โดย.. น.อ.ไชยวัฒน์ กาศโอสถ
ปัจจุบัน เทคโนโลยีอาวุธนำวิถีโดยเฉพาะ Infrared Short Range Air to Air Missile หรือ อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้ได้ก้าวมาถึงยุคที่๕ (Fifth Generation) และมีการผลิตอาวุธนำวิถีในยุคนี้หลายแบบ เช่น อาวุธนำวิถี Python-5, อาวุธนำวิถี AIM-9X และอาวุธนำวิถี IRIS-T เป็นต้น อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้ส่วนใหญ่จะเป็นอาวุธนำวิถีประเภท Passive เนื่องจากต้องการให้อาวุธนำวิถีมีขนาดเล็ก มีความคล่องตัวในการติดตามเป้าหมาย ซึ่งจะรับสัญญาณหรือการจับเป้าหมายเป็น Infrared ที่แผ่ออกมาจากท่อท้ายเครื่องบิน อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้เริ่มต้นใช้งานมาในยุคแรกๆ ประมาณปี ๑๙๖๐ ในยุคแรกนั้นวิวัฒนาการการสร้างอากาศยานยังไม่ล้ำยุคอย่างในปัจจุบันการใช้ อาวุธนำวิถีในยุคแรก ผู้ยิงจะนำเครื่องบินเข้าไปจ่อด้านท้ายของเครื่องเป้าหมาย ซึ่งในยุคนั้นเครื่องบินเป้าหมายยังไม่สามารถบินผาดแผลงได้มากนัก อาวุธนำวิถีในยุคนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี AIM-9B เป็นต้น
อาวุธ นำวิถีใน ยุคที่๒ พัฒนาจากยุคที่๑ โดยให้สามารถติดตามเป้าหมายที่บินผาดแผลงได้ตามวิวัฒนาการของอากาศยาน แต่ก็ยังคงต้องบินแบบไล่ตามจับเป้าที่ต่อท้ายเครื่องบินเช่นกัน อาวุธนำวิถียุคนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี AIM-9P เป็นต้น
อาวุธนำวิถีในยุค ที่๓ ได้พัฒนาทั้งดินขับให้มีแรงขับสูงขึ้น และการจับเป้าหมายที่ใช้ Infrared ที่แผ่ออกมาจากเครื่องบินเป้าหมายที่น้อยลงได้นั่นคือ การพัฒนา Sensor ที่จับเป้าหมายให้มีความไวในการจับเป้าหมายได้สูงขึ้น โดยใช้สาร Indium Antimonide เป็น Detector และมีการใช้ Liquid Argon Gas หรือ Liquid Nitrogen Gas ในการ Cooling สามารถที่จะยิงสวนกับเครื่องบินเป้าหมายได้ อาวุธนำวิถีในยุคนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี AIM-9L และ Python-3 เป็นต้น
ใน ช่วงยุคที่๔ ส่วนใหญ่จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในพื้นที่การยิง ที่สามารถยิงได้ในทุกทิศทาง ของครึ่งทรงกลมที่ด้านหน้า ( Semi-sphere ) รวมทั้งการพัฒนาต่อต้านการ Jamming ซึ่งก็คือทำให้ระบบ IRCCM (Infrared Counter Counter Measure) มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้ Jamming ไม่เกิดผล นอกจากนี้บางรุ่นยังมีการพัฒนาดินขับให้มี Thrust มากขึ้น อาวุธนำวิถีนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี Python-4 เป็นต้น และบางท่านถือว่าอาวุธนำวิถี AIM-9M-8/9 จัดอยู่ในยุคนี้เช่นกัน แต่บางท่านถือว่าอาวุธนำวิถีแบบนี้อยู่ในยุคที่๓.๕
สำหรับ อาวุธนำวิถีในยุคปัจจุบัน คือยุคที่๕ นั้นปรับปรุงจากยุคที่๔ ให้เพิ่มขีดความสามารถการยิง โดยสามารถยิงได้รอบตัวไม่ว่าเป้าหมายจะอยู่ทิศทางใดในรัศมีรอบทรงกลม ซึ่งทำงานโดยมีระบบ DataLink มาช่วยเพิ่มขีดความสามารถดังกล่าว (Lock-On After Launch : LOAL) นอกจากนี้ยังมีขีดความสามารถในการสกัดกั้นอาวุธนำวิถีประเภท Cruise Missile ได้ด้วย อาวุธนำวิถีในยุคนี้ได้แก่อาวุธนำวิถี
Python-5, อาวุธนำวิถี AIM-9X และอาวุธนำวิถี IRIS-T เป็นต้น สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะอาวุธนำวิถี IRIS-T
อาวุธ นำ วิถี IRIS-T เป็นอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศระยะใกล้ในยุคที่๕ IRIS-T ย่อมาจาก Infrared Imaging System Tail/Thrust Vevtor-Controlled เดิมเป็นโครงการที่มีประเทศเยอรมันเป็นผู้นำในการที่จะพัฒนาอาวุธวิถีระยะ ใกล้เพื่อที่จะใช้แทนอาวุธนำวิถี AIM-9 Sidewinder ....
อ่านต่อ.. http://www.apd5rtaf.org/pdf/IRIS-T.pdf
ที่มา http://thaidefense-news.blogspot.com/2011/08/iris-t.html