ในบทความนี้ ขอพูดถึงเพียงแค่ 2 Brand นะครับ เพราะเป็น Brand ชั้นนำในตลาด ก็เป็นเบอร์ 1 กับ 2 ของโลกนี้ในตลาด Blade นั้นแหละ ในหลัก Marketing แล้วคนมักไม่จดจำเบอร์ 2 หรือเบอร์ 3 แต่จะจำได้เฉพาะเบอร์ 1 อิอิ แต่ด้วยการที่ 2 brand นี้ก็จะเหมือนมีแฟนพันธ์แท้ของเขาเองก็มาดูกันว่ามันแตกต่างกันอย่างไร
HP Blade นั้นเรียกตู้ว่า Enclosures โดยใช้ชื่อเป็นทางการว่า BladeSystem นั้นเอง HP BladeSystem นั้นถือกำหนดมาในปี 2001 โดยใช้ชื่อว่า PC-Blade ทำมาเพื่อให้ Hosting ใช้งานกัน เพราะ 1 เครื่องใส่ได้มากถึง 20 เครื่องในขนาดเล็ก เรามาดูกันเลยดีกว่าว่า ข้อดี ข้อเสียของ Blade HP นั้นมีอะไรบ้าง
ข้อดี / จุดแข็ง
- Power Supply ใช้ Module เดียวกับ Rack : จริงๆแล้วมีส่วนหนึ่งที่ใช้เหมือนกันก็คือ Power Supply บน Rack พวก ProLiant DL380 , ML350 , Blade C3000 ทำให้สะดวกในการหาอุปกรณ์
- มี Option ให้เลือกใส่จำนวนมาก : ถ้าเทียบแล้ว HP นั้นในตู้ Enclosures ของเขานั้น จะสามารถเลือก Module Storage ใส่ลงไปได้ ในขณะที่ IBM ไม่มี หรือมีแต่ไม่ได้ดูดี และยังสามารถใส่ Module Tape Back ลงไปได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็น Option เสริมในตู้ Blade ที่ใส่ได้หลากหลายกว่า
- มีความใหม่กว่า : ต้องบอกว่ามีความใหม่กว่า เพราะว่า HP นั้นมีการเปลี่ยนตู้ Enclosures ของตัวเองมาเป็นซี่รี่ เรื่อยๆ ซึ่งพัฒนาบนเทคโนโลยี่ล่าสุด ทำให้ตู้ของ HP นั้นจะมี LED บอก Status มีความ Flexible ในการใส่ Option ต่างๆไม่ว่าจะ Storage / Tape ไปใส่ไว้ใน Series ขนาดใหญ่ระดับ C7000
- Power Supply ดูดีกว่า : ที่บอกในที่นี้ ก็เพราะว่า HP เคลมว่าเขาได้รางวัล Energy Star คือ สามารถสร้างค่าความสูญเสียได้น้อย นั้นคือ การที่ไฟเสียบเข้า Power Supply
- FAN Standby : ระบบการทำงานของพัดลม และ Power Supply ของ HP นั้นจะทำงาน Standby ไม่ได้อยู่ใน Mode วิ่งแต่วิ่งน้อย แต่ใช้การ Standby แทน ในลูก หรือ ตัวที่ไม่ได้ใช้งาน ทำให้ประหยัดพลังงานไปได้พอสมควรทีเดียว
- FAN Turbo JET : HP ชูจุดแข็งที่ว่า พัดลมเขาใช้การทำงานเหมือนเครื่องบินคือ เสมือนมี 2 พัดลมซ้อนอยู่ในตัวเดียว โดยอีกตัวนึง จะค้างอยู่ด้านในในทิศทางที่สวนกันกับตัวหลักที่หมุน ทำให้แรงลมนั้นทำงานได้ดียิ่งขึ้น ก็เป็นจุดแข็งอีกจุดนึง แล้วพัดลมมีขนาดเล็กมาก แต่ให้แรงที่ใช้งานได้ดีทีเดียว ยกเว้นเสียแต่ว่ามันต้อง Move ไปตามหลังเครื่องที่ใส่เท่านั้น ดูแปลกๆหน่อย
IBM Blade Server หรือเรียกตู้ว่า Chassis โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า BladeCenter ถือกำหนดมาในยุคแรกในปี 2001 ด้วยชื่อว่า BladeCenter E ในปัจจุบัน ก็ยังคงมี BladeCenter E อยู่แล้วสามารถใช้กับเครื่องปัจจุบันได้ด้วย อ่ะ เรามาดูข้อดีข้อเสียกัน
ข้อดี / จุดแข็ง
- Blade Server ใช้ได้บนทุกตู้ แม้ตู้เก่า : นี่เป็นจุดเด่นที่ IBM ชูมาตลอด เพราะเป็น Blade ยี่ห้อเดียวที่ทำให้ Blade Server รุ่นใหม่ หรือ รุ่นเก่า Compatible กับตู้ BladeCenter รุ่นเก่า รุ่นใหม่ ใส่ร่วมกันได้หมด ตั้งแต่ซี่รี่แรก จนซี่รี่ล่าสุด โดยสถาปัตยกรรมของตู้ IBM ถือว่าคิดมาดีแล้ว จึงไม่มีการทำ Upgrade อะไรมากมาย ผิดกับยี่ห้ออื่นที่เปลี่ยนมาทุกๆ 3 ปี ทำให้ลูกค้าที่ลงทุนซื้อตู้ Blade ไปแล้ว ไม่สามารถซื้อเครื่องได้เต็มตู้ เมื่อเปลี่ยนรุ่น หรือ หากจะเพิ่ม ปรับในอนาคตทำไม่ได้
- มีครบถ้วนใน Server Blade : Blade Server ของ IBM นั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่เครื่อง 1CPU 2CPU หรือ 4CPU รวมไปถึง WorkStation Server ล่าสุดมี Cell Server ขึ้นมาอีก สำหรับประมวลผลงานระดับสูง แล้วยังมี Power System สำหรับเครื่อง Unix ที่ทำ Virtualization ด้วย แสดงว่าครบถ้วนจริงๆในซี่รี่ที่แทน Rack ได้ทั้งหมด
- น้ำหนักเบา : ข้อนี้หลายคนอาจจะไม่เห็นความสำคัญ แต่ต้องบอกได้เลยครับว่า Blade Server IBM นั้นเบาว่าทุกยี่ห้อในโลกนี้ ผ่านการยกมาแล้ว น้ำหนักต่อเครื่องนั้นผู้หญิงยกได้ ขนาดใกล้เคียง Notebook มาก ถ้าเทียบกับ Brand คู่แข่งทั้ง HP & DELL ซึ่งน้ำหนักนั้นอลังการมาก คุณไม่สามารถยกทั้งตู้พร้อมเครื่องได้ในคน 3 คน แต่ IBM พร้อมตู้ และเครื่องเต็มตู้นั้น 2 คนก็ยกได้แล้ว ทำให้การ M/A นั้นง่ายขึ้น ยิ่งเฉพาะ Data Center ที่ชั่งน้ำหนักก่อนเข้าอย่าง CS-Loxinfo นั้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ในตู้ Blade ด้วยก็มีน้ำหนักไม่มาก
- Power Consumtion : ตัว KVM Module สามารถที่จะทำให้ Server ทำงานน้อยลงได้เพื่อให้กินไฟได้น้อยลง ฟีเจอร์นี้จะช่วยมาก กรณีที่ไฟดับ แล้วเครื่องต้องใช้ UPS สำรอง ซึ่งเราคงอยากให้ Server ทำงานได้ต่อไปมากกว่าทำงานเต็มประสิทธิภาพแต่ว่ากินไฟมาก เพื่อลดระยะเวลาการสำรองไฟไปด้วย
- FULL Redundantcy : IBM เป็นเจ้าเดียวที่พูดถึงเรื่อง Redundant ทุกอย่าง ตั้งแต่ Mid-plain ที่มีจุดเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง Server กับแผงวงจรด้านหลัง 2 จุด บน-ล่าง แต่ยี่ห้ออื่น กลับเชื่อมต่อเพียงแค่จุดเดียว แม้บางยี่ห้อมี 2 จุดแต่ก็แยกจุดการทำงาน ไม่ได้ Redundant อย่างสมบูรณ์แบบ หรือแม้กระทั้งพัดลม IBM ก็ใช้พัดลมทำ Redundantcy แต่คู่แข่งใช้การวางตำแหน่งพัดลมตามตำแหน่งของเครื่องที่ใส่ตาม slot นั้นๆ ดังนั้นหากมีการ Fail ก็ต้องใช้มือเปลี่ยนตำแหน่งพัดลมให้อยู่หลังเครื่องที่เสียบ Slot ใช้งาน ก็ถือว่าไม่ Redundant เท่าไร
- FAN ยิ่งใหญ่ อลังการ : พัดลมของ IBM หรือเรียกในศัพท์ IBM ว่า Blower นั้นเอง มีความยิ่งใหญ่ ขนาดใหญ่ ได้ใจทีเดียว ซึ่งเป็น Full reduntdant เพราะตำแหน่งที่วางนั้นครอบคลุมทั้งตู้อยู่แล้ว แล้วทำงานตามความร้อนของเครื่อง โดยปกติที่ 22-23 องศา พัดลมจะทำงานเพียงแค่ 55% แต่หากมีอุปกรณ์บางอุปกรณ์ Fail พัดลมจะทำงานหนักขึ้น เสมือนการ Alert ให้เจ้าหน้าที่ทราบว่า ช่วยมาดูฉันที ฉัน Fail 5555 เพราะมันชั่งดังเหลือเกิน เกินกว่า IT จะ ignore มันไป ก็ยอมรับว่าใหญ่ได้ใจ ไม่ต้องโม้เยอะว่าแรง เพราะขนาดมันบ่งบอกอยู่แล้ว
- อุปกรณืแต่ละ Chassis Share กันได้ : นี่เป็นอีกจุดเด่นนึงที่หลายคนชอบ รวมทั้งผมด้วย ที่อุปกรณ์ต่างๆบน Module IBM นั้น Share กันได้ ตั้งแต่ Blade Server รุ่นๆเก่าๆ ใส่ได้ในตู้ใหม่ๆ หรือ Blade Server รุ่นใหม่ๆ ใส่ได้ในตู้เก่าๆ หรือ หากตู้เราใช้งานมานาน เราจะ M/A เพิ่ม Power Supply ใหม่ไปก็ใส่แล้วได้ใช้กันหมดเพราะ Full Redundantcy ของเก่าอาจจะขนาด 1300Watt ของใหม่ออกมา 2000Watt ใส่ไปทีเดียวก็ได้ใช้ทั้งตู้ ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใดๆ หรือ SAN Module / Switch Module ก็นำไปสลับใช้งานกันไปมาได้ แต่ก็มีบาง Module ที่เฉพาะแต่ละซี่รี่ เพราะจะแตกต่างกันบนความเป็น High-end เช่น 10Gbp Infiniband ก็ต้องใช้ H เป็นต้น เพราะ E ,S ยังไม่ได้รองรับ หรือ Module บางอย่างที่ทำให้ตู้ต่อ Storage กันภายในก็ต้องใช้กับ S เท่านั้น แต่ต้องบอกว่าอุปกรณ์กว่า 70-80% ทีเดียวที่ Share กันใช้ไปมาได้ ไม่เสียของ
ที่มา http://www.2beshop.com/compaBrandBlade.php