skip to main
|
skip to sidebar
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
รู้จักกับ Gorilla Glass
ภาพ:
Corning
เรา อาจเคยผ่านตาเกี่ยวกับชื่อ Gorilla Glass เป็นผิวของจอ Smartphone และ Tablet บางรุ่น ซึ่งกระจกชนิดนี้ว่ากันว่ามีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษกว่าแผ่นกระจกทั่วไป แต่จะแข็งขนาดไหน
ชื่อ Gorilla Glass เป็นเครื่องหมายการค้าของ Corning ผู้ผลิตแผ่นกระจก รวมทั้งเครื่องแก้วรายใหญ่ ได้พัฒนาการผลิตแผ่นกระจกที่แข็งและเหนียวกว่ากระจกทั่วไป
กระจกหรือแก้ว เป็นสารที่เกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ เมื่อสารบางชนิดเช่นทราย ถูกความร้อนสูงเช่นฟ้าผ่า อุกกาบาต
มนุษย์ ผลิตแก้วมาใช้งานมาแล้วนับพันปี โดยใช้ซิลิกาจากทรายเป็นวัตถุดิบสำคัญ ผ่านความร้อนสูงเป็นพิเศษให้หลอมเป็นแก้ว เป่าให้เป็นรูปทรงต่างๆ
Gorilla Glass ของ Corning ก็เริ่มด้วยการหลอมแก้วเช่นกัน แต่ Corning จะเทแก้วหลอมเหลวที่มีส่วนผสมของสารประกอบอลูมิเนียมให้ได้แก้วที่ใสมากลงมา เป็นแผ่นบางเหมือนม่านน้ำ เพื่อให้ได้แผ่นกระจก Aluminosilicate ที่บางประมาณครึ่งมิลลิเมตร บางพอที่จะไม่ขัดขวางการทำงานของ Capacitive Touch screen และไม่หนักจนเกินไป โดยกระจกในกรรมวิธีนี้ ได้ผสมสารประกอบโซเดียมปนลงไปด้วย ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตขั้นต่อไป
กระจก ที่ได้ในขั้นนี้จะเป็นแผ่นบางใสเหมือนกระจกสไลด์ที่ใช้กับกล้องจุลทัศน์ แต่ก็เปราะแตกง่ายเช่นเดียวกัน จากนั้นจะไปผ่านกระบวนการสำคัญที่เรียกว่า Ion Exchange โดยการแช่แผ่นกระจกนี้ลงในสารประกอบของโปแตสเซียมที่ความร้อนสูงราว 400 องศาเซลเซียส อะตอมของโปแตสเซียมซึ่งเป็นธาตุกลุ่มเดียวกับโซเดียมในตารางธาตุ จะเข้าไปแทนที่อะตอมของโซเดียมในแผ่นกระจก
แต่อะตอมของโปแตสเซียมมี ขนาดใหญ่กว่าอะตอมของโซเดียม ผลที่ได้จะเหมือนกับฟูกที่มีลูกกอล์ฟแทรกอยู่ในเนื้อฟูก ถูกดึงเอาลูกกอล์ฟออกแล้วเอาลูกเทนนิสใส่ลงไปแทน เนื้อฟูกจะถูกอัดแน่นขึ้นกว่าเดิม
กระจกที่ผ่านกระบวนการ Ion Exchange จากโซเดียมเป็นโปแตสเซียมนี้จะมีเนื้อที่แน่นกว่าเดิมและแข็งแรงกว่าเดิมหลายเท่า
ภาพ:
Stanley Glass
กระบวน การนี้ไม่ได้มีแต่ Corning เท่านั้นที่ผลิต ชื่อสามัญของกระบวนการนี้คือ Chemical Tempering โดยผู้ผลิตรายอื่นๆอาจผลิตกระจก Chemical Temper Glass สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมก่อสร้าง แต่ Corning เป็นผู้ผลิตสำคัญในอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ และเป็นผู้ผลิตกระจกชนิดนี้ให้กับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์เช่นจอทีวี เราจะไม่มีโอกาสเดินเข้าไปตามร้านกระจกแล้วหาซื้อกระจก Gorilla เป็นแผ่นๆไปใช้เอง
Corning ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยว่าใครใช้กระจก Gorilla บ้าง แล้วแต่ว่าเจ้าของสินค้าจะเปิดเผยเป็นจุดขายของตนเอง
Samsung Galaxy Tab รุ่น 7 นิ้วตัวแรก ก็ใช้กระจก Gorilla ของ Corning
Smartphone หรือ Tablet ที่ใช้กระจก Gorilla จะมีกระจกจอภาพที่แข็งแกร่งทนต่อรอยขีดข่วนมากพอที่จะเชื่อมั่นว่า หากอุปกรณ์ชิ้นนี้ตกกระแทก ชิ้นส่วนสุดท้ายที่จะเสียหายคือ จอภาพ
ลอกแผ่นปิดจอออกไปได้เลยครับ หาก Tablet ของเราใช้กระจก Gorilla
ถอดความจาก
How Stuff Works
ที่มา
http://www.pocketpcthai.com
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
คลังบทความของบล็อก
►
2015
(3)
►
กรกฎาคม
(2)
►
มิถุนายน
(1)
►
2014
(17)
►
มิถุนายน
(3)
►
พฤษภาคม
(4)
►
เมษายน
(4)
►
มีนาคม
(2)
►
กุมภาพันธ์
(1)
►
มกราคม
(3)
►
2013
(49)
►
ธันวาคม
(1)
►
พฤศจิกายน
(4)
►
ตุลาคม
(1)
►
กันยายน
(1)
►
สิงหาคม
(7)
►
กรกฎาคม
(7)
►
มิถุนายน
(6)
►
พฤษภาคม
(2)
►
เมษายน
(5)
►
มีนาคม
(5)
►
กุมภาพันธ์
(5)
►
มกราคม
(5)
▼
2012
(79)
►
ธันวาคม
(4)
►
พฤศจิกายน
(1)
▼
ตุลาคม
(11)
เจลาติน
หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD (Explosive ...
ชีวิตบนเส้นด้าย ของ EOD ชุดกู้ระเบิดแดนใต้ .....
รู้จักกับ Gorilla Glass
กฎหมายการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา(Escrow)
กรด!! ในเครื่องดื่ม
Kuru Toga Engine
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ ประจำปี 2555
เทคนิคใหม่โนเบลแพทย์อุดปัญหาจริยธรรมสเต็มเซลล์ แต่...
เรื่องประหลาดของอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
ประกันภัยรถยนต์ ประกันซ่อมห้าง กับ ซ่อมอู่ ต่างกัน...
►
กันยายน
(5)
►
สิงหาคม
(6)
►
กรกฎาคม
(4)
►
มิถุนายน
(9)
►
พฤษภาคม
(7)
►
เมษายน
(6)
►
มีนาคม
(3)
►
กุมภาพันธ์
(10)
►
มกราคม
(13)
►
2011
(123)
►
ธันวาคม
(6)
►
พฤศจิกายน
(7)
►
ตุลาคม
(21)
►
กันยายน
(15)
►
สิงหาคม
(18)
►
กรกฎาคม
(14)
►
มิถุนายน
(12)
►
พฤษภาคม
(8)
►
เมษายน
(2)
►
มีนาคม
(7)
►
กุมภาพันธ์
(5)
►
มกราคม
(8)
►
2010
(109)
►
ธันวาคม
(11)
►
พฤศจิกายน
(3)
►
ตุลาคม
(9)
►
กันยายน
(15)
►
สิงหาคม
(14)
►
กรกฎาคม
(6)
►
มิถุนายน
(7)
►
พฤษภาคม
(17)
►
เมษายน
(11)
►
มีนาคม
(6)
►
กุมภาพันธ์
(4)
►
มกราคม
(6)
►
2009
(87)
►
ธันวาคม
(1)
►
พฤศจิกายน
(7)
►
ตุลาคม
(5)
►
กันยายน
(6)
►
สิงหาคม
(8)
►
กรกฎาคม
(10)
►
มิถุนายน
(8)
►
พฤษภาคม
(7)
►
เมษายน
(5)
►
มีนาคม
(26)
►
กุมภาพันธ์
(3)
►
มกราคม
(1)
►
2008
(8)
►
มิถุนายน
(8)