วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ถอดรหัสบัตรประชาชน


ความหมายของเลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก

หลักที่ 1 หมายถึงประเภทบุคคลซึ่งมี 8 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
ประเภทที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)
ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)
ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ
ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมาย แต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว
ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฏหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย

หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลข สำหรับเด็กเกิดใหม่จะหมายถึงถิ่นที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัด หลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอ หรือเทศบาล

หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ ของสูติบัตร แล้วแต่กรณี

หลักที่ 11 และ 12 หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม แล้วแต่กรณี

หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก

-----------------------------------------------------
Check Digit คืออะไรหนอ?

Check Digit เป็นตัวเลข 1 หลัก ที่เกิดจากการนำเลขหลักอื่นๆ มา บวก ลบ คูณ หาร กัน และ Check Digit นี่หละครับ จะช่วยให้เราตรวจสอบในเบื้องต้นได้ว่า ข้อมูลที่กรอกมาถูกต้องรึเปล่า

เวลาเราจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่กรอกมาถูกต้องรึเปล่า เราจะคำนวณ Check Digit จากเลขหลักอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบกับ Check Digit ที่เขากรอกมาว่าตรงกันมั้ย ถ้าตรงกันก็แสดงว่าข้อมูลถูกต้องไม่ผิด ไม่มั่ว แต่ถ้าไม่ตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่กรอกมามีข้อมูลซักหลัก หรือ สองหลักที่ผิด เราก็สามารถเตือนให้ผู้ใช้ทราบและกรอกใหม่ อีกครั้งได้
เอ้า มาลองคำนวณ Check Digit ของรหัสประชาชนเรากันดีกว่า

ขอยกตัวอย่างรหัสประชาชนนี้ละกันครับ

1-2015-41462-23-4

ไหน ตอบหน่อยซิ ว่า Check Digit ของรหัสประชาชนนี้คือเลขอะไรคร้าบ.......
เอ้า ถามเองตอบเองก็ได้ Check Digit ของรหัสประชาชนนี้คือเลข 4 (เลขตัวสุดท้ายนั่นเอง)
เรามาดูกันว่า เลข 4 เกิดจากอะไรหว่า? คำนวณมาได้ไง? มั่วอ๊ะเปล่า?

* ขั้นตอนที่ 1 - เอาเลข 12 หลักมา เขียนแยกหลักกันก่อน (หลักที่ 13 ไม่ต้องเอามานะคร้าบ)

120154146223

* ขั้นตอนที่ 2 - เอาเลข 12 หลักนั้นมา คูณเข้ากับเลขประจำหลักของมัน

รหัสบัตร120154146223
ตัวคูณ1312111098765432

ผลคูณ1324010453272430866

* ขั้นตอนที่ 3 - เอาผลคูณทั้ง 12 ตัวมา บวกกันทั้งหมด จะได้ 13+24+0+10+45+32+7+24+30+8+6+6=205
* ขั้นตอนที่ 4 - เอาเลขที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มา mod 11 (หารเอาเศษ) จะได้ 205 mod 11 = 7
* ขั้นตอนที่ 5 - เอา 11 ตั้ง ลบออกด้วย เลขที่ได้จากขั้นตอนที่ 4 จะได้ 11-7 = 4 (เราจะได้ 4 เป็นเลขในหลัก Check Digit)
ถ้าเกิด ลบแล้วได้ออกมาเป็นเลข 2 หลัก ให้เอาเลขในหลักหน่วยมาเป็น Check Digit (เช่น 11 ให้เอา 1 มา, 10 ให้เอา 0 มา เป็นต้น)

โอ้โห....มหัศจรรย์มาก ยอดเยี่ยมกระเทียมดอง เลขที่ได้ตรงกับเลขหลักที่ 13 ด้วยแหละ...ถ้าไม่เชื่อก็เอาเลขบัตรประชาชนตัวเองมาคำนวณดูสิครับ

ผมคิดว่าหลายๆ คนคงมีคำถามในใจแล้วหละว่า ทำไมต้องเอามาคูณ 13 ทำไมต้องเอามา บวกกัน ทำไมต้องเอามา mod 11 คำตอบที่ผมให้ได้ก็คือ มันคือวิธีที่ถูกเลือกใช้ในการคำนวณ Check Digit ให้กับรหัสประชาชนครับ แต่ถ้าเราจะคำนวณ Check Digit ให้กับรหัสสินค้า หรือ ISBN ของหนังสือ เราก็ต้องใช้วิธีการคำนวณ ที่แตกต่างกันออกไปครับ

ที่มา http://siamdev.net/main.php?engine=article&action=browse&id=81