผมจะพยายามหาข้อมูลแล้วเอามาลงกันให้ได้อ่านกันมากที่สุดครับ
การเลี้ยงแบบนี้นั้น มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี:
1. การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาเพียงแค่ตัวเดียว
เป็นการเลี้ยงมดโดยเริ่มจาก จับนางพญามาเพียงแค่ตัวเดียว ซึ่งวิธีการจับก็คือการหาจับเอาตามช่วงฤดูผสมพันธุ์ของมดสายพันธุ์ที่จะ เลี้ยงครับโดยข้อมูลของฤดูผสมพันธุ์ของมดในแต่ละสายพันธุ์ ผมจะพยายามหาข้อมูลแล้วเอามาลงกันให้ได้อ่านกันมากที่สุดครับ
การเลี้ยงแบบนี้นั้น มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี:
- เรา จะได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของรัง รวมถึงพฤติกรรมของนางพญาเรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มแรกเลยจริงๆ เพราะนางพญาที่เราจับมานั้น พูดง่ายๆว่ายังไม่เคยผ่านการวางไข่หรือสร้างอาณาจักรที่ไหนมาก่อนแน่นอน
- อีก ข้อก็คือเรามั่นใจได้เลยว่า นางพญามดที่เราจับมานั้น จะอยู่กะเราไปอีกนานถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เนื่องจากดังที่กล่าวมาแล้วว่า นางพญาที่เราจับมานั้น ไม่เคยผ่านการสร้างอาณาจักรที่ไหนมาก่อน ดังนั้นมันจึงเหมือนกับเพิ่งเริ่มวิถีชีวิตของมันสดๆใหม่ๆ ต่างจากนางพญาที่เราไปจับมาจากรังที่มีอยู่ ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เค้าสามารถจะอยู่กะเราได้อีกระยะเวลาเท่าไหร่ตามอายุขัยของเค้าเอง
- ไม่ ต้องกังวลเรื่องการออกแรงขุดดิน บาดแผลเนื่องจากโดนมดต่อย กัด ฯลฯ อีกมากมายในการไปหามด เพราะว่าสิ่งที่เราต้องทำคือเพียงแค่ หาช่วงฤดูผสมพันธุ์ แล้วก้มตามพื้นหานางพญาที่ผ่านการผสมพันธุ์ และสลัดปีกแล้วเท่านั้น !!
- เนื่อง จากจะเป็นวิธีการเลี้ยงที่ค่อยๆริเริ่มไปทีละนิดจากนางพญาเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณน้ำ หรืออาหารที่ต้องให้ในระยะแรก รวมถึงการรักษาความสะอาดทำได้ง่าย เมื่อเทียบกับรังขนาดใหญ่
- การ รอคอย !! รอแล้วรออีก สำหรับคนใจร้อนที่อยากจะต้องการเห็นการดำรงชีวิตของมดแบบรวดเร็ว การหาอาหาร ศึกษาสังคมของมด ฯลฯ เค้าอาจจะต้องรอคอยเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในระยะแรกสำหรับการวางไข่ของนางพญา กว่าไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน (Larvae) กว่าตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้ (Pupae) กว่าดักแด้จะฟักออกมา (eclose) แล้วกว่าจะรอจนมดงานโตสามารถหาอาหารได้ แล้วขยายอาณาจักรต่อไป ซึ่งสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็คือ ใจเย็นๆ และรอเท่านั้น...
- โอกาส การจับนางพญาที่ไม่ได้รับการผสม จากประสบการณ์ที่ผมผ่านมา การจับนางพญาในช่วงฤดูผสมพันธุ์นั้นไม่สามารถยืนยันได้ 100% ว่านางพญาที่เราจับมานั้นได้รับการผสมเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ว่านางพญาที่เราจับมาจะไม่มีปีกแล้วก็ตาม แต่ในทางเดียวกัน นางพญาที่ยังมีปีกอยู่ก็สามารถพบว่าได้รับการผสมและสามารถวางไข่ได้เช่น เดียวกัน นอกจากหนี้ ในหลายๆคนอาจสับสนระหว่างนางพญามดกับแมลงเม่า ซึ่งจะบินมาปนๆกันแถวหลอดไฟช่วงฤดูผสมพันธุ์ จึงต้องสังเกตดีๆในการจับ
- การ จัดที่อยู่อาศัยให้เข้ากับสายพันธุ์ที่จับมานั้น ทำได้ยาก เนื่องจากนางพญาที่เราเจอในช่วงผสมพันธุ์นั้น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่ารังเดิมเค้าอยู่แถวไหนมาก่อน ลักษณะรังเป็นอย่างไร ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เราจะจัดรัง กำหนดความชื้น อุณหภูมิ ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตให้กับนางพญาที่เราทำการจับมา
- การ ที่จะไม่รู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่นางพญาจะออกไข่ชุดแรก การเลี้ยงโดยเริ่มจากนางพญาตัวเดียวยังอาจทำให้เราต้องรอเก้อได้ เนื่องจาก กรณีแรกคือนางพญาไม่ได้รับการผสมซึ่งจะไม่มีการออกไข่เลย ส่วนอีกกรณีนึงก็คือ นางพญาเลือกที่จะเลื่อนช่วงการออกไข่ออกไปฤดูอื่น ซึ่งกว่าจะออกไข่ก็อาจต้องรอเป็นเดือนๆกันเลย ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ อาจทำให้เราต้องรอเป็นระยะเวลานานมาก เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่านางพญาที่เราจับมานั้นจะเป็นแบบกรณีไหน
โดยมีวิธีการทำดังนี้
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
- หลอดทดลอง
- สำลี
- น้ำ
- ปากกาหรือไม้ยาวๆสำหรับดันสำลี
- กระดาษทิชชู่
เมื่อ ได้อุปกรณ์ครบแล้ว จึงเริ่มเติมน้ำลงในหลอดทดลองให้เต็ม จากนั้นนำสำลีอุดเข้าที่ปลายด้านบนหลอดทดลองให้แน่นพอที่เราจะสามารถกดลงไป ได้ จากนั้นจึงกดลงไปจนถึงระดับที่เราต้องการให้เหลือน้ำไว้ (ประมาณ 1 ใน 3 หลอดทดลอง) แล้วจึงเทน้ำที่เกินออกจากหลอดทดลอง
จากนั้นนำปากกาหรือ ไม้ยาวพันด้วยกระดาษทิชชู่ เช็ดภายในให้แห้ง แล้วเราก็มาเริ่มทดสอบว่าน้ำจะขังอยู่ภายในได้รึเปล่า โดยการคว่ำหงายหลอดทดลองไปมา แล้วสังเกตว่าน้ำจะไหลออกจากสำลีมาท่วมหรือเปล่า เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำนางพญามาใส่ไว้ แล้วเอาสำลีอุดอีกด้านได้เลยครับ
ข้อควรระวัง
การ เอาสำลีออกจากหลอดทดลองค่อนข้างทำได้ลำบาก และอาจทำให้หลอดทดลองแตกได้ เพราะฉะนั้นควรใช้ที่คีบ ค่อยๆดึงสำลีออกมา ไม่ควรเอาไม้แหย่เข้าไปเพื่อเขี่ยสำลีออกมา
เมื่อเรานำนางพญาใส่หลอด ลองแล้ว จึงหาอะไรมาปิดให้มืดหรืออาจจะใช้กระดาษ cellophane สีแดงปิด (แต่ในมดบางสายพันธุ์อาจไม่สามารถทำได้ครับ) เพื่อให้นางพญาไม่รู้สึกเครียด และเริ่มวางไข่ครับ โดยขณะที่นางพญาวางไข่ เราอาจไม่จำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มเลย เพียงแต่คอยดูสำลีที่ชุ่มไปด้วยน้ำว่ามีการขึ้นราหรือเปล่าครับ เมื่อไข่ฟักเป็นมด (ซึ่งปกติใช้เวลาประมาณ 20 วัน ถึง 1 เดือนในมดชุดแรก) จึงเริ่มให้อาหารได้ ลูกๆมดงานจึงจะนำอาหารไปป้อนแก่นางพญาเองครับ เมื่อจำนวนมดงานเริ่มเยอะมากขึ้นพอประมาณ จึงสามารถย้ายเข้าสู่ที่เลี้ยงแบบต่างๆตามใจชอบได้ครับ ^^
2. การเลี้ยงโดยเริ่มจากรังที่มีขนาดใหญ่แล้ว
เป็น การเลี้ยงมดโดยการหานางพญาจากรังตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการสอยรังบนต้นไม้ ขุดรังบนดิน แซะใต้ท่อนไม้ ฯลฯ อีกหลายวิธี โดยเป็นการจับมาทั้งนางพญา และตัวลูกๆมดงานมาด้วย ซึ่งในการเลี้ยงแบบนี้นั้นมีข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ครับ
ข้อดี:
- ไม่ ต้องมานั่งรอว่าเมื่อไหร่ไข่จะฟัก เมื่อไหร่จะมีมดงานออกมาทำงานกัน เพราะว่า รังที่เราจับมานั้นมีมดทุกวรรณะอาศัยอยู่ เราจึงจะเห็นพวกเค้าออกล่าด้วยกันเป็นกลุ่ม ปกป้องรัง สื่อสารกัน และอาจจะพัฒนาสร้างรังเป็นแบบแปลกๆกันไปตามสายพันธุ์เพื่อที่จะอำนวยความ สะดวกแก่นางพญาของพวกเค้าเอง
- เรา จะสามารถเห็นวรรณะ และลักษณะต่างๆของมดสายพันธุ์ที่เราจับมาแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในมดที่เป็น Polygynous เราอาจจะได้นางพญามามากกว่า 1 ตัวในการขุดหารัง หรือมดสายพันธุ์ที่มีหลายวรรณะที่เราเรียกว่า Polymorphic คือมีทั้งมดงานหลายขนาด มดทหารหลายขนาด ฯลฯ หรือแม้แต่เราอาจจะพบกับมดตัวเมียที่เพิ่งฟักออกมาจากไข่หรือที่เราเรียกว่า Female Alates (Virgin queens) หรือมดตัวผู้ (Male Alates) ซึ่งเป็นมดที่จะฟักออกมาในช่วงฤดูผสมพันธุ์และจะไม่ออกจากรังจนกว่าจะถึง เวลาผสมพันธุ์ (แต่ผมแนะนำว่าถ้าเจอควรจะปล่อยพวกเค้าไปครับ เพื่อให้เค้าได้ไปผสมพันธุ์และสร้างรังต่อไป)
- เรา จะเห็นลักษณะการทำงานของมดงานที่เราจับมาครับ ซึ่งในบางสายพันธุ์ อาจแบ่งแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจน เช่น มดงานขนาดเล็ก (Nursemaid) คอยเลี้ยงดูไข่และตัวอ่อน, มดงานขนาดกลาง (Average workers) คอยออกหาอาหาร และมดทหาร หรือมดงานขนาดใหญ่ (Soldier, Major ants) ที่ลักษณะหัวโตๆ จะคอยคุ้มครองรัง
- การ ออกหาจับมดทั้งรังนั้น นอกจากเราจะได้มดมาทั้งรังสำหรับเลี้ยงแล้ว เรายังได้ศึกษาถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกเค้าด้วยว่าเค้าอยู่ลักษณะแบบไหน สภาพรังของเค้าเป็นอย่างไร อุณหภูมิ ฯลฯ ซึ่งเราอาจจะใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ มาออกแบบลักษณะรังที่เลี้ยงให้เค้ากับลักษณะการดำรงชีวิตของมดสายพันธุ์ นั้นๆได้ดีที่สุด
- ขนาด และการพัฒนาการของรัง อาจจะคงที่ หรือเพิ่มเล็กน้อยถ้าเปรียบเทียบกับการเริ่มเลี้ยงเพียงนางพญาแค่ตัวเดียว
- ไม่ มีอะไรยืนยัน และเราจะไม่รู้เลยว่า รังที่เราฝ่าดงมด ฝ่าขวากหนามในป่า สัตว์มีพิษ เข้าไปขุด สอย ฯลฯ นั้น เราจะเจอนางพญามดหรือไม่ ซึ่งหลายๆคนอาจจะประสบปัญหานี้ และถือว่าเหนื่อยและท้อเลยทีเดียวถ้าหากเราไม่สามารถหาตัวนางพญาได้
- สมมุติ ว่าเราพบนางพญา และสามารถจับมาเลี้ยงได้ แต่ก็ยังไม่มีอะไรยืนยันอยู่ดีว่า นางพญาที่เราจับมานั้น จะมีอายุขัย และสามารถอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่ บางที อาจะเป็นรังที่สร้างมานานแล้ว และเป็นนางพญาที่แก่ ใกล้เกษียณปีสุดท้ายแล้ว พอเราจับมา เค้าก็สามารถออกไข่ได้อีกเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น!!
- การ ออกไปขุดรังในป่าตามธรรมชาติถือว่าเป็นเรื่องอันตรายแต่ก็อาจจะเป็นทั้งข้อ ดีและข้อเสียสำหรับบางคนที่อาจถือว่าเป็นเรื่องท้าทายที่เราจะสามารถเจอมด สายพันธุ์แปลกๆได้
- ผู้ ที่เริ่มเลี้ยงใหม่ๆอาจจะมีปัญหากับขนาดของรังที่เราจับมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ ปริมาณอาหาร หรือน้ำให้ไม่พอ ให้มากเกินไป ฯลฯ นอกจากนี้อาจพบปัญหาเกี่ยวกับการดูแลรักษารัง เนื่องจากรังขนาดใหญ่ จะต้องมีพื้นที่ให้บรรดามดได้ออกมาเดิน หาอาหาร (Foraging Area) หรือเพื่อขนสิ่งปฏิกูลต่างๆ สมาชิกของพวกมันที่ตายแล้ว ออกมาทิ้งไว้ภายนอก โดยถ้าดูแลรักษาไม่ดีแล้ว ปัญหาที่อาจตามมาคือ รังขึ้นรา และนางพญาอาจตายได้