วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปริมาณแอลกอฮอล์



กำหนดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสำหรับผู้ขับขี่ไม่ให้เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามประกาศกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 16/2537 ผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปริมาณการดื่มเบียร์ 1 ขวด (630 มิลลิลิตร) หรือเบียร์ 2 กระป๋อง[1 กระป๋อง (340 มิลลิลิตร/ 12 ออนซ์) ] ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ดื่มเป็นสำคัญ ผู้ดื่มน้ำหนักตัว 60 – 69 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ [160 ปอนด์ = 72.5747792 กิโลกรัม]

ถ้าผู้ดื่มน้ำหนักน้อยกว่านี้ระดับแอลกอฮอล์จะเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

อัตราการทำลายของแอลกอฮอล์ใน 1 ชั่วโมง ร่างกายจะกำจัดแอลกอฮอล์ได้ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ 

กล่าวคือ

ถ้ามีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ระดับแอลกอฮอล์จะเหลือ 35 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

เครื่องดื่มประเภทวิสกี้ 35 ดีกรี และ 43 ดีกรี

ผู้ดื่มที่มีส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนักมากกว่า 58 กก. สามารถดื่มวิสกี้ปริมาณ 80 มิลลิลิตร และ 100 มิลลิลิตร ตามลำดับ

ส่วนผู้หญิงสูงเฉลี่ย 158 ซม. น้ำหนัก 45 – 55 กิโลกรัมดื่มวิสกี้ปริมาณ 40 มิลลิลิตร และ 60 มิลลิลิตร (1 ฝาเท่ากับ 10 มิลลิลิตร)

เครื่องดื่มประเภทไวน์ 10-12 ดีกรี

ผู้ดื่มที่มีส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนัก 61 กก. ปริมาณที่ดื่ม 300 มิลลิลิตร

สำหรับ ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157 ซม. น้ำหนัก 45 – 55 กิโลกรัมปริมาณที่ดื่ม 170 มิลลิลิตร


การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะมีแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก 15-20 นาที ถ้ามีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจจะมีผลทำให้ระดับแอลกอฮอล์สูงกว่า ความเป็นจริง ดังนั้นควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าก่อน เพื่อกำจัดแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปา



ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 3 วิธี คือ
1. ทางลมหายใจ โดยการเป่าลมออกจากปากเข้าไปในเครื่องตรวจตัวเลขที่อยู่บนเครื่อง จะบอกระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg% )
2. ทางเลือดโดยตรง
3. ทางปัสสาวะ
ในที่นี้จะกล่าวถึงการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด สรุปดังนี้
เส้นทางเดินของแอลกอฮอล์ในร่างกาย
เมื่อเราดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะดูดซึมผ่านปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กเข้าสู่เลือด เนื่องจากโมเลกุลของแอลกอฮอล์มีขนาดเล็กและไม่ต้องการน้ำย่อย แอลกอฮอล์จะเคลื่อนที่ตามทิศทางเดินของเลือด แอลกอฮอล์บางส่วนจะถูกทำลายโดยตับ จากนั้นเลือดจะผ่านไปทางหัวใจด้านขวา และเลือดถูกสูบฉีดไปปอด สู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แอลกอฮอล์เข้าสู่สมอง ทำให้การสั่งงานของสมองช้าลง เมื่อแอลกอฮอล์ผ่านปอด แอลกอฮอล์บางส่วนจะแพร่ออกสู่อากาศ (ลมหายใจ) ซึ่งการวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์หา ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้
หลักการของเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ คือ
ให้ผู้ถูกตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องซึ่งมี ตัวตรวจจับ (Detector) แอลกอฮอล์ ซึ่งมี 4 แบบ ได้แก่
1. ตัวตรวจจับแบบ Colorimeter
เปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นเขียว เมื่อได้รับแอลกอฮอล์
2. ตัวตรวจจับแบบสารกึ่งตัวนำ
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ใช้ทดสอบตัวเอง พกพาสะดวก แต่ไม่มีความเที่ยงตรง
3. ตัวตรวจจับแบบเซลไฟฟ้าเคมี
การวัดแอลฮอล์โดยใช้เครื่องที่มีตัวตรวจจับแบบนี้ มีความเที่ยงตรง สามารถใช้เป็นหลักฐานทางคดีได้ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก แต่มีราคาแพง
4. ตัวตรวจจับแบบ Infrared
การวัดแอลฮอล์โดยใช้เครื่องที่มีตัวตรวจจับแบบนี้ มีความเที่ยงตรง สามารถใช้เป็นหลักฐานทางคดีได้ ตังเครื่องมีขาดใหญ่ เหมาะสำกรับใช้ประจำที่ เช่น สถานีตำรวจ
ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณของแอลกอฮอล์ ในเลือด
1. ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม ถ้าความเข้มข้นมากปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูง
2. อัตราการดื่ม ถ้าดื่มเร็ว ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูง
3. การดื่มเมื่อไม่มีอาหารในกระเพาะ ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะสูงกว่าการดื่มเมื่อมีอาหารในกระเพาะ
4. น้ำหนักของร่างกาย คนที่มีน้ำหนักมาก ปริมาณของแอลกอฮอล์ในเลือดจะต่ำกว่าคนที่มีน้ำหนักน้อย ถ้าดื่มในปริมาณที่เท่ากัน
ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือดจะมีผลอย่างไร
- ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด 30 mg% จะมีอาการสนุกสนานร่าเริง
- ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด 50 mg% จะทำให้การเคลื่อนไหวช้าลง
- ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด 100 mg% จะเมาเดินไม่ตรงทาง
- ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด 200 mg% จะเกิดอาการสับสน
- ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด 300 mg% จะเกิดอาการง่วงซึม
- ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด 400 mg% จะเกิดอาการสลบอาจถึงตาย
สรุป หากท่านทราบถึงอันตรายของแอลกฮอล์ในเลือดแล้ว ท่านควรระมัดระวัง หากท่านจำเป็นต้องดื่มแอลกอฮอล์ ท่านควรไปรถโดยสาร หรือรถรับจ้างสาธารณะ หรือมีผู้อื่นขับรถให้ ก็จะปลอดภัยทั้งสำหรับตัวท่านและผู้อื่นด้วย เนื่องจากคำว่า "เมาสุรา" หมายถึง การมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายมากกว่า 50 mg% ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้การทำงานช้าลง ถ้าขับขี่ยานพาหนะ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากกว่าคนที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในร่างกายถึง 2 เท่า
ที่ มา: กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546

โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่
เมื่อเปรียบเทียบระดับแอลกอออล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุ จราจร พบว่า
ระดับแอลกอฮอล์ใน เลือด (mg% )โอกาสเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา
20
ใกล้เคียงกับคนไม่ดื่มสุรา
50
โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 2 เท่า
80
โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 3 เท่า
100
โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 6 เท่า
150
โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 40 เท่า
มากกว่า 200
ไม่สามารถวัดได้ เนื่องจากควบคุมการทดลองไม่ได้
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสำหรับทุกท่าน หากท่านเป็นผู้ขับขี่ ไม่ควรดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ หรือให้ผู้อื่นขับให้จะปลอดภัยกว่า เพราะ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อย ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้

ที่มา
http://web.kanjaruek.com
http://savepoint.weloveshopping.com
http://www.bloggang.com