วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ ประจำปี 2555

10-watch-technology-2012
ในงานสัมมนา NSTDA Investors' Day 2012  ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ได้นำเสนอ 10 เทคโนโลยีที่ภาคธุรกิจควรต้องให้ความสนใจ ติดตาม รับรู้ และจับตามอง เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้อาจมีผลต่อธุรกิจ และการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในอนาคต โดยสามารถจัดกลุ่มเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ใน  4 สาขาหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ, เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม,  เทคโนโลยีวัสดุ, และเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดย 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปีนี้ มีดังนี้

ด้านสุขภาพ (ด้าน Health)
1. Nanopore Sequencing
เป็นการวิเคราะห์ลำดับเบสของสาย DNA ซึ่งใช้หลักการเหนี่ยวนำทางกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีเบสผ่านเข้าในรูที่มีขนาดระดับนาโนเมตร โดย nanopore sequencer ในปัจจุบันมีโพรงนาโนจำนวนมาก จึงสามารถวิเคราะห์ลำดับเบสทั้งจีโนมได้อย่างรวดเร็วขึ้นกว่าวิธีการ วิเคราะห์แบบเดิม เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เฉพาะบุคคล การตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหาร รวมถึงการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ด้วย

 
ด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม (ด้าน Green)
2. SMART GRID
เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบส่งและ จำหน่ายไฟฟ้า ที่นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากความหลากหลายและจำนวนของแหล่งกำเนิดพลังงาน โดยเฉพาะ พลังงานทดแทนที่มีความผันผวนในการผลิตไฟฟ้าสูง อีกทั้งลูกค้าในปัจจุบันอาจเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าในเวลาเดียวกัน ทำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญ

3. Energy Storage (เทคโนโลยีหน่วยเก็บพลังงาน) เป็น เทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้แหล่งกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่กินพื้นที่น้อย ปลอดภัยและใช้งานสะดวก มีอายุการใช้งานได้นานและราคาถูก ซึ่งการพัฒนาแบตเตอรี่แบบ Flow (Flow Battery) จะให้อิสระในด้านการเลือกขนาดของปริมาณไฟที่จุในแบตเตอรี่แยกจากความต้องการ ด้านกระแสหรือกำลังไฟฟ้า (แบตเตอรี่นี้จะมีถังเก็บเชื้อเพลิงที่แยกกับหน่วย ผลิตไฟฟ้าโดยสามารถออกแบบให้จ่ายกระแสไฟได้ตามต้องการ) ส่งผลให้ในอนาคตรถไฟฟ้าจะสามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว โดยจะสามารถเติมได้เหมือนระบบการเติมน้ำมัน
4. Biorefinery คือ อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม้โตเร็ว หรือของเสียจากอุตสาหกรรม มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น ผ่านกระบวนการที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพเพื่อเปลี่ยนวัตถุ ดิบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยมีการเปลี่ยนของเสียจากกระบวนการหนึ่งเป็นสารตั้งต้นของอีกกระบวนการ หนึ่งจนสุดท้ายไม่มีของเหลือทิ้งเลย (zero waste)
เทคโนโลยีวัสดุ (ด้าน Material)
5. Printed Paper Battery
เทคโนโลยีการพิมพ์แบตเตอรี่ลงบนกระดาษ โดยมีวิธีการทำให้เกิดเป็นเซลไฟฟ้าเคมีที่สมบูรณ์ซึ่งก็คือ แบตเตอรี่ โดยแบตเตอรี่กระดาษนี้บางเบา สามารถโค้งงอ ม้วนพับได้ มีราคาถูก นอกจากนี้สามารถเลือกใช้วัสดุเก็บพลังงานที่ใช้แล้วทิ้งโดยไม่มีสารพิษที่ ทำลายสิ่งแวดล้อม

6. 3D Printing เป็น เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานโดยอาศัยการก่อหรือสร้างเนื้อวัสดุขึ้นมาทีละ ชั้น โดยไม่ต้องสร้างแม่พิมพ์ก่อน เป็นการลดต้นทุนในการผลิตชิ้นงานจำนวนน้อย อีกทั้งการผลิตชิ้นงานสามารถใช้วัสดุได้หลาย ประเภท โดยอัจจุบันราคาเรื่องพิมพ์ 3 มิติมีราคาถูกลงมาก จึงเป็นไปได้ที่ในอนาคตอันใกล้จะมีการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติอย่างแพร่หลายรวมถึงในระดับครัวเรือนด้วย
7. Graphene Composite คือ วัสดุมหัศจรรย์ที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็กถึง 200 เท่า มีความแข็งมากกว่าเพ็ชร และสามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง อีกทั้งยังโปร่งแสงอีกด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าว เมื่อนำกราฟีนมาผสมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อเป็นวัสดุผสมที่เรียกว่าการ Composite จะได้วัสดุที่มีความแข็งแรงมากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยมีมา อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างมากมาย เช่น การนำมาผลิตเป็นวัสดุกระจายความร้อนในอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (ด้าน IT)
8. M2M
การสื่อสารระหว่างเครื่องจักร (Machine to Machine communication) คือ เทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งแบบสายและไร้สายระหว่างอุปกรณ์ โดยระบบจะทำงานอัตโนมัติ มีโครงข่ายเชื่อมโยงกว้างไกลทั่วโลก ทำงานพร้อมกันและขนานกัน ส่งผลให้ในอนาคตการทำงานของมนุษย์จะลดลงและสะดวกมากขึ้น

9. Haptic technology เทคโนโลยี การป้อนกลับเพื่อให้รู้สึกถึงการสัมผัส โดยใช้หลักการของแรง การสั่นและการเคลื่อนไหว ของพื้นผิวสัมผัส เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมเกมส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และในด้านการแพทย์ เช่น ระบบฟื้นฟูสมรรถภาพ การผ่าตัดทางไกล เป็นต้น
10. Virtual Engineering เป็น เทคโนโลยีจำลองงานวิศวกรรมได้เสมือนจริงโดยใช้คอมพิวเตอร์ โดยสามารถจำลองกระบวนการ ผลิตทั้งหมด รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการขนส่ง ซึ่งสามารถวัดผล การทำงานและผลผลิตได้จากการจำลองนี้ ดังนั้น การทำงานของวิศวกรยุคดิจิตอลจึงมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการได้ทันต่อธุรกิจ

ที่มา http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/8998-10-watch-technology-2012