วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฏของ Pareto กับการเล่นหุ้นแบบ Trend Following

ผลกำไรจากการซื้อ-ขายเพียงไม่กี่ครั้งคือสิ่งที่มีค่ามากกว่าที่เราคิด พวกมันมักจะเป็นสิ่งที่กำหนดผลการลงทุนในภาพรวมของพวกเราเอาไว้ มันคือสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาดครับ!
“ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของนักเก็งกำไรก็ คือการพลาดโอกาสในการทำกำไรก้อนใหญ่ไป นั่นก็เพราะผลกำไรกว่า 95% นั้นมักจะมาจากเพียง 5% ของจำนวนการซื้อขายทั้งหมดเท่านั้น”
Richard Dennis ผู้ให้กำเนิด Turtle Trader
กฎของ Pareto
ถึงแม้ว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินถึงกฏ 80/20 ของ Pareto กันมาบ้างแล้ว แต่ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายต่อหลายคนที่ไม่ได้ฉุกคิดถึงความเกี่ยวโยงระหว่าง กฏข้อนี้กับหลักการเล่นหุ้นตามแนวโน้มแบบ Trend Following กันสักเท่าไรนัก และนี่ก็คือเรื่องที่ผมอยากจะนำมาเล่าให้ฟังในบทความนี้
ท้าวความกลับไปเมื่อประมาณปี ค.ศ 1906 นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียนคนหนึ่งที่ชื่อว่า Vilfredo Pareto ได้ค้นพบกฏบางอย่างของธรรมชาติและได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า “ร้อยละ 80 ของความมั่งคั่งในประเทศอิตาลีนั้นได้ถูกครอบครองโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งคิด เป็นเพียงร้อยละ 20 ของประชากรในประเทศอิตาลีเท่านั้น!” และแน่นอนว่าสิ่งที่เขาได้ค้นพบนี้ได้กลายมาเป็นหลักการซึ่งถูกนำมาใช้กัน อย่างกว้างขวางในเวลาต่อๆมา ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเลข 80/20 ตรงนี้จะไม่ใช่เลขที่เป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์แบบตรงเป๊ะในทุกๆกรณี แต่มันก็ได้มีความสำคัญที่ทำให้เราได้เข้าใจถึงหลักการของ “ความสำคัญจากสิ่งที่เป็นส่วนน้อย หรือ Vital Few Principle” นั่นเอง

กฏของ Pareto เกี่ยวข้องอย่างไรกับหลักการเล่นหุ้นแบบ Trend Following อย่างนั้นหรือ?

เมื่อเราลองพิจารณาถึงคำพูดของ Richard Dennis ผู้ที่ได้ฉายาว่าเป็น Prince of The Pit และเป็นผู้ที่ให้กำเนิดกลุ่ม Turtle Trader ขึ้นมานั้น คำตอบของมันคงจะเดาได้ไม่ยากนัก นั่นก็เพราะเขาได้บอกใบ้ให้กับเราอย่างชัดเจนสุดๆแล้วว่า ผลการซื้อขายไม่กี่ครั้งเท่านั้นคือสิ่งที่จะกลายเป็นตัวตัดสินถึงผลลัพท์ ของการลงทุนชนิดร่ำรวยแบบล้นฟ้ากับการเล่นหุ้นได้กำไร-ขาดทุนไปวันๆเลยที เดียว! และเพื่อที่จะทำให้ทุกๆคนได้เห็นภาพของมันได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นนั้น ในบทความนี้ผมจึงได้ทำการเก็บสถิติจากระบบการลงทุนแบบ Trend Following ชนิดหนึ่งซึ่งก็คือระบบ Turtle System 2 (แบบ Simplify โดยไม่มีการ Pyramid ซื้อหุ้นเพิ่ม) ในรูปแบบของค่า R-Multiple ออกมาให้ดูกันถึงความเกี่ยวโยงของมันกับกฏของ Pareto ออกมาแล้วทำการคำนวณคร่าวๆด้วย Excel โดยในตารางที่เราจะได้เห็นกันต่อไปนั้นเป็นการเก็บสถิติจากผลการลงทุนกับ หุ้นใน SET100 ตั้งแต่วันที่ 3/1/2001 – 29/12/2011 โดยได้รวมเอาค่า Com ที่ 0.25% ต่อการซื้อขายเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
Turtle 2 Simplify Portfolio Equity RMultiple Article Mangmaoclub thumb กฏของ Pareto กับการเล่นหุ้นแบบ Trend Following
ภาพที่ 1 : Portfolio Equity ของระบบ Turtle 2 Simplify ด้วยเงินทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท ทดสอบย้อนหลังกับหุ้นใน SET100 ตั้งแต่ปี 2001 – 2011 โดยรวมค่าคอมมิสชั่นแล้ว
Note : การวัดผลกำไรจากการซื้อขายแต่ละครั้งในรูปแบบ R-Multiple คือการนำเอาผลกำไรที่ได้รับหารด้วยความเสี่ยงเริ่มต้นของการซื้อขายในครั้ง นั้น โดยที่ความเสี่ยงเริ่มต้นคิดจากราคาซื้อลบด้วยจุดตัดขาดทุนที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ว่า
R-Multiple = Profit / Initial Risk
โดยที่ Initial Risk =  Entry Price – Stop Price
การวัดจาก R-Multiple จะมีข้อดีกว่าการวัดผลกำไร-ขาดทุนเป็นรูปแบบของจำนวนเงินหรือ % ร้อยละของเงินทุนเนื่องจากมันได้ทำให้ผลของกำไร-ขาดทุนนั้นอยู่ในหน่วยเดียว กัน มันจึงช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบผลการซื้อขายจากระบบที่ต่างกันหรือจาก ขนาดของพอร์ทโฟลิโอที่ต่างกันได้เป็นอย่างดี
image thumb2 กฏของ Pareto กับการเล่นหุ้นแบบ Trend Following
ภาพที่ 2 : Win R-Multiple จากระบบ Turtle 2 (Simplify) แสดงให้เห็นถึงค่า +R Multiple จากการซื้อขายที่ “ได้กำไร” จากระบบ โดยที่แกน Y แนวตั้งด้านซ้ายแสดงให้เห็นถึงความถี่และแกน Y ด้านขวาคืออัตราส่วนร้อยละจากจำนวนการซื้อขายที่เป็นกำไร +R ทั้งหมด
Frequency of +R - แท่งแต่ละแท่งคือจำนวนความถี่ของค่า +R Multiple ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงของค่า R เช่น ผลกำไรที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงค่า 0R ถึง 1R มีจำนวน 75 ครั้ง
Cumulative +R Distribution - เส้นที่ลากต่อกันคือจำนวนความถี่สะสมของค่า +R Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ผลกำไรที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 0R ถึง 5R คิดเป็น 82.67% ของจำนวน Win R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
Cumulative +R Contribution – เส้น ที่ลากต่อกันคือมูลค่าสะสมของค่า +R Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ผลกำไรที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 0R ถึง 5R คิดเป็นมูลค่า 30.78% ของมูลค่าจาก Win R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

กฎของ Pareto กับธรรมชาติของผลกำไรจากระบบ Trend Following

ตาราง Win R-Multiple ได้บอกให้เราเห็นถึงความสำคัญของผลกำไรจากการซื้อขายไม่กี่ครั้งอย่างชัดเจน มากๆ (ซึ่งเราไม่มีทางรู้ล่วงหน้าได้ว่ามันคือครั้งไหน) จากภาพนั้นคุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามูลค่าของผลกำไรกว่า 69.22% นั้นเกิดขึ้นจากราวๆ 17.44% (5R ขึ้นไป) ของการซื้อขายที่ได้กำไรเท่านั้น! และในทางกลับกันแล้วร้อยละ 82.56% ของการซื้อขายที่ได้กำไรกลับคิดเป็นมูลค่าของกำไรทั้งหมดเพียงแค่ 30.78% เท่านั้น (0R-5R) นอกจากนี้แล้ว มูลค่าของกำไรกว่า 53.38% ของกำไรทั้งหมดจะเกิดขึ้นจากเพียง 5.13% ของการซื้อขายที่ได้กำไรเท่านั้น
สิ่งเหล่านี้กำลังตอกย้ำอะไรกับเราอย่างนั้นหรือครับ??
มันกำลังตอกย้ำให้เราจำเอาไว้ให้ดีว่าเราต้องกล้า Let Profits Run!! … อย่ากลัวว่าจะรวยเกินไป และอย่าไปใส่ใจมากเกินไปหากว่าการ Let Profits Run จะทำให้ผลกำไรที่เราเคยมีต้องหดหายลงไป นั่นเพราะกว่าร้อยละ 80 ของการซื้อขายที่ได้กำไรจากระบบ Trend Following จะกลายเป็นเพียงกำไรก้อนเล็กๆตั้งแต่ 0R – 5R เท่านั้น คุณต้องรู้ว่ามันคือเรื่องธรรมดา! และถ้าหากว่าคุณกลัวกำไรหดและรีบ Take Profit อยู่บ่อยๆล่ะก็ คุณก็จะไม่มีวันได้ลิ้มรสชาติของผลกำไรตั้งแต่ 5R ขึ้นไปเลยเพราะคุณได้ตัดโอกาสของคุณทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว
และในทางกลับกันนั้น หากว่าคุณไม่ยอมตัดขาดทุนเสียแต่เนิ่นๆ แต่ดันไป Let Loss Run ก็จะเป็นการเปิดโอกาสทำให้คุณต้องโดนการขาดทุนแบบ –5R ขึ้นไปเข้าสักวันอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงความเสียหายของพอร์ทอย่างย่อยยับได้อย่างง่ายดาย และมันก็คือเหตุผลของคนที่เจ๊งหุ้นส่วนใหญ่นั่นเอง

ลักษณะของค่า R-Multiple จากระบบการลงุทุนแบบ Trend Following

ในคราวนี้เราลองมาดูถึงลักษณะซึ่งของค่า R-Multiple ซึ่งเป็นเหมือนลายเซ็นของระบบการลงทุนแบบ Trend Following กันดูบ้าง ซึ่งเมื่อคุณได้เห็นถึงค่า R-Multiple ในรูปแบบเฉพาะของมันแล้ว ผมเชื่อว่ามันก็น่าจะทำให้ได้เข้าใจว่าทำไมวินัยของการ Cut Losses Short, Let Profits Run และการ Take Every Trades จึงได้สำคัญนักที่จะสร้างผลกำไรในระยะยาวขึ้นมาได้
image thumb3 กฏของ Pareto กับการเล่นหุ้นแบบ Trend Following
ภาพที่ 3 : R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากระบบ Turtle 2 (Simplify) โดยที่แกน Y แนวตั้งด้านซ้ายแสดงให้เห็นถึงความถี่และแกน Y ด้านขวาคืออัตราส่วนร้อยละจากจำนวนการซื้อขายทั้งหมด
Frequency of R-Multiple - แท่งแต่ละแท่งคือจำนวนความถี่ของค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงของค่า R โดยแท่งแดงแสดงถึงผลขาดทุน –R และแท่งน้ำเงินคือผลกำไร +R เช่น ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงค่า -3R ถึง -2R มีจำนวน 2 ครั้ง
Cumulative R Distribution - คือจำนวนความถี่สะสมของค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ค่า R ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง -3R ถึง 2R คิดเป็น 78.59% ของจำนวน R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
Cumulative R Contribution - คือ มูลค่าสะสมของค่า R Multiple ที่เกิดขึ้นไล่ไปในแต่ละช่วง เช่น ผลกำไร “สุทธิ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง -3R ถึง 2R คิดเป็นมูลค่า 5.15% ของมูลค่าสุทธิจากค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

Pareto Effect และกลไกของระบบการลงทุนแบบ Trend Following

ใช่แล้วครับ! สิ่งที่คุณเห็นจากค่า R-Multiple ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะต่างๆนั้นคือกลไกที่ทำให้ระบบการลงทุนแบบ Trend Following มีค่ากำไรคาดหวังหรือ Expectancy ที่เป็นบวกในระยะยาวนั่นเอง
จากภาพที่ 3 นั้นคุณจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าจำนวนการขาดทุนทั้งหมดจะคิดเป็นร้อยละ 50.85% แต่เมื่อสังเกตุให้ดีเราจะพบว่าผลการขาดทุนของระบบที่แย่กว่า –2R นั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.73% ของผลการซื้อขายทั้งหมดเท่านั้น การ Cut Losses อย่างรวดเร็วของระบบ Trend Following จึงเปรียบเสมือน SAFE-T-CUT ที่จะทำให้เราไม่โดน Pareto Effect ในเชิงลบออกไปได้นั่นเอง มันคือกลไกที่จะทำให้เราไม่ต้องหมดตัวไปอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันนั้นการ Let Profits Run ก็จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถหักลบกลบหนี้การขาดทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก ซึ่งในประเด็นนี้เราจะเห็นได้ว่าจำนวนการซื้อขายกว่าร้อยละ 78.59% จะหมดไปกับการทำให้ระบบมีกำไรสุทธิเป็นบวกได้เท่านั้น ผลกำไรที่มากกว่า +2R ขึ้นไปซึ่งเป็นผลจากการที่คุณอึดและกล้าพอที่จะ Let Profits Run จึงกลายเป็นผลการซื้อขายในส่วนน้อยที่สำคัญมากๆ (Vital Few) ที่จะทำให้คุณได้เสพสุขกับความมั่งคั่งจากการใช้ระบบการลงทุนแบบ Trend Following จริงๆ นอกจากนี้แล้วเมื่อมองในมุมกลับคุณก็ยังจะพบว่ามูลค่าของผลกำไรสุทธิทั้งหมด กว่า 82.14% นั้นจะมาจากเพียงกำไร +4R ขึ้นไปหรือคิดเป็นร้อยละ 11.92% เท่านั้น! นี่จึงทำให้คำกล่าวของ Richard Dennis ในเบื้องต้นไม่ใช่สิ่งที่เกินเลยจากความจริงไปสักเท่าไหร่นัก
อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆคนคงเริ่มที่จะมองเห็นถึง Anatomy of Trend Following และ Pareto Effect กันบ้างในระดับหนึ่งแล้วนะครับ อย่างไรก็ตาม การที่ Pareto Effect จะเกิดขึ้นมากับเราได้นั้นยังคงมีตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ … เมื่อคุณได้ศึกษาหรือทดสอบระบบการลงทุนของคุณจนมั่นใจได้ในระดับหนึ่งแล้ว ว่าในระยะยาวมันจะให้กำไรคาดหวังที่เป็นบวกออกมาได้ คุณต้องมีวินัยและกล้าที่จะทำตามระบบในทุกๆครั้งที่เกิดสัญญาณขึ้นโดยไม่มี ข้อแม้ … ไม่ว่าจะเป็นการขายทิ้งหรือเป็นการซื้อหุ้นที่ดูสูงและน่ากลัวแค่ไหนก็ตาม
เรื่องที่ว่ามานี้เป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก และผมเชื่อว่าหลายๆคนรวมถึงผมเองก็คงต้องเคยได้ตัดสินใจผิดพลาดจากการมีคติ กับสัญญาณในการเข้าซื้อหุ้นที่เกิดขึ้นกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ความผิดพลาดตรงนี้เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ด้วย Mindset ,การฝึกจิตใจ และความเข้าใจที่มีต่อระบบการลงทุนของเรา หวังว่าบทความชิ้นนี้จะทำให้เพื่อนๆที่ได้อ่านเห็นถึงความสำคัญของ “สิ่งที่เป็นส่วนน้อยซึ่งมีผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่” และ Pareto Effect ในการเล่นหุ้นกันขึ้นอีกพอสมควร แล้วเดี๋ยวบทความหน้าจะหาเรื่องสนุกๆมาเขียนใหม่ครับ


10 อันดับ แมลงที่ต่อยเจ็บที่สุด

จัสติน ชมิดท์ นักกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัยอริโซน่า ผู้อุทิศชีวิตให้แก่การวิจัยแมลง เขาทำการจัดอันดับแมลงที่ต่อยเจ็บที่สุด 78 สายพันธุ์ โดยแบ่งระดับความเจ็บเป็น 4 ระดับ ชมิดท์ได้อธิบายถึง 10 อันดับ แมลงที่ต่อยเจ็บที่สุด พร้อมกับจัดระดับความเจ็บปวดไว้ด้วย ดังนี้

แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 1 มดกระสุน ระดับความเจ็บปวด 4+
ชมิตท์ยกให้มันเป็นเจ้าแห่งแมลงต่อยเจ็บที่สุด เพราะ หากโดนมันกัดเข้าจะหมือนกับโดนกระสุนยิงใส่
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 2 ตัวต่อ เหยี่ยวทารันทูล่า ระดับความเจ็บปวด 4
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 3 ตัวต่อ PAPER WASP ระดับความเจ็บปวด 3
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 4 มดแดง ระดับความเจ็บปวด 3
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 5 ผึ้ง ระดับความเจ็บปวด 2
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 6 ตัวต่อ YELLOWJACKET  ระดับความเจ็บปวด 2
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 7 ตัวแตน BALD-FACED HORNET ตัวต่อ ระดับความเจ็บปวด 2
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 8 มด BULLHORN ACACIA ANT ระดับความเจ็บปวด 1.8
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 9 มดคันไฟ ระดับความเจ็บปวด 1.2
แมลงต่อยเจ็บที่สุด
อันดับที่ 10 ผึ้ง SWEAT BEE ระดับความเจ็บปวด 1


ที่มา http://news.mthai.com/world-news/166930.html

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย

 
บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยแบ่งออกได้เป็น 9 ระดับคือ
  1. สมเด็จเจ้าพระยา
  2. เจ้าพระยา
  3. พระยาหรือ ออกญา
  4. พระ และ จมื่น
  5. หลวง
  6. ขุน
  7. หมื่น
  8. พัน
  9. นาย
แต่ละบรรดาศักดิ์ จะมี ศักดินา ประกอบกับบรรดาศักดิ์นั้นด้วย ระบบขุนนางไทย ถือว่า ศักดินา สำคัญกว่า บรรดาศักดิ์ เพราะศักดินา จะใช้เป็นตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล บรรดาศักดิ์ ใน พระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง นี้ ค่อนข้างสับสนและไม่เป็นระบบ คล้ายๆ กลับว่า ผู้ออกกฎหมายนึกอยากจะให้บรรดาศักดิ์ใด ศักดินาเท่าไหร่ ก็ใส่ลงไป โดยไม่ได้จัดเป็นระบบแต่อย่างใด (เพิ่มเติมวันที่ 4 มีนาคม 2550 ตามความเห็นไม่คิดว่าจะจัดไม่เป็นระบบแต่อย่างใด แต่เป็นลักษณะอย่าง เช่น เมืองตากเป็นเมืองเล็กๆ พระยาตากอาจถือศักดินาสูงสุดอยู่ในเมืองตาก หมายความว่าใหญ่สุดในเมืองตากทั้งศักดินาและบรรดาศักดิ์ แต่อย่างที่บอกไป เมืองตากเป็นเมืองเล็ก เป็นไปได้ว่าอาจมีศักดินาต่ำกว่ายศขุนของอยุธยาซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ก็ เป็นได้ ทั้งนี้ควรหาข้อมูลเปรียบเทียบตรงจุดนี้ให้กระจ่าง) ดังนั้น จึงมีขุนนางใน กรมช่างอาสาสิบหมู่ หรือ บางกรม ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แต่ศักดินาต่ำกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นขุนนางระดับต่ำ
ในสมัยต่อมาได้มีการเพิ่มเติม บรรดาศักดิ์ต่างๆ จากทำเนียบพระไอยการนาพลเรือน นาทหาร หัวเมืองขึ้นอีกเป็นอันมาก
ขุนนางของไทยสมัยโบราณ ไม่เหมือนกับขุนนางในประเทศตะวันตก คือ ไม่ได้เป็นขุนนางสืบตระกูล ผู้ที่ได้ครองบรรดาศักดิ์ก็อยู่ในบรรดาศักดิ์เฉพาะตนเท่านั้น จึงเทียบได้กับข้าราชการ หรือ ระบบชั้นยศของข้าราชการในสมัยปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็นระดับต่างๆ แต่ขุนนางไทยในสมัยโบราณ จะมีราชทินนาม และ ศักดินา เพิ่มเติมแตกต่างจากข้าราชในปัจจุบันที่มีเพียงชั้นยศเท่านั้น
บรรดาศักดิ์ จมื่น หรือ พระนาย นั้น เป็นบรรดาศักดิ์ หัวหน้ามหาดเล็ก ในกรมมหาดเล็ก ศักดินา 800-1000 ไร่ เทียบได้เท่ากับ บรรดาศักดิ์ พระ ที่มีศักดินาใกล้เคียงกัน แต่จมื่นนั้น ได้รับการยกย่องมากกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดิน และมักจะมีอายุยังน้อย อยู่ในระหว่าง 20-30 ปี มักเป็นลูกหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวรับใช้ใกล้ชิด พระเจ้าแผ่นดิน และเป็นช่องทางเข้ารับราชการต่อไปในอนาคต
ส่วนคำว่า ออก ที่เติมหน้า บรรดาศักดิ์สมัยโบราณนั้น เช่น ออกญา ออกขุน ออกหลวง นั้น มักเป็นคำแสดงความอาวุโสในบรรดาศักดิ์นั้น แต่ยังไม่ได้เลื่อนขึ้นไปยังบรรดาศักดิ์ที่สูงกว่า

สรุป

บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยนี้ ไม่อาจเทียบกับตะวันตกได้ เนื่องจากระบบที่แตกต่างกัน ขุนนางตะวันตกเป็นขุนนางสืบตระกูล และไม่ใช่ข้าราชการ แม้ว่าขุนนางบางคนรับราชการ แต่ขุนนางไทยเป็นข้าราชการ และตำแหน่งขุนนางผูกพันกับระบบราชการ ส่วนขุนนางตะวันตกนั้น ตำแหน่งขุนนาง ผูกพันกับการถือครองที่ดิน ที่ได้รับพระราชทานไว้แต่เดิม และส่วยสาอากร หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดินนั้น ขุนนางตะวันตก จึงมีส่วนคล้ายกับเจ้าต่างกรม ของไทย ในส่วนของผลประโยชน์ในตำแหน่ง เช่น ส่วย กำลังคน เป็นต้น แต่เจ้าต่างกรมของไทย ก็ไม่ได้สืบตระกูล
ดังนั้น บรรดาศักดิ์ของขุนนางไทยจึงน่าจะเป็นชั้นยศ (Rank) มากกว่าเป็นบรรดาศักดิ์ (Title) ตามหลักการสมัยใหม่ การเทียบตำแหน่งขุนนางไทยโบราณกับปัจจุบันจึงไม่ยากนัก เพราะเมื่อเป็นชั้นยศ ที่หมายถึงลำดับสูงต่ำของคนในระบบนั้น ก็เอาระดับสูงสุด กับต่ำสุดมาเทียบกัน และประมาณการเอาได้ โดยไม่ยาก แต่อาจจะไม่ตรงกันโดยสมบูรณ์ แต่ก็จะทราบอย่างคร่าวๆ เช่น ข้าราชการรับ ซี 1 อาจเทียบได้กับ "นาย" ระดับ 2 เทียบ พัน หรือ หมื่น ระดับ 3,4 เทียบขุน (เพราะระดับ 3 ถือเป็นข้าราชการสัญญาบัตร) ระดับ 5,6 เทียบ หลวง ระดับ 7,8 เทียบพระ และระดับ 9,10 เทียบพระยา (โดยระดับ 10 อาจเทียบพระยานาหมื่น คือศักดินา 10,000 ไร่ ส่วนระดับ 9 เทียบพระยาศักดินาต่ำลงมาคือ 5,000 ไร่)
ส่วน ข้าราชการระดับ 11 อาจเทียบได้กับ เจ้าพระยา ส่วน บรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ ไม่อาจเทียบได้กับข้าราชการปัจจุบัน แต่เหมือนกับการยกสามัญชน ขึ้นเทียบเท่าเจ้าต่างกรมมากกว่า อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการเทียบเพียงคร่าวๆ เท่านั้น
หากจะเทียบขุนนางสมัยก่อนกับข้าราชการในสมัยปัจจุบันอาจเทียบได้ดังนี้ คือ ตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง ในสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันเรียก ปลัดกระทรวง นั้นในสมัยโบราณมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" ส่วนตำแหน่ง เจ้ากรม ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเรียก อธิบดี สมัยโบราณนั้น เจ้ากรมมักมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา" หรือ "พระ" เพราะฉะนั้นหากจะเทียบเคียงกันจริงๆนั้น เทียบได้ยาก แต่ก็พอเปรียบได้ดังนี้ คือ ปลัดกระทรวง มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระยา รองปลัดกระทรวง,อธิบดี มีบรรดาศักดิ์ เป็น "พระยา" หรือ "พระ" รองอธิบดี,ผู้อำนวยการสำนัก มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง" ผู้อำนวยการกอง,หัวหน้ากลุ่มงาน มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงหรือขุน"
ระบบบรรดาศักดิ์ของไทย รวมทั้งราชทินนาม ได้มีการยกเลิกไปใน พ.ศ. 2485 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Products) 
ในทางการตลาดประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มที่ไม่เคยมีในตลาด เรียกว่า นวตกรรม (Innovation) ผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ (Product Improvment) และผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตทำขึ้นมาลักษณะเหมือนผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันที่มี จำหน่ายในตลาดแล้ว (Mee-too Products) ดังนั้นที่มาของผลิตภัณฑ์ใหม่น่าจะเกิดจากคามต้องการเป็นผู้บุกเบิก (Pioneer) ในตลาดของธุรกิจ ความต้องการปรับปรุงสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลง ไป และควมาต้องการมีสินค้าจำหน่ายครอบคลุมทุกชนิด เพื่อให้สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้
ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development Process)

กระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. การแสวงหาความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Exploration)
2. การกลั่นกรองความคิด (Idea Screening)
3. การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (Business Analysis)
4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development)
5. การทดสอบตลาด ( Market Testing)
6. การวางตลาดสินค้า (Commercialization)

ภาพที่ 10.4 กลยุทธ์การตลาดสำหรับวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์

ภาพที่ 10.5 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
1. การแสวงหาความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Exploration)
การพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นได้จะเริ่มต้นจากความคิด (Idea) โดยต้องแสวงหาความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มาให้ได้มากที่สุด การได้มาซึ่งความคิดใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องจัดทำอย่างมีระเบียบแบบแผนหรือเป็นทางการเสมอไปก็ได้
หาความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถเสาะหาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ลูกค้า ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุด เนื่องจากความต้องการของลูกค้าจะถูกแปรสภาพมาเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้คำติชม ข้อเสนอแนะของลูกค้าล้วนแต่เป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
2. สมาชิกในช่องทางการจำหน่าย ร้านค้าต่าง ๆ ที่จัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ผลิตถือเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความต้องการ ของลูกค้ามาสู่ผู้ผลิตสินค้า โดยปกติผู้บริโภคจะระบายความรู้สึก ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ตลอดจนข้อเสนอแนะใด ๆ ให้กับผู้จัดจำหน่าย ดังนั้น ร้านค้าหรือตัวแทนคนกลาง จะเป็นแหล่งสะสมข้อมูลจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี
3. คู่แข่งขัน เมื่อคู่แข่งขันนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด แต่บังเอิญสินค้ามีข้อบกพร่อง ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ผลิตสามารถนำข้อผิดพลาดดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของตนได้
4. แหล่งความคิดภายในกิจการ กิจการธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน การเปิดโอกาสให้พนักงานในระดับต่าง ๆ ได้แสดงเสนอความคิดใหม่ ๆ อาจจะได้ข้อมูลต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสินค้าใหม่ โรงงานผลิตได้ความคิดจากเจ้าหน้าที่หรือพนักงานในโรงงานเป็นส่วนใหญ่ ในการดัดแปลงคิดค้นทดลองจากงานประจำที่แต่ละคนปฏิบัติอยู่
5. แหล่งความคิดอื่น ๆ เช่น งานวิจัย บทความ ของนักวิชาการ ของสถาบันศึกษา สามารถเป็นแหล่งความคิดแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าใหม่ สมาคมการค้าก็สามารถเป็นแหล่งที่จะให้แนวความคิดได้เช่นกัน

ภาพที่ 10.6 ที่มาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ภาพที่ 10.7 ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2. การกลั่นกรองแนวความคิด (Idea Screening)
ความคิดที่ระดมเสาะหาจากแหล่งต่างๆ จะ ต้องนำมากลั่นกรองให้รอบคอบโดยการกลั่นกรองให้เหลือเฉพาะแนวคิดที่มีความ เป็นไปได้ คัดเลือกเฉพาะความคิดที่จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่จะนำมาประกอบการกลั่นกรองความคิด ได้แก่
1. ภาพลักษณ์ของกิจการ (Image) ความคิดใหม่ที่จะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์จะต้องไม่ทำลายภาพลักษณ์ที่ดีของกิจการ เช่น หากบริษัทพยายามรักษาภาพลักษณ์ในการเป็นผู้ผลิตที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวความคิดที่ผ่านขั้นนี้ไปจะต้องมีความสอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่ บริษัทพยายามสร้างขึ้นมา
2. วัตถุประสงค์และนโยบายของกิจการ (Objective and Policy) แต่ละกิจการจะมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานธุรกิจที่ตั้งไว้ล่วง หน้า ผู้บริหารจะมีการกำหนดนโยบายไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนั้น การคัดเลือกความคิดจะต้องพิจารณาความเหมาะสมไม่ขัดกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์และนโยบายของกิจการแนวความคิดนั้น จึงจะสามารถนำไปปฏิบัติได้
3. ความพร้อมของทรัพยากร (Resources) ความคิดในการผลิตสินค้าใหม่ย่อมนำไปสู่การลงทุนใหม่ ภาระทางการเงิน อุปกรณ์และแรงงาน ดังนั้นจะต้องพิจารณาแต่ละความคิดว่าต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ กิจการมีอุปกรณ์อยู่พร้อม มีแรงงานเหลือ มีผู้ชำนาญการผลิตหรือสามารถจัดหาได้ มีเงินทุนเพียงพอ แก่การลงทุนใหม่หรือจัดหาได้อย่างไร หากกิจการไม่พร้อมในทรัพยากรต่าง ๆ แม้ความคิดจะดี แต่โอกาสในการพัฒนาจะยากขึ้น
4. ระดับความใหม่ของความคิด (Degree of Newness) ความคิดที่ก้าวหน้าทันสมัยมากเกินไปอาจจะใช้ไม่ได้ ผู้บริโภคโดยทั่ว ๆ ไป จะยอมรับสิ่งใหม่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความคล้ายคลึงหรือสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์เดิมอัตราการยอม รับจะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ไม่คุ้นเคย ดังนั้น ผู้ผลิตคำนึงถึงถึงระดับความใหม่ที่ตลาดเป้าหมายจะยอมรับได้
3. การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (Business Analysis)
การกลั่นกรองความคิดเป็นการพิจารณาความเหมาะสม ในการนำความคิดไปปฏิบัติ โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกิจการ ขั้นตอนต่อมา คือ การนำความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองมาพิจารณาความเป็นไปได้ในการผลิตออกจำหน่าย ด้วยการวิเคราะห์ถึงอุปสงค์ในตลาด ต้นทุนสินค้าที่จะผลิต และผลตอบแทนที่จะได้รับ
อุปสงค์ในตลาดที่มีน้อยเกินไปย่อมไม่คุ้มกับการลงทุน และอาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก ซึ่งจะกระทบต่อราคาจำหน่ายที่สูงเกินกว่าผู้ซื้อจะยอมรับได้ หากเป็นเช่นนี้ ความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองมาจากขั้นที่ 2 จะถูกปฏิเสธในขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
อย่างไรก้ตาม เมื่อผ่านขั้นนี้ไปจะคงเหลือเฉพาะแนวความคิดที่ทำให้บริษัทมีกำไรจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
4. การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ (Product Development)
เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีการเปลี่ยนความคิดให้เป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตน ขั้นตอนการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์จะเกี่ยวข้องกับการหากรรมวิธีการผลิตการเลือก วัตถุดิบ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ สูตรในการผลิต วิธีการผลิตให้ได้คุณภาพ ประสิทธิภาพ รูปแบบ สีสรร ขนาดต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด หลายต่อหลายครั้งที่ความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองไม่สามารถผลิตเป็นสินค้ามี ตัวตนได้ เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนสูงมากจนไม่คุ้ม หรือต้องใช้เวลาในการผลิตนานเกินไปไม่ทันกับความต้องการของตลาด
ดังนั้น เมื่อแนวคิดผ่านขั้นตอนนี้ไปย่อมหมายถึงกิจการมีผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่ในมือ เพื่อรอการจัดจำหน่าย เพียงแต่ปริมาณสินค้าที่ผลิตขึ้นมายังคงมีจำนวนน้อย เนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจต่อการตอบรับของตลาดมากนัก
5. การทดสอบตลาด (Market Testing)
เมื่อผลิตภัณฑ์ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อการจำหน่าย ผู้ผลิตอาจจะตัดสินใจนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเลยก้ได้ หากมีความมั่นใจว่าจะเป็นที่ยอมรับของลูกค้าอย่างแน่นอน ซึ่งย่อมมีความเสี่ยงอยู่บ้าง หากผู้ผลิตต้องการลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของลูกค้า สามารถทำได้ด้วยการทดสอบตลาด โดยการทดลองนำผลิตภัณฑ์จำนวนน้อยๆ ไปวางจำหน่ายในตลาดเล็กๆ เพื่อดูปฏิกิริยาการตอบรับของลูกค้า หากผลการทดสอบตลาดพบว่า ลูกค้าตอบรับเป็นอย่างดี จึงค่อยตัดสินใจผลิตจำนวนมาก เพื่อวางจำหน่าย แต่ถ้าลูกค้ามีข้อตำหนิบางประการ ให้ปรับปรุงหรือแก้ไขข้อตำหนิ แล้วจึงวางจำหน่ายอย่างกว้างขวาง ถ้าลูกค้าไม่ยอมรับหรือปฏิเสธสินค้าอย่างสิ้นเชิง บริษัทอาจจะต้องยุติในการทำตลาด ทั้งนี้เพราะจะไม่คุ้มกับการลงทุน
การทดสอบตลาดจะเกิดประโยชน์กับผู้ผลิตในแง่ของการลดความ เสี่ยง อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดผลเสียคือ คู่แข่งขันจะล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัรฑ์ใหม่ที่กิจการกำลังทดสอบตลาด ซึ่งหากคู่แข่งขันมีความไวต่อการผลิตเพื่อการจำหน่าย จะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องแล้วช่วงชิงการวางจำหน่ายตัดหน้า จะเกิดผลเสียต่อกิจการที่ทำการทดสอบตลาดได้
ดังนั้นการทดสอบตลาดจึงเป็นดาบสองคมที่ผู้ผลิตจะต้อง ชั่งน้ำหนักถึงส่วนได้และส่วนเสียที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการทดสอบตลาด หรือหาวิธีการทดสอบตลาดที่มีความปลอดภัยจากการช่วงชิงของคู่แข่งขันก็ได้
6. การวางตลาดสินค้า (Commercialization)
การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดอย่างแท้จริง จะต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ความต้องการเงินทุนจำนวนมากเพื่อจัดให้มีอุปกรณ์และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่จะใช้ในการผลิต
2. วิธีการที่จะจัดหาอุปกรณ์ในการผลิต ตัวอาคารโรงงานต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้แนวทางที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. กำลังการผลิต จะต้องพิจารณากำลังการผลิตใรปัจจุบันและการขยายต่อไปในอนาคต
4. จังหวะเวลาที่จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกวางตลาด การเลือกเวลาหรือโอกาสที่เหมาะสม จะส่งผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เก่าล้าสมัยไม่เป็นที่นิยมแล้ว การปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจะเป็นการแจ้งเกิดของผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือนำออกจำหน่ายในฤดูกาลการใช้ผลิตภัณฑ์สินค้านั้น จะทำให้โอกาสที่จะจำหน่ายได้มีสูงขึ้น
5. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในการวางตลาดครั้งแรก กิจการอาจมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่หลายกลุ่ม แต่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกที่กิจการหวังไว้ในการเปิดตลาดจำเป็นต้องมี ศักยภาพ มีความไวต่อการซื้อสินค้าใหม่ หากกำหนดกลุ่มเป้าหมายผิดพลาด โอกาสในการประสบความสำเร็จจะลดลงทันที ผู้บริหารต้องตัดสินใจที่จะเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะช่วยให้ได้ยอดขาย ในช่วงแรกที่ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ ร้านค้า ตัวแทนจำหน่าย พนักงานขาย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้ถือหุ้น เป็นต้น
6. ขอบเขตของตลาดที่จะวางตลาดครั้งแรก เป็นการกำหนดขอบเขตการกระจายตามสภาพภูมิศาสตร์จะวางสินค้าออกสู่ตลาดพร้อม กันทั้งประเทศหรือเลือกเพียงบางพื้นที่ ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงข้อจำกัดในด้านกำลังการผลิต กำลังคน กำลังเงินทุน นอกจากนั้นการกำหนดเขตที่จะวางตลาดยังต้องสอดคล้องกับลูกค้าเป้าหมายกลุ่ม แรกที่ก่อการต้องการจำหน่ายด้วย


กล้องโฟกัสอัตโนมัติ

 
ในเสี้ยววินาทีระหว่างที่เรากดชัตเตอร์และชัตเตอร์เปิดออก  กล้องอัตโนมัติจะวัดระห่างระหว่างเลนส์และสิ่งที่ต้องการถ่าย  แล้วปรับตำแหน่งของเลนส์เพื่อให้ได้ภาพชัดที่สุด
          กล้องคอมแพ็กต์มักมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดจิ๋วทำหน้าที่ควบคุมเครื่องส่งลำแสงอินฟราเรด  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเลนส์และบังคับเลนส์ให้ขยับเข้า ออก เพื่อปรับโฟกัสใกล้ ไกลตามการกราดตรวจของลำแสงที่ส่งออกมา
          ลำแสงอินฟาเรดจะสะท้อนภาพไปที่กล้องซึ่งเครื่องตรวจจับ (sensor)  จะจับสัญญาณและหยุดการกราดตรวจทันทีที่ได้รับสัญญาณที่แรงที่สุด (แสดงว่าเลนส์ปรับโฟกัสได้แล้ว)  และส่งสัญญาณไปบังคับชัตเตอร์โดยอัตโนมัติ
          กล้องถ่ายภาพด่วนบางรุ่นมีโฟกัสแบบอัลทราโซนิก  ซึ่งคล้ายกับระบบกราดตรวจด้วยเสียงสะท้อนแบบเดียวกับที่ค้างคาวใช้จับทิศทางในการบินแผ่นดิสก์ฉาบทองหรือที่เรียกว่า  ตัวแปรเปลี่ยน  (transducer)   ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเป็นคลื่นเสียงสูงเกินกว่าหูมนุษย์จะรับได้ออกไปเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงยาวเพียง  1/1,000  วินาที  แผ่นดิสก์จะรับเสียงสะท้อนของสัญญาณนั้นกลับจากสิ่งที่ถ่ายและไม่โครคอมพิวเตอร์ในกล้องจะวัดระยะเวลาที่สัญญาณเดินทางไป กลับ  แล้วเอามาคำนวณหาระยะห่างของสิ่งที่ถ่าย
          กล้องถ่ายรูปชนิด  SLR ที่มีโฟกัสอัตโนมัติใช้ระบบแปลสัญญาณไฟฟ้า  คือเมื่อลำแสงผ่านเข้าเลนส์ก็จะถูกแยกออกเป็น  2  ภาพ  เครื่องตรวจจับจะวัดระยะห่างระหว่างภาพทั้ง  2  นั้น ซึ่งจะได้ระยะโฟกัสออกมา  หากระยะไม่ถูกต้อง  เครื่องตรวจจับจะสั่งมอเตอร์ให้หมุนปรับเลนส์โดยอัตโนมัติจนกว่าจะได้ระยะโฟกัสที่ถูกต้อง

ตอนนี้ Eduardo Saverin อยู่ที่ไหน?


คน จำนวนมากคงจะคุ้นเคยชื่อของ Eduardo Saverin ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook จากภาพยนตร์ The Social Network ล่าสุดที่ Facebook เพิ่งจะขายหุ้นสู่สาธารณะชน Saverin ก็เพิ่งจะออกมาโพสต์แสดงความยินดีกับเขาด้วย สิ่งที่หลายคนอาจจะสงสัยคือ แล้วตอนนี้ Saverin ไปอยู่ที่ไหน ทำอะไรอยู่
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ได้ตีพิมพ์บทความที่พูดถึงชีวิต "หลัง Facebook" ของ Eduardo Saverin ที่ตอนนี้ก็เรียกได้ว่า ร่ำรวยมาก จากหุ้น Facebook ที่ครอบครอง แม้จะโดนบีบออกจาก Facebook อย่างที่เห็นในภาพยนตร์ The Social Network ก็ตาม (จริงๆ แต่เดิม Saverin ก็มีพื้นฐานที่ค่อนข้างร่ำรวยอยู่แล้ว)
Saverin ที่ปัจจุบันอายุ 30 ปี ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2009 โดยใช้ชีวิตแบบกลุ่มคนร่ำรวยในสิงคโปร์ มีที่อยู่อาศัยเป็นเพนท์เฮาส์ในอพาร์ตเมนต์หรู ขับรถยนต์เบนท์ลีย์ และเที่ยวกลางคืนร่วมกับบรรดานางแบบและกลุ่มเพื่อนร่ำรวยคนอื่นๆ ปัจจุบัน Saverin มีสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (permanent resident) ของสิงคโปร์
Saverin ได้นำเงินเข้าไปลงทุนในกิจการประเภท start-up อยู่บ้าง เช่น Shopsavvy ซึ่งเป็นแอพลิเคชันมือถือสำหรับเปรียบเทียบราคา, Qwiki เว็บไซต์วิดีโอมัลติมีเดีย, Jumio ระบบจ่ายเงินผ่านมือถือ และมีการลงทุนในสิงคโปร์ที่เด่นๆ หนึ่งแห่งคือ Anideo ซึ่งเป็นกิจการที่มีผู้บริหารเป็นเพื่อนของ Saverin แต่เขาไม่ได้มีการลงทุนอย่างอื่นในสิงคโปร์เท่าไรนัก
ด้วยความเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook ทำให้ Saverin ได้รับเชิญไปพูดหรือร่วมงานอื่นๆ เช่นเป็นกรรมการในการประกวดธุรกิจอยู่บ่อยครั้ง แต่ Saverin ก็มีประวัติที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนักเกี่ยวกับการไปร่วมงาน ครั้งหนึ่งที่ Saverin ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการในการประกวดแผนธุรกิจ start-up ซึ่ง Saverin ก็ส่งข้อความมายกเลิกเอาไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงเวลาจริง ซึ่งแหล่งข่าวก็ระบุว่าเคยมีการยกเลิกแผนเอากะทันหันแบบนี้มาแล้วหลายครั้ง
ทาง Saverin นั้นบอกว่า เหตุผลที่เขาเลือกมาอยู่สิงคโปร์นั้น เพราะเขาสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจที่จะเจาะตลาดเอเชีย แต่เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่งมีการเปิดเผยจาก Internal Revenue Service (สรรพากรของสหรัฐ) ว่า Saverin อยู่ในรายชื่อกลุ่มบุคคลที่ได้สละสัญชาติสหรัฐอเมริกาไปแล้ว โดยสละไปตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2011
การเลือกสละสัญชาติสหรัฐของ Saverin นั้น มีแนวโน้มที่จะทำให้ Saverin ไม่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลสหรัฐมูลค่าหลายสิบล้านดอลลาร์ โดยตามกฎหมายแล้ว พลเมืองสหรัฐที่มีการถือหุ้นตอนสละสัญชาตินั้น จะต้องเสียภาษีลักษณะเดียวกับภาษีที่เรียกเก็บจากกำไร (capital gain tax) โดยคิดจากมูลค่าตอนที่สละสัญชาติ ซึ่ง Bloomberg คาดการณ์ว่า การเลือกสละสัญชาติตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว จะทำให้ Saverin ประหยัดภาษีที่จะต้องจ่ายนับถึงตอนนี้ที่ Facebook เข้าตลาดหุ้นถึง 67 ล้านดอลลาร์ โดยสิงคโปร์นั้นไม่มีภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรจากการขายหุ้น (นอกจากนี้ การเป็นพลเมืองสหรัฐไปใช้บริการธนาคารต่างประเทศก็วุ่นวายขึ้นมาก)
การสละสัญชาติของ Saverin ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แม้แต่ในวุฒิสภาของสหรัฐ โดย Saverin ถูกวิจารณ์ว่า ตัวเขานั้นได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา (ซึ่งอพยพมาจากบราซิล) แต่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วกลับเลือกที่หนีไปอยู่ประเทศอื่นเพื่อหลีก เลี่ยงการจ่ายภาษี
อย่างไรก็ตาม Saverin ได้ออกมาปฏิเสธว่า เขาไม่ได้สละสัญชาติสหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี แต่เป็นเพราะเขาอยู่อาศัยและทำงานในสิงคโปร์ เขาเสียภาษีหลายร้อยล้านดอลลาร์ให้กับรัฐบาลสหรัฐ โดยเขาได้จ่ายภาษีและจะยังคงเสียภาษีทั้งหมดที่ยังติดค้างกับรัฐบาลสหรัฐจาก ช่วงเวลาที่เขาเป็นพลเมืองสหรัฐ ปัจจุบัน Saverin ถือสัญชาติบราซิล โดยยังไม่ได้ขอสัญชาติสิงคโปร์แต่อย่างใด
ที่มา - The Wall Street Journal, CNN, The Huffington Post, Bloomberg, The Washington Post

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของ สีทาบ้าน

สี TOA  สี ICI    สี nippon  สี Beger  สี Jotun     สี captain

เตรียมของ 8 อย่าง สำหรับทาสี

1. สีทาทับหน้า ได้แก่ สีทาภายใน สีทาภายนอก สีน้ำมัน สีทาฝ้า
  2. สีรองพื้น สำหรับ ปูนใหม่ ปูนเก่า ไม้ใหม่ ไม้เก่า และเหล็ก
  3. สีน้ำมัน สำหรับ วงกบ/บาน ประตูหน้าต่าง เชิงชายและฝ้าระแนง พร้อม น้ำมันสนทำละลาย
  4. วัสดุอุดโป้ว อาครีลิค ซีแลนท์ ปูนขาว ยิปซั่ม
  5. วัสดุขัดผิวเรียบ กระดาษทรายขัดเหล็ก-ไม้ แบบหยาบและละเอียด
  6. อุปกรณ์ป้องกันเลอะ ผ้าฟาง กระดาษกาว น้ำมันสน-ทินเนอร์-เศษผ้า สำหรับเช็ดสีหยด
  7. แปรงทาสี ลูกกลิ้ง 10 นิ้วพร้อมด้าม pvc แปรงขนม้า 3นิ้ว 2นิ้ว 1นิ้ว ลูกกลิ้งสีน้ำ/น้ำมัน ขนาดเล็ก และ ถังผสมสี/ถังทาสี
  8. จิปาถะ บันได เก้าอี้ เสื้อกันเลอะ รวมไปถึง นั่งร้านไม้ไผ่ถ้าต้องใช้ และ หลุมเทสี / หลุมล้างวัสุด

เคล็ดลับการคำนวนปริมาณสี

 •  สี 1 แกลลอน ทาได้ 30 ตรม. 
 •  สี 1 ถัง (5 แกลลอน) ทาได้ 150 ตรม.   
 •  น้ำยารองพื้นปูนเก่า 1 ถัง (5 แกลลอน) ทาได้ 150 ตรม.
 •  ทาสีทับหน้า 2 เที่ยว น้ำยารองพื้น 1 เที่ยว
 •  สี 2 ถัง ใช้น้ำยารองพื้น 1 ถัง ทาสีได้ 150 ตรม   

พื้นที่ทาสี บ้านจัดสรร

บ้านเดี่ยว 2 ชั้น (โดยประมาณ)
  ภายนอก พื้นที่ประมาณ 200 - 250 ตรม. ไม่รวมเชิงชาย ฝ้าระแนง วงกบ บานประตูหน้าต่าง
  ภายใน ผนังห้องต่างๆ และฝ้า ชั้นละประมาณ 300 ตรม. ไม่รวมบานประตูหน้าต่างและคิ้ว
  ทาวน์เฮาสต์ 2 ชั้น (โดยประมาณ)
  ภายนอก ด้านหน้าและด้านหลัง 50 - 80 ตรม.ไม่รวมรั้ว
  ภายใน ลึก 10 เมตร ชั้นละประมาณ 160 - 180 ตรม.รวมฝ้าและผนังห้องต่างๆ ไม่รวมบานประตูหน้าต่างและคิ้ว