วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยางน่อง



ยางน่อง เป็นอย่างไรเคยสนใจหาข้อมูลพอรู้เป็นเลาๆ เอามาปันกันอ่านครับ
IPB Image


1. คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น


ผมอยากได้ข้อมูลต้นยางน่อง ชนิดเถาหรือต้นก็ได้ และจะหาซื้อได้ที่ไหนครับ ถามหาหลายแห่งแล้วไม่มีเลยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ/kemtip 

ตอบ "ยางน่อง-upas tree" เป็นพืชในวงศ์ moraceae ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Antiaris toxicarica เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยรู้จักมักคุ้นกันนัก มีทั้งชนิดยืนต้นและเถา


ชนิดยืนต้นเป็นไม้ใหญ่ผลัดใบ มี 2 เพศในต้นเดียวกัน สูง 45-60 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง180 เซนติเมตร บางต้นมีพูลึก สูงจากพื้นดิน 3 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ยางสีขาวอมเหลืองจะค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อถูกอากาศจะจับตัวเป็นเม็ด รูปใบกลม ผลมี 1 เมล็ด มีเนื้อนุ่มรูปกระสวย ผิวกำมะหยี่ พบในแถบเขตร้อนอย่างศรีลังกา อินเดีย จีนตอนใต้ ไทย มาเลเซีย นับเป็นไม้หายาก (พบ 1 ต้นในพื้นที่ 500 ไร่) เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างประเภทที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก หรือทำเฟอร์นิเจอร์

ยางน่องชนิดเครือ หรือเถา ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Strophanthus scandens Roem & Schult อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีสีแดงเข้ม ส่วนที่เป็นพิษคือยางจากต้น และเมล็ดมีสารไกลโคไซด์ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อสโตรแฟนตินจี, คอมบิคาซิต โคลีน และไตรโกเนลลีน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท และทำให้หัวใจเต้นช้าลง เต้นไม่เป็นจังหวะ และหัวใจวาย เช่นเดียวกับยางน่องต้น

ยางน่องจัดเป็นไม้น่ากลัว อยู่ในประเภทต้นไม้ใช้ฆ่า มีบันทึกว่าน้ำยางสีขาวที่ได้จากการกรีดเปลือกของลำต้นใช้ทาหัวลูกดอกเพื่อฆ่าคนหรือสัตว์ ประเทศมาเลเซียยุคก่อนก็ใช้น้ำยางนี้เป็นเครื่องมือประหารชีวิต

สำหรับประเทศไทย ชาวซาไก และพรานทางเหนือและอีสานใช้ปลายลูกหน้าไม้ชุบน้ำยางไว้ยิงสัตว์ใหญ่ แต่ก่อนจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวอันเกิดจากพิษยางน่องออกจนหมดก่อน

แม้ยางจะเป็นพิษ แต่เนื้อไม้ที่มีสีขาว เป็นไม้เสี้ยนตรง เนื้ออ่อน สามารถนำไปทำเป็นหีบใส่ของ รองเท้าไม้ เครื่องเล่นต่างๆ ได้ เมล็ดของมันยังมีสรรพคุณแก้ไข้ ส่วนเปลือกให้ใยละเอียดสีขาว ใช้ทำเชือก เยื่อกระดาษ ทุบทำเป็นที่นอน ผ้าห่มและเสื้อกางเกงของพวกชาวป่า จึงเป็นต้นไม้ที่น่าอนุรักษ์ต้นหนึ่ง แม้ยางจะอันตราย แต่ส่วนอื่นก็มีคุณค่าน่าศึกษา

ยางน่องมีพิษ ห้ามสัมผัสถูกแผลเพราะอาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นออกฤทธิ์ถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นแผลถูกงูกัด ไม่ว่าจะเป็นงูชนิดใด รวมทั้งตะขาบ แมงป่อง สามารถใช้ยางน่องทาแผลรอยกัดเหล่านั้นเพื่อรักษาพิษจากสัตว์เหล่านั้นได้ ที่ท่านว่า ใช้พิษแก้พิษ นั่นแล

กล้าของต้นยางน่องยังไม่มีการนำมาเพาะปลูกขายเป็นธุรกิจ แต่ถ้าสนใจรอไว้งานเกษตรแฟร์ซึ่งมีสมุนไพรจากสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศมาขาย หรือติดต่อครูภูมิปัญญาไทยผู้เชี่ยวชาญเรื่องสมุนไพรของซาไก คือนางอาภาพร ศรีธารโต หมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 95150

จงใช้ให้เป็นคุณเถิด
(20 มกราคม 2548)

2. ยางน่องจะมีทั้งคุณและทั้งโทษ
ต้นน่องที่เคยพบจะพบในป่าได้น้อยมากที่เคยพบครั้งแรกในชีวิต คือ ที่ หมู่บ้านสวนพลูพุต่อ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นป่ากันชนและป่าชุมชนของห ้วยขาแข้งยังคงเป็นป่าที่เป็นต้นน้ำที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์มีพืชที่อุดมสมบูรณ์อาทิเช่น ค้างคาวดำ กราวเ ครือ และที่สำคัญบริเวณตาน้ำยังสามารถพบต้นน่องที่สูงใหญ่ตามความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ตอนที่เราไปพบจะพบ รอยของมีดที่ใช้ฟันตั้งแต่บริเวณลำต้นจนถึงปลายของลำต้นมีชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่าสมัยโบราณนั้นเวลาออกไป ล่าสัตว์มักจะเอามีดไปสับที่บริเวณลำต้นเพื่อเอายางน่องไปล่าสัตว์ได้ยางน่องแล้วก็นำไปเคี่ยวรวมกับ กระเ ทียม พริก ถ้าเคี่ยวได้ที่จะมีฟองขึ้นและเมื่อได้ที่ก็นำไปทดลองกับกิ้งก่าโดยนำปลายลูกดอกจุ่มยางน่องแล้ วนำไปเสียบที่ตัวกิ้งก่าแล้วปล่อยให้มันวิ่งขึ้นต้นไม้ถ้ามันตายแล้วตกลงมาจากต้นไม้แสดงว่ายางน่องที่เรา เคี่ยวนั้นได้ที่แต่ถ้าตายแล้วไม่ตกลงมาแสดงว่าเคี่ยวไม่ได้ที่ต้องนำมาเคี่ยวใหม่***เหตุผลที่ต้องกับกิ้ งก่าให้วิ่งขึ้นต้นไม้แล้วให้ร่วงลงมานั้นคือเมื่อเวลาเรายิงสัตว์บนตนไม้แล้วสัตว์บางตัวเล็บจะเกาะกับต้ นไม้ดีมากแม้ขณะตายยังไม่ยอมหล่นจากต้นไม้ดังนั้นเราจึงต้องการให้มันตายแล้วร่วงลงมาเพื่อสะดวกในการเก็บ 

ถ้าใครสนใจจะดูต้นน่องและดูความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำและป่าชุมชน ติดต่อได้ที่ผู้ใหญ ่บ้าน สวนพลูพุต่อ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธษนี


ต้นยางน่อง เป็นต้นที่มีผลสวยงาม เป็นกำมะยี่สีแดง ถ้าอยากจะเห็นมันสักครั้ง ไปดูที่ศูนยืฝึกนิสิตวน ศาสตร์ ที่วังน้ำเขียว โคราช ก็ได้ค่ะ เข้าไปก็เจอเลย สำหรับท่านที่ต้องการต้นยางน่อง ถ้ายังงัยก็ ระมัดระวังด้วยนะคะ มันเป็นไม้ป่าที่เหมาะจะอยู่กับป่าหรือเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ต้องอาศัยป่า หากท่า นไม่มีความจำเป็นใดๆ ในการใช้ประโยชน์ในทางที่ดี ก็อย่านำมาปลูกจะดีกว่าค่ะ...เป็นห่วงท่านที่ต้องการ และบุคคลที่ไม่รู้จักอาจได้รับอันตรายโดยที่ไม่คาดฝันก็ได้


3. ยางน่อง ตำนานพิษแก้พิษ 
ยางน่อง เป็นต้นไม้ที่ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักมักคุ้นของคนทั่วไป มีทั้งอย่างชนิดยืนต้นและอย่างเถา ยางน่องต้น มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Antiaris toxicaria Lesch. อยู่ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก อาจสูงได้ถึง 70 เมตร ลำต้นจะเป็นพูพอน แผ่ออกพื้นดินเพื่อยึดลำต้น เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีขาวหรือขาวอมเทา เปลือกชั้นในสีขาวหรือขาวอมเหลือง 
ถ้าถากเปลือกดูจะมีน้ำยางสีขาวหรือขาวอมเหลืองซึมตามรอยถาก พิษของยางน่องจะอยู่ที่ยางนี่แหละ ยางจะมีสารไกลโคไซด์ (glycoside) ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อแอนดิเอริน (antiarin) มีรสขมและมีฤทธิ์กัด มีผลต่อระบบประสาท และหัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลง หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และหัวใจวายตาย 
หมอโบราณทางภาคเหนือ กล่าวว่ายางที่ได้จากต้นยางน่องเป็นพิษ ใช้ชุบปลายลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ใหญ่ได้ แต่ก่อนจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวอันเกิดจากพิษยางน่องให้หมดเสียก่อนจึงจะรับประทานได้ 
แม้ยางต้นน่องจะเป็นพิษแต่เนื้อไม้ที่มีสีขาว เป็นไม้ที่เสี้ยนตรง เนื้ออ่อน สามารถที่จะนำไปทำเป็นหีบใส่ของ รองเท้าไม้ เครื่องเล่นต่างๆได้ และสามารถใช้เมล็ดต้นยางน่องเป็นยาแก้ไข้ ส่วนเปลือกต้นยางน่อง ให้ใยละเอียดสีขาว ใช้ทำเชือก เยื่อกระดาษ ทุบทำเป็นที่นอน ผ้าห่มและเสื้อกางเกงของพวกชาวป่า เช่น แม้ว มูเซอ และเงาะ เป็นต้น ต้นยางน่องจึงเป็นต้นไม้ที่น่าอนุรักษ์ต้นหนึ่ง แม้เราจะไม่ใช้ยางน่องในการชุบหน้าไม้ยิงสัตว์อีกต่อไปแล้ว แต่ส่วนอื่นของต้นยางน่องก็มีคุณค่าน่าศึกษา 
ยางน่องอีกต้นเป็นชนิดเครือ ชื่อยางน่องเครือ ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Strophanthus scandens Roem & Schult อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาว ตามกิ่งอ่อนมีสีแดงเข้ม ส่วนที่เป็นพิษ คือ ยางจากต้น และเมล็ดมีสารไกลโคไซด์ (glycoside) ที่เป็นพิษต่อหัวใจ ชื่อ สโตรแฟนตินจี (Stophantin G), คอมบิคาซิต โคลีน (kombicacid choline), ไตรโกเนลลีน (trigonelline) ซึ่งทำให้หัวใจเต้นช้าลง เต้นไม่เป็นจังหวะและหัวใจวายตาย เช่นเดียวกับยางน่องต้น 
ประสบการณ์ของหมอยาอิสานจะนิยมใช้ยางน่องเครือ พรานจะรู้ดีว่ายางน่องเครือต้นไหนมีพิษรุนแรง ต้นไหนมีพิษอ่อน ต้นที่มีพิษแรงจัดยอดจะออกเป็นสีแดงเข้มกว่า ยางจะออกเป็นสีขาวออกแดงเรื่อๆ วิธีการทำยางน่องเพื่อใช้ชุบลูกดอกเวลายิงสัตว์ เขาจะใช้กาบ(เปลือก) ยางน่องเครือใส่น้ำเคี่ยวให้เข้าๆกันจนเหนียวติดมือ (ห้ามเอามือที่เป็นแผล เป็นขี้หิด ขี้กลากไปสัมผัสเชียวนา มีสิทธิ์ที่จะตายได้) เก็บใส่กระบอกไม้ไผ่ไว้ใช้ 
พรานบางคนต้องให้พิษยางน่องแรงขึ้น จะเพิ่มต้นยาสูบลงไปประมาณ 1 คืบ ถ้าไม่มีต้นเอาใบยาสูบที่แรงๆสักเล็กน้อย และเปลือกไม้ชนิดหนึ่งชื่อ ไม้ชีงวง ใช้หนึ่งคืบ สองอย่างนี้ไม่ต้องใช้มากเท่าเปลือกยางน่อง เป็นตัวเสริมฤทธิ์เท่านั้น และถ้ายางน่องในกระบอกที่เก็บไว้แห้งกรัง เขาจะเคี้ยวเปลือกไม้ชีงวงใส่แล้วเอายางน่องในกระบอกไปอุ่นไฟ ยางน่องในกระบอกจะมีพิษและใช้ได้เหมือนเดิม 
ถ้าหากเกิดพลาดพลั้ง เช่น ยิงถูกกันเอง หรือเผลอเอามือที่มีแผลไปสัมผัส ท่านให้รีบไปเคี้ยวผ้าดำ เคี้ยวๆแล้วกลืนน้ำลายกิน เพราะว่าผ้าดำจะเกิดจากการย้อมด้วยต้นครามและด่าง (ทำจากเผาไม้ในธรรมชาติ เช่น ด่างไม้ขี้เหล็ก) หรือให้กินปูนา จะกินปูนาดิบๆเพราะปิ้งไม่ทันหรือที่ปิ้งไว้แล้วก็ได้ หมอยาหลายท่านยืนยันว่าปูนาสามารถแก้พิษยางน่องได้ชะงัดจริง 
หากเป็นสมัยนี้ถ้าถูกพิษทั้งยางน่องต้นและยางน่องเครือเเข้าต้องวิ่งหา ผงถ่าน ยาถ่าย ยาขับปัสสาวะ ยาป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ (propanold) กันให้วุ่นวายไปหมด 
แม้ยางน่องจะมีพิษ ห้ามสัมผัสถูกแผลเพราะอาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นพิษถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นแผลถูก งูกัด ไม่ว่าจะเป็นงูชนิดใด รวมทั้งตะขาบ แมลงป่อง สามารถใช้ยางน่องทาแผลรอยกัดเหล่านั้นเพื่อรักษาพิษจากงูและสัตว์พิษเหล่านั้นได้ เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่าใช้พิษแก้พิษ 
ภูมิปัญญาและประสบการณ์การใช้พรรณพืชของบ้านเรา หลายคนอาจมองเป็นเรื่องโม้หรือเรื่องเล่าไร้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่เรื่องเล่าและประสบการณ์เหล่านี้แหละที่เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนายาสมัยใหม่ 
แม้เราไม่สามารถพัฒนายาใหม่จากต้นยางน่องได้ อย่างน้อยเรื่องราวของยางน่องก็เป็นอุทาหรณ์บอกกับเราว่า ยางน่องแม้จะเป็นพิษแต่ก็แก้พิษได้ เศรษฐกิจที่เป็นพิษในขณะนี้ด้านกลับของมันก็ช่วยแก้พิษที่เกิดจากการพัฒนาที่ผิดทาง เพราะเป็นการพัฒนาที่ทำลายวัฒนธรรมและธรรมชาติ ทำให้เราหันกลับมาหาสิ่งที่เรามี แค่เป็นหนี้ไม่ทำให้เราตายหรอก 


4. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_t....asp?info_id=86
วงศ์ Apocynaceae
2.1Strophanthus caudatus (Burm.f.) Kurz
ชื่อทั่วไป Brush wood ชื่อพื้นเมืองเรียกว่า ยางน่องเถา เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว ใบเดี่ยวติดตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่สลับทิศทางกัน ทรงใบรูปรี รูปไข่กลับ หรือ รูปทรงขอบขนาน ดอกโต รูปแจกันสีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อกระจุกหรือช่อเชิงหลั่นตามปลายกิ่ง ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 แฉก ปลายกลีบดอกเรียวยาวสีเหลือง ผลเป็นฝักคู่แก้จัดจะแตกด้านเดียว เมล็ดมีปุยขนสียาวเป็นกระจุกที่ปลาย
ส่วนที่เป็นพิษ ยางจากเปลือกทำให้สลบหรือตายได้ คนพื้นเมืองจะใช้หัวลูกศรจุ่มยางนี้แล้วใช้ยิงสัตว์หรือคน

ถ้าโดนพิษจากยางน่องเครือให้ใช้เถาย่านางแดงหรือรากรางจืดฝนกับมะนาวกินและทา




ที่มา http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t2758.html