skip to main |
skip to sidebar
เจลาติน (อังกฤษ: gelatin) มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า gélatine เป็นของแข็งโปร่งแสง ไม่มีสี เปราะ และแทบไม่มีรสชาติ ได้มาจากการแปรรูปคอลลาเจน (collagen) ที่มีอยู่ในผิวหนัง กระดูก
รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของสัตว์ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาทำการผลิต
เจลาตินจัดอยู่ในกลุ่มอาหาร มี E number คือ E441
มีการนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น
เครื่องสำอาง ยา อาหาร และฟิล์มถ่ายรูป[1]
โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอาหารซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเจลาตินโดยเจลา
ตินส่วนนี้เรียกว่า edible gelatin ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดต่างๆ
เช่น ขนมหวาน ไอศครีม โยเกิร์ต เป็นต้น
ตลาดที่ใหญ่รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตยาโดยใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยา
และผลิตเป็นแคปซูล ทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่ม
เจลาตินเป็นโปรตีนที่ได้การไฮโดรไลซ์คอลลาเจนด้วยความร้อนหรือใช้สารอื่นช่วย เช่น กรดหรือด่าง[2]
ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงเป็นสารเจลาติน
ในการสลายพันธะในคอลลาเจน ส่วนประกอบหลักที่พบในเจลาตินเป็นสายเกลียวของ α β
และ γ วัตถุดิบในการสกัดเจลาตินคือกระดูก เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
และลำไส้บางส่วนของสัตว์เช่น โคกระบือ สุกร และม้า เป็นต้น
พันธะระหว่างโมเลกุลของคอลลาเจนถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่จัดเรียงตัวได้
ง่ายขึ้น
เจลาตินหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวกลับเมื่อได้รับความเย็น
เจลาตินสามารถก่อเจลแบบกึ่งของแข็งร่วมกับน้ำ
เมื่อละลายเจลาตินในน้ำจะได้สารละลายที่มีความหนืดสูงและก่อเจลเมื่อทำให้
เย็น องค์ประกอบทางเคมีของเจลาตินแทบจะเหมือนคอลลาเจนเริ่มต้น
เจลาตินใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
มี
การนำเจลาตินมาใช้ในการเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น
เครื่องสำอาง ยา อาหาร และฟิลม์ถ่ายรูป
ทางเภสัชกรรมจะใช้เจลาตินในการเคลือบเม็ดยา,
ผลิตเป็นแคปซูลทั้งชนิดแคปซูลแข็งและแคปซูลนิ่มเพื่อใช้บรรจุยา,
ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืดในตำรับยาต่าง ๆ ,ใช้เป็นส่วนผสมของยาชนิดครีม
ทางเกษตรใช้เป็นตัวกลางสำหรับแร่ธาตุที่จำเป็นในการปลูกพืช เป็นต้น
ส่วนในผลิตภัณฑ์อาหารนั้นนำไปใช้ได้มากมาย ได้แก่
ผลิตภัณฑ์นม
- ใช้ในกระบวนการ HTST หรือ UHT นม, นมเปรี้ยว(ใช้ 0.2-0.8%), เนยนิ่ม
(soft cheese) เช่น ซาวร์ครีม, ครีสชีส, คอตเตจชีส,
ชีสสเปรด(เนยทาขนมปัง)), เค้กแช่แข็ง, พุดดิ้ง, เต้าหู้นมสด, คัสตาร์ด,
มูส, ไอศครีม, เนยไขมันต่ำ, มาการีน (ใช้เจลาติน 0.5-3.5%)
ขนมหวาน
- เยลลี่, เม็ดเยลลี่,มาชแมลโล, อาหารเคลือบน้ำตาล, เคลือบผิวขนม,
เค้กแช่แข็ง, เคลือบทอฟฟี่(ช็อกโกแลตหรือหมากฝรั่ง), กัมมีแบร์, หมากฝรั่ง,
นูกัต, ลิโคริส, ขนมเคี้ยวหนึบ,แยม , ชีสเค้ก,
ซีเรียลบาร์(ธัญพืชที่ทำเป็นแท่งๆ ดูรูป)
ผลิตภัณฑ์เนื้อ - เนื้อบรรจุกระป๋อง, ไส้กรอก, เคลือบผิวแฮม, อาหารทะเลกระป๋อง
อาหารอื่นๆ - ซุป, ซอส, มายองเนสไขมันต่ำ, น้ำสลัด, น้ำผลไม้
ปริมาณ
เจลาตินที่ใช้ในอาหารบางชนิดน้อยมาก ซึ่งนักวิชาการอิสลามก็มีความเห็นเป็น 2
ทัศนะ คือมีทั้งที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้ ทัศนะใดที่มีน้ำหนัก
คงต้องอาศัยผู้รู้ค้นคว้าและวิเคราะห์
แต่ยังไงถ้าเห็นว่าเป็นอาหารที่อาจมีส่วนผสมของเจลาตินก็ต้องตรวจดูตราหะล้า
ลและอ่านส่วนผสมให้ละเอียดก่อนจะซื้อ เพื่อความมั่นใจในระดับหนึ่ง
เจ
ลาตินใช้ในอาหารได้หลายอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าอาหารเหล่านี้เราจะทานไม่ได้เลย
เพราะยังมีสารตัวอื่นที่ทำจากพืชนำมาใช้แทนเจลาตินได้ เช่น
คาราจีแนน(จากสาหร่าย), เพคติน(พืช), แป้งดัดแปร ฯลฯ
เท่าที่ค้นได้ก็มี halagel ของมาเลเซีย
ซึ่งเป็นโรงงานมุุสลิม
ผลิตเจลาตินจากกระดูกวัวและแพะที่เชือดถูกต้องตามหลักการอิสลาม
(เค้าว่าอย่างงั้นนะ) เจลาตินของเขาได้รับรองหะล้าลจากมาเลเซีย
อินโดนีเซียและไทยด้วย
ที่มา
http://th.wikipedia.org
http://maansajjaja.blogspot.com/2007/03/blog-post_14.html