วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์

การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์ แต่ละประเภท แต่ละภูมิอากาศ และสภาพของเครื่องยนต์มีปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อดังนี้
1.ค่าความหนืด หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่อง
2.เกรดของน้ำมันเครื่อง
3.มาตรฐานของน้ำมันเครื่อง

ค่าความหนืด Viscosity
ของเหลวทุกชนิดต่างก็มีตัวแปรที่แตกต่างกัน คือค่าความหนืด (Viscosity) หรือความต้านทานการไหล โดยมีตัวแปรอยู่ที่อุณหภูมิ มีหลายหน่วยการวัด เช่นระบบเมตริก cSt เซนติกโตส, หน่วย SUS, SSU วินาทีเซย์โบลต์,
การวัดความหนืดของน้ำมันเครื่อง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล จึงมีหลายๆสถาบันวิจัย วัดค่าความหนืด และทำออกมาเป็นมาตรฐานตามชื่อเรียกของสถาบันต่างๆ เช่น
API - AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
SAE - SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
US MILITARY CLASSIFICATION - สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา
ASTM - AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS
CCMC - COMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION

เบอร์น้ำมันเครื่อง (เบอร์ 0 – 60)
การวัดค่าความหนืดจะวัดกันที่ 100 องศาเซลเซียส ได้เป็นออกมาเป็นค่าความหนืด แทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า เบอร์ของน้ำมันเครื่อง (Number)เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากลเหมือนกันทั่วโลก ทุกๆสถาบันจึงได้แทนค่าความหนืด ออกมาเป็นตัวเลขในรูปของเบอร์ของน้ำมันเครื่อง เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขน้อยยิ่งมีความหนืดน้อยตามลำดับ
ค่า W คืออะไร
น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น
0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
เกรดของน้ำมันเครื่อง Single Grad & Multi Grad
น้ำมันเครื่องในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 เกรดด้วยกันคือ
1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว Single Grad หรือ Mono Grad คือน้ำมันเครื่องที่มีความค่าความหนืดเหมาะสมกับเฉพาะอุณหภูมิหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะอุณหภูมิสูง พออุณหภูมิเริ่มต่ำลง ความหนืดก็จะเพิ่มขึ้น รับรองโดยสถาบันเดียวคือ SAE เช่นน้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 50 หรือ SAE 40 ปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีขายอยู่ แต่หาซื้อได้น้อยมาก เหมาะกับเครื่องยนต์รอบต่ำ เครื่องยนต์รุ่นเก่าๆ และประเทศเขตร้อน

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม Multi Grad น้ำมันเครื่องมัลติเกรด เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่นในอุณหภูมิสูง จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เรียกได้ว่ามีช่วงอุรหภุมิการใช้งานที่กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ทุกอุณหภูมิ ซึ่งจะระบุเป็น 2 ตัวเลข มีอักษร W เป็นตัวคั่นกลางเช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ปัจจุบันน้ำมันเครื่องแบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้ และมีขายในท้องตลาดทั่วๆไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่ และประเทศในเขตหนาวเย็น และยังสามารถใช้งานได้ทุกสภาวะอากาศ

มาตรฐานของน้ำมันเครื่อง เบนซิล (S) & ดีเซล (C)
น้ำมันเครื่องที่ใช้กับรถยนต์ แบ่งได้ออกเป็น 2 มาตรฐาน ตามลักษณะการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ว่าเป็นชนิด แก๊สโซลีน หรือ ดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เพราะเครื่องยนต์ทั้งสองชนิด จะมีการออกแบบที่แตกต่างกัน อีกทั้งการเผาไหม้ของทั้งสองเชื้อเพลิง ต่างก็ได้เขม่า และสารตกค้างหลังการเผาไหม้ที่ไม่เหมือนกัน น้ำมันเครื่องจึงต้องผสมสารปรุงแต่ง หรือ Additive ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละประเภท ซึ่งสัญลักษณ์การกำหนดมาตรฐานก็จะต่างกัน แล้วแต่ละสถาบันจะเป็นผู้กำหนด

ยกตัวอย่างมาตรฐาน API เพราะถือว่าน้ำมันเครื่องที่วางขายในบ้านเรากว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะใช้มาตรฐานนี้ โดยแสดงเครื่องหมายในรูปของวงกลม (โดนัท) ไว้ข้างกระป๋อง หรือแสดงเครื่องหมายให้เห็นอย่างชัดเจน

มาตรฐาน API
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะมีอักษรนำหน้าว่า S (Service Stations Classifications) เริ่มจาก SA เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องรุ่นเก่าๆสมัยแรกๆ ต่อมาได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนมาตรฐานให้สูงมากขึ้นตามเทคโนโลยี่จนปัจจุบัน SM ถือว่าเป็นมาตรฐานสูงสุด

น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะมีอักษรนำหน้าว่า C (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เริ่มจากมาตรฐาน CA – CB จนในปัจจุบันมาตรฐานสูงสุดของน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคือ CI-4
ส่วนเลข 4 จะหมายถึงกับใช้เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ
ดังนั้นการแสดงค่ามาตรฐานข้างกระป๋อง จะมีการระบุค่าขึ้นต้นด้วย หน่วยงานรับรองมาตรฐาน เช่น API แล้วตามท้ายด้วย อักษรค่ามาตรฐาน เช่นถ้าเป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซิล อักษรนำหน้าจะเป็นตัว S… แล้วตามด้วยว่าถ้านำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีค่ามาตรฐานเป็น C… เป็นต้น อักษรใดขึ้นก่อน ถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เชื้อเพลิงนั้น
น้ำมันเครื่องแต่ละชั้นคุณภาพจะถูกพัฒนามาให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละรุ่น ดังต่อไปนี้

API เบนซิน
เครื่องยนต์ ปี พ.ศ.
API ดีเซล
เครื่องยนต์ ปี พ.ศ.
SA
ใช้กับเครื่องยนต์รุ่นเก่า
ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
CA
ใช้กับเครื่องยนต์รุ่นเก่า
ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
SB
CB
SC
2507 – 2510 และเครื่องยนต์การเกษตรบางรุ่น
CC

ยังใช้กับเครื่องยนต์การเกษตรบางรุ่น
SD
2511 – 2513
CD
ใช้กับเครื่องยนต์ติดเทอร์โบชาร์จ หรืองานหนักได้ ขณะนั้นใช้กับ น้ำมันดีเซลกำมะถันสูง
SE
2514 – 2522
การพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีขนาดเล็กลง กำลังอัด ความเร็วรอบ และอุณหภูมิสูงขึ้น
CE
2526
เริ่มลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่อง
SF
2523 – 2531
CF-4
2533
ใช้กับเครื่องยนต์รอบจัด และ เริ่มเน้นการประหยัดเชื้อเพลิง
SG
2532 – 2536
เริ่มเน้นการประหยัดเชื้อเพลิง
CF
2537
ใช้กับเครื่องยนต์ INDIRECT INJECTION และน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถันสูง
SH
2537 – 2539
CG-4
2537
ใช้กับเครื่องยนต์รอบจัด งานหนัก ความเร็วรอบสูง น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ
SJ
2540 – 2544
CH-4
2541
ใช้กับเครื่องยนต์รอบจัด งานหนัก ความเร็วรอบสูงขึ้น และใช้น้ำมันดีเซลที่มี กำมะถันต่ำ ( ปัจจุบันกำหนดไม่สูงกว่า 0.05 %)
SL

ชั้นคุณภาพสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ เบนซินรุ่นใหม่
ประกาศใช้เมื่อ 1 ก.ค. 2544
CI-4
ชั้นคุณภาพสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล รุ่นใหม่ ที่ผ่านมาตรฐานมลพิษที่เข้มงวดขึ้น
ประกาศใช้เมื่อ 5 ก.ย. 2545

(ขอขอบคุณข้อมูลส่วนนี้จากกรมธุรกิจพลังงาน)

กว่าจะได้เป็นมาตรฐานเขาต้องวัดอะไรกันบ้าง
1.ค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity @ 60o/60oF) ของน้ำมันเครื่องเมื่อใช้แล้ว กับน้ำมันเครื่องก่อนใช้
2.ค่าความหนืด Viscosity Kinematic @ 40oC, cSt. และ Viscosity Kinematic @ 100oC, cSt. เป็นการวัดค่าความหนืดเริ่มต้นที่ 40 องศาเซลเซียส จนถึงอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เทียบค่าออกเมาเป็น Number หรือเบอร์ของน้ำมันเครื่องต่างๆ
3.ค่าดัชนีความหนืด (Viscosity Index - VI) โดยทดสอบดูว่าสารเคมีเพิ่มดัชนีความหนืด ยังคงความสามารถทำให้น้ำมันเครื่องมีความหนืดมากขึ้น หรือความหนืดน้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เปรียบเทียบน้ำมันเครื่องก่อนใช้งาน และหลังใช้งาน
4.จุดวาบไฟ (Flash Point ) น้ำมันเครื่องต้องคงสภาพ ไม่ระเหยเป็นไอ และลุกติดไฟก่อนที่อุณหภูมิกำหนด อยู่ในราว 160 -320 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับความข้นใสของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องเบอร์ใส จะมีจุดวาบไฟ และระเหยกลายเป็นไอ ที่อุณหภูมิต่ำ เป็นเหตุที่น้ำมันเครื่องระเหยตัวเร็ว จุดวาบไฟยังขึ้นอยู่กับฐานการผลิต ของน้ำมันเครื่องพื้นฐานด้วย
5.ปริมาณน้ำ (Water Content) ในน้ำมันเครื่องทั่วไปจะมีน้ำผสมอยู่ เป็นตัวการก่อให้เกิด การทำปฏิกิริยากับ สารป้องกันการสึกหรอ (ZDDP) ทำปฏิกิริยากลายเป็นเชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้ความหนืดของน้ำมันเครื่องเปลี่ยนแปลงเองได้ มาตรฐานน้ำที่ปะปนอยู่ต้องไม่เกินร้อยละ 0.2
6.ค่าความเป็นด่าง (Total Base Number - TBN) ในน้ำมันเครื่องทั่วๆไปจะมีค่าเป็นกรดอยู่เล็กน้อย และเมื่อใช้งานจะเกิดปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจน (Oxidation) กลายเป็นกรดเพิ่มขึ้น และกรดก็มีความอันตรายต่อชิ้นส่วนของโลหะ ดังนั้นสารเคมีเพิ่มคุณภาพ จึงจะมีลักษณะเป็นด่าง และเมื่อใช้งานแล้ว ปริมาณความเป็นด่างจะลดลง เป็นผลโดยตรงกับอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง เรียกว่าค่า TBN (Total Base Number)
7.ปริมาณกากไม่ละลายในเพนเทน (n - Pentane Insoluble) คือค่าการรวมตัวกับออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบยางเหนียว ความหนืดของน้ำมันเครื่องเพิ่มขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสารเพิ่มคุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง

มาดูตัวอย่างการอ่านฉลากข้างกระป๋องน้ำมันเครื่อง
คำอธิบาย
Fully Synthetic = น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แบบเต็มขั้น
SAE 5W-30 = มาตรฐานความข้นใส รับรองโดยสถาบัน SAE เบอร์ 30 ค่าต้านทานความเป็นไข 5W หรือ – 30 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ามาตรฐานรับรองโดยสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM ส่วนถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในระดับ CF เท่านั้น
คำอธิบาย
SAE 10W-40 = มาตรฐานความข้นใสจากสถาบัน SAE เบอร์ 40 ค่าต้านทานความเป็นไขที่ 10W หรือ -20 องศาเซลเซียส
API SM/CF = ค่ารับรองมาตรฐานจากสถาบัน API ในการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิล ในระดับ SM และดีเซลในระดับ CF
PREMIUM GRADE SEMI – Synthetic = เป็นน้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์ เกรดดีเยี่ยม
FOR NGV, LPG & GASOLINE = ใช้ได้กับเครื่องยนต์ แบบใช้แก๊ส NGV หรือ LPG และเครื่องยนต์เบนซิลทั่วไป
คำอธิบาย
SAE 15W-40 = มาตาฐานความข้นใสจากสถาบัน SAE เบอร์ 40 ค่าต้านทานความเป็นไขที่ 10W หรือ -10 องศเซลเซียส
API CH4/SL = มาตารฐาน API สำหรับเครื่ยนต์ดีเซล ระดับ CH4 และเครื่องยนต์เบนซิลระดับ SL
GOBAL DHD1 = มาตรฐานสากลทั่วโลก DHD1
PREMIME GRADE HEAVY DUTY DESEL ENGINE Oil = เป็นเกรดสูง เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลใช้งานหนัก

อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่องเมื่อถูกใช้งานจะเริ่มเสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ เนื่องจากการสะสมของกรด ที่เข้ามาทำลายด่างในน้ำมันเครื่อง การสะสมของน้ำ การปะปนกับฝุ่นผงที่เล็ดลอดมาจากไส้กรองอากาศ คราบเขม่าในการเผาไหม้ และเศษโลหะจากการสึกหรอของเครื่องยนต์ ดังนั้นน้ำมันเครื่องจึงต้องได้รับการเปลี่ยนถ่าย ก่อนที่คุณสมบัติในการหล่อลื่น และคุณสมบัติอื่นจะเสื่อมสภาพ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับเครื่องยนต์ แต่ด้วยคุณสมบัติ และชนิดของน้ำมันเครื่องที่แตกต่างกัน จึงได้มีการตั้งระยะการเปลี่ยนถ่ายไว้ในรูปแบบของค่าเฉลี่ยดังนี้

น้ำมันเครื่องที่ไม่ได้ใช้มีอายุหรือไม่
น้ำมันเครื่องส่วนมากมีวัตถุดิบ มาจากน้ำมันแร่ที่ได้มาจากธรรมชาติ แม้จะมีสารเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ แต่ก็สามารถบูดเสียได้ น้ำมันเครื่องที่บรรจุอยู่ในแกลลอนวางขาย และยังไม่ได้เปิดใช้ จะมีอายุการคงสภาพอยู่ที่ 1- 3 ปี ส่วนน้ำมันเครื่องที่เปิดฝาแล้ว จะมีอายุการใช้งานอยู่หลักเดือน ราว 2 – 6 เดือน ส่วนน้ำมันเครื่องที่เปิดฝา แล้วไม่ได้ปิดฝาจะถือว่าใช้งานไม่ได้

สังเกตอย่างไรว่าน้ำมันเครื่องที่ใช้อยู่เริ่มหมดสภาพ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งต้องมีการจดบันทึก วันที่ เดือน ปี และเลขไมล์กิโลเมตร ไว้ด้วยทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นการคำนวณกำหนดการเปลี่ยนถ่าย แต่เราเองยังสามารถสังเกตการณ์ทำงานที่เปลี่ยนไปของ ความหล่อลื่นน้ำมันเครื่องที่เริ่มเสื่อมสภาพได้เช่น
1 เสียงเครื่องยนต์ดังขึ้น
2. อัตราเร่งแย่ลง อืดลงอย่างต่อเนื่อง
3. กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น
4. สีของน้ำมันเครื่องเปลี่ยนไป
5. น้ำมันเครื่องมีลักษณะข้นขึ้น หรือใสขึ้น

กำหนดการเปลี่ยนถ่ายของน้ำมันเครื่องที่ปลอดภัย
น้ำมันเครื่องธรรมดา เกรด SA – SC / CA – CE
จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 3,000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 5,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เกรด SG – SM / CF4 – CG4
จะมีกำหนดการเปลี่ยนถ่ายที่ 5,000 กิโลเมตร ถึง 1,0000 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 15,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องธรรมดา และกึ่งสังเคราะห์ + หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเกรดสูง
น้ำมันเครื่องที่ผสมหัวเชื้อ อาจมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน อายุน้ำมันเครื่องจะเพิ่มจาก 5,000 กิโลเมตร ได้เป็นกว่า 10,000 กิโลเมตร หรือถ้าเป็นกึ่งสังเคราะห์จะเพิ่มอายุการเปลี่ยนถ่าย ที่ 10,000 กิโลเมตร เป็นได้กว่า 20,000 กิโลเมตร แต่ด้วยอายุของไส้กรอง จึงมีค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนถ่ายที่ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เกรด SJ - SM / CH4 - CI4
จริงแล้วน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีอายุการใช้งานยาวนานนับแสนกิโลเมตร แต่อายุการใช้งานของไส้กรองน้ำมันเครื่องแบบมาตรฐานทั่วๆไป จะอยู่ได้ราว 15,000 กิโลเมตร ถึง 20,000 กิโลเมตร จึงทำให้กำหนดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ควรอยู่ที่ 10,000 กิโลเมตร ถึง 20,000 กิโลเมตร

ค่าเฉลี่ยกำหนดการเปลี่ยนถ่ายของน้ำมันเครื่อง อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เร็วกว่ากำหนด ตามสภาพการใช้งานดังนี้
1.ขับรถลุยน้ำในระดับที่สูง ซึ่งอาจคาดว่าจะมีน้ำปะปนเข้าสู่เครื่องยนต์ได้
2.ใช้งานประเภทสมบุกสมบัน รถยนต์ในที่ใช้ในทางฝุ่น อยู่เป็นประจำ
3.ในหน้าฝน ที่ต้องใช้รถขับลุยสายฝนอยู่เป็นประจำ หรือขับรถลุยน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
4.เครื่องยนต์หลวม ซึ่งมีการระเหยของน้ำมันเครื่องสูง และมีเขม่าเล็ดลอดเข้ามาปะปนอยู่มาก
5.เครื่องยนต์รอบจัด ที่ต้องใช้งานรอบจัดอยู่เสมอ ความร้อนสูง และต้องการให้ชิ้นส่วนสึกหรอน้อยที่สุด
6.เครื่องยนต์ที่ติดตั้งกรองเปลือย ที่คาดว่าจะฝุ่นผงปะปนเข้าสู่เครื่องยนต์ได้มากกว่าปกติ
7.เครื่องยนต์ที่ต้องการความเร็วสูงสุด อย่างพวกรถแข่ง ซึ่งต้องมั่นใจได้ว่า คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องต้องไม่ลดลงแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว


ที่มา http://www.thaispeedcar.com/010808-engineoil.htm