วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อน่ารู้ เกี่ยวกับการติดแก๊สรถยนต์


 





1. ก๊าซ Liquefied Petroleum Gas (LPG) คือ อะไร
          ก๊าซ (LPG) หรือก๊าซหุงต้ม มีชื่อเป็นทางการว่าก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว liquefied petroleum gas เรียกย่อ ว่า (LPG) ก๊าซ (LPG) เป็นสารประกอบ ของ โพรเพน และบิวเพน
2. แก๊ส (LPG) มีที่มาอย่างไร
          ก๊าซ (LPG) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน หรือ การแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 
  • ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน (Methane) เป็น ส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ การขนส่งไปยังผู้ใช้จะขนส่งผ่านทางท่อในรูปก๊าซภายใต้ ความดันสูง จึงไม่เหมาะสำหรับการขนส่งไกลๆ หรืออาจบรรจุใส่ถังในรูปก๊าซธรรมชาติอัดโดยใช้ความดันสูง หรือที่เรียกว่า CNG แต่ปัจจุบันมีการส่งก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวโดยทำก๊าซให้เย็นลงถึง –160 องศา เซลเซียส จะได้ของเหลวที่เรียกว่า Liquefied Natural Gas หรือ LNG ซึ่งสามารถขนส่งทางเรือไปที่ไกลๆ ได้ และเมื่อถึงปลายทางก่อนนำมาใช้ก็จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลับเป็นก๊าซ อย่างเดิม ก๊าซธรรมชาติมีค่า ออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้
  • ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่า และมีค่าออกเทนสูงถึง 105 RON

3. ทำไมถึงมีการนำก๊าซมาใช้ในรถยนต์
          มีหลายสาเหตุที่ทำให้มีการนำก๊าซมาใช้ในรถยนต์ คือ
          ก. ปริมาณน้ำมันดิบที่เหลือน้อยลง
          ข. ปัญหาของโลกที่ร้อนขึ้น สภาวะเรือนกระจกที่เกิดจากสารคาร์บอนมอนออกไซด์ อันเป็นผลมาจากการเผาไหม้
          ประกอบกับแนวคิดที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการคิดค้นหาพลังงานทดแทนที่ ?ถูกและดี? กว่า
          พลังงานน้ำมัน
          ค. และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ในปัจจุบันราคาน้ำมันเบนซินมีราคาที่สูงขึ้น
4. ในประเทศไทยมีการน้ำก๊าซ LPG มาใช้เป็นพลังงานในรถยนต์เมื่อใด
          ในประเทศไทยเริ่มต้นใช้ก๊าซ LPG มาใช้เป็นพลังงานในรถยนต์ในปี พ.ศ. 2513 หรือ (36ปี) แต่ได้รับความนิยม
          อยู่ในกลุ่มรถยนต์สาธารณะ ส่วนปัจจุบันความนิยมที่รถยนต์ส่วนบุคคล ได้เปลี่ยนมาใช้พลังงานก๊าซมากขึ้น เห็น
          จะเป็นเพราะราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
5. ในอดีต มีปัญหาอะไร ที่การติดตั้งก๊าซไม่เป็นที่นิยมในรถยนต์ส่วนบุคคล
          เรื่องของกลิ่นเหม็น เรื่องของสุขภาพของคนในรถ รวมถึงกลัวเรื่องอุบัติเหตุ ทำให้ไม่มีการใช้ ก๊าซ (LPG) และ
          (NGV) กันอย่างแพร่หลายในระยนต์ส่วนบุคคล เรื่องของราคาน้ำมันที่มีราคาที่ ต่างไปจากราคาก๊าซ เพียงเล็งน้อย
6. ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไร
          ปัญหาต่างๆเกิดจากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานและเสื่อมคุณภาพ (อุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นของเก่า) รวมถึงยัง
          ขาดความชำนาญในการติดตั้งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาทั้งอุปกรณ์ ความรู้ และประสบการณ์
          การติดตั้งที่มากขึ้น จนสามารถติดตั้งก๊าซรถยนต์ได้เป็นอย่างดี
7. ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas For Vehicle (NGV) คืออะไร           
ก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่มีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้เช่นเดียว
          กับน้ำมันเบนซินและดีเซล ก๊าซ NGV คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกอัดจนมีความดันสูง (มากกว่า 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว
          ม psi) คุณสมบัติพิเศษของก๊าซ NGV คือ มีสัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และเป็นก๊าซที่ทำให้
          การเผาไหม้สมบูรณ์มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดเอื่น มีปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ ต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิด
          อื่น และ NGV ยังเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดควันดำหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
          จึงสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งนับวันจะรุ่นแรง มากขึ้น ก๊าซ (NGV) บางครั้งเรียกก๊าซนี้ว่า (CNG)
          Compressed Natural Gas หรือก๊าซธรรมชาติอัด
8. ในประเทศไทยมีการน้ำก๊าซ (CNG)มาใช้เป็นพลังงานในรถยนต์เมื่อใด           
ในประเทศไทยเริ่มทดลองใช้ก๊าซ CNG มาใช้เป็นพลังงานในรถยนต์ในปี พ.ศ. 2527 โดยใช้ในรถโดยสารของ
          ขสมก. และสามล้อเครื่องแต่ยังไม่มีความแพร่หลายเนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการดัดแปลงเครื่องยนต์ เนื่องจากในปี
          2527 น้ำมันยังมีราคาถูกอยู่
9. ก๊าซ (LPG) และ (NGV) เป็นพลังงาน ที่ใช้ในรถยนต์ได้อย่างไร
          จริงแล้วน้ำมันเบนซินเป็นของเหลว แต่ในการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ น้ำมันจะต้องมีการเปลี่ยนสถานะจากของ
          เหลวเป็นไอเสียก่อนจึงจะผสมกับอากาศเป็นส่วนผสมที่เรียกว่า ?ไอดี? ส่วนการใช้ (LPG) และก๊าซ (NGV)
          ก๊าซจะถูกดูดเข้าเครื่องยนต์ใสสถานะไอที่ผสมกับอากาศรวมเป็นส่วนผสมที่เรียกว่า ?ไอดี? เช่นกัน ค่าออกเทน
          ของก๊าซ (LPG) มีค่าอยู่ประมาณ 105 RON ก๊าซ (NGV) มีค่าออกเทน 120 RON ก๊าซทั้งสองชนิดมีค่าออกเทน
          ที่ใกลเคียงกับน้ำมันเบนซิน จึงนำมาดัดแปลงใช้กับเครื่องยนต์ที่กำหนดให้ใช้เบนซินออกเทน 91,95 ได้
10. ทำไมเครื่องยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้ก๊าซ (LPG) ก๊าซ (NGV) มักจะมีปัญหาเรื่องเสียงดังของวาล์ว บ่าวาล์วทรุด และบ่าวาล์วรั่ว
          การเผาไหม้ของก๊าซ (LPG) จะให้ค่าความร้อนสูงประมาณ กว่า 400 °C การเผาไหม้ของก๊าซ (NGV) จะให้ค่า
          ความร้อนสูงประมาณ กว่า 500 °C : ซึ่งสูงกว่าการใช้พลังงานน้ำมันเบนซินถึงกว่า 2 เท่า ความร้อนจะทำให้โลหะ
          ชิ้นส่วนของบ่าวาล์วนิ่มและอ่อนตัว ส่งผลให้เกิดการสึกหรอได้อย่างรวดเร็ว น้ำมันเบนซิน จะมีสารปรุงแต่ง (Additive)
          จำพวก สารปกป้องบ่าวาล์ว สารหล่อลื่น สารชะล้างต่างๆ เมื่อเกิดการเผาไหม้ ไอของน้ำมันจะเคลือบอยู่ที่ชิ้นส่วนต่างๆ
          ของบ่าวาล์ว สามารถรับแรงกดแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี ส่วนพลังงานก๊าซไม่สามารถปรุงแต่งใดๆ ได้ ไอดีของก๊าซ
          มีลักษณะเป็นไอที่แห้ง ไม่มีสารเคลือบบ่าวาล์ว ทำให้การสึกหรอจากการปิด ? เปิดของวาล์ว เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
          ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับค่าความร้อนสูงถึงความร้อนของ ก๊าซ (LPG) และ ก๊าซ
          (NGV) จึงทำให้เครื่องยนต์ที่ถูกดัดแปลงมาใช้พลังงานก๊าซเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว
11. เราสามารถใช้น้ำมัน 2T (AUTO LUBE) มาใช้ในการเลี้ยงวาล์วเพื่อป้องกันการสึกหรอของบ่าวาล์วได้หรือไม่           
ก่อนอื่นต้องขอชมเชยท่านที่คิดค้นและพยายามนำเอาน้ำมัน 2 T ที่ใช้ในการหล่อลื่นในกระบอกสูบของเครื่องยนต์
          2 จังหวะ โดยท่านได้ทรายถึงปัญหาของบ่าวาล์วและได้มีการแก้ไขโดยใช้วิธีเดียวกับมอเตอร์ไซ และถ้าจะถามว่า
          ใช้ได้ผลหรือไม่ ให้พินิจพิจารณาดูจาก

           ก. เครื่องยนต์ที่ใช้ น้ำมัน 2 T เป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะมีรอบกาจจุดระเบิดทุกรอบ แต่เครื่องยนต์ในรถยนต์ เป็น
           เครื่องยนต์ 4 จังหวะ เครื่องยนต์หมุน 2 รอบแต่มีการจุดระเบิด ให้กำลังงาน 1 รอบ

           ข. เครื่องยนต์ 2 จังหวะและ 4 จังหวะ มีการออกแบบวาล์วไอดีและไอเสียที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมไปถึง
           ลักษณะของแหวนลูกสูบ กล่าวคือ วาล์วของเครื่องยนต์ 2 จังหวะมักจะมีการออกแบบเป็นลักษณะของช่องพอร์ด
           โดยใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิด-ปิดวาล์วไอดีและไอเสีย
           ส่วนเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีวาล์วไอดีไอเสียเป็นลักษณะของดอกเห็ด อยู่ส่วนบนของกระบอกสูบ เปิดปิดโดย
           ใช้เพลาลูกเบี้ยวเป็นตัวเปิด-ปิด
           ค. การออกแบบน้ำมัน 2T ก็ได้มีการออกแบบให้มีลักษณะและองค์ประกอบของน้ำมันในเรื่องของการเผาไหม้
           และการหล่อลื่น ลูกสูบกับกระบอกสูบ และให้ใช้กับเครื่องยนต์ 2 จังหวะที่มีรอบการทำงานที่จัดกว่า เครื่องยนต์
           4 จังหวะ

           ง. อย่างไรก็ดีเครื่องยนต์ 2 จังหวะเมื่อมีการใช้ไปสักระยะหนึ่งก็มักจะต้องพบกับปัญหาเรื่องการสะสมเขม่า
           การอุดตัน หัวเทียนบอด และอื่นๆตามมา

           จ. ปัจจุบันมีการพบรถยนต์ที่ดัดแปลงมาใช้ก๊าซพร้อมกับมีการใช้น้ำมัน 2 Tมาเลี้ยงวาล์ว แล้วเกิดความเสียหาย
           ตั้งแต่อาการบ่าวาล์วรั่ว หัวลูกสูบทะลุหนักไปจนถึงจะต้องมีการผ่าเครื่องมาซ่อมบำรุงกันยกใหญ่ แต่ในขณะเดียว
           กันก็ยังมีผู้ที่ใช้ 2T เลี้ยงวาล์วแล้วก็ยังบอกว่าไม่มีปัญหาใดๆ

           ฉ. ในต่างประเทศที่มีการใช้ก๊าซเป็นพลังงานแทนน้ำมันเบนซิน จะไม่มีการใช้ น้ำมัน 2 T มาเลี้ยงวาล์ว เพราะ
           ทราบถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อเครื่องยนต์แล้วไอพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังก่อไห้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
           ปัจจุบันในรถมอเตอร์ไซดิ์ได้มีการยกเลิกการใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะเพราะตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวด
           ล้อมนั้นเอง
12. การสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเบนซินและใช้น้ำมันสักพัก จะสามารถช่วยเลี้ยงวาล์วได้หรือไม่
            การสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันเบนซินจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่ายการสึกหรอ จะน้อยกว่าการสตาร์ทด้วย
            ก๊าซ ส่วนการใช้น้ำมันเบนซินเลี้ยงวาล์วนั้น ยังไม่เคยมีการทำการทดสอบอย่างเป็นทางการ เป็นเพียงแต่ข้อ
            สันนิฐาน แต่การใช้น้ำมันเบนซินให้บ่อย และนานขึ้นในช่วงก่อนออกรถและก่อนที่จะทำการดับเครื่องยนต์ ก็จะ
            มีส่วนช่วย ให้ไอน้ำมันเบนซินเข้ามาช่วยชะล้างเขม่าหรือขี้เถ้าที่เกิดจากการสันดาปด้วยก๊าซได้ อย่างไรก็ดีทัน
            ที่มีได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซแทนน้ำมันเบนซิน ก็มีแนวคิดในเรื่องของ ความร้อนที่เกิดจากการสันดาปด้วย
            ก๊าซที่ให้ความร้อนที่สูงกว่าน้ำมัน ดังนั้นไอน้ำมันเบนซินที่เคลือบไว้ตามส่วนต่างๆของวาล์วก็จะถูกความร้อนของ
            ก๊าซเผาไหม้ไปไนเวลาต่อมานั้นเอง จึงพิจารณาได้ว่าการเลี้ยงวาล์วด้วยน้ำมันเบนซินไม่น่าจะได้ผลดีเท่าที่ควร
            (ในจังหวะอัด ก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่จุดศูนย์ตายบนเพียงเล็กน้อย หัวเทียนจะจุดประกายเผาไหม้ส่วนผสม
            ไอดีให้ลุกไหม้ ทำให้เกิดพลังงานแรงดันสูงประมาณ 30 ถึง 60 บาร์ และให้ ความร้อนสูงสุด 2000 ถึง 2500 อง
            ศาเซลเซียส และจะลดลงประมาณ 900 ถึง 800 องศาเซลเซียสเมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงสู่จุดศูนย์ตายล่าง)

13. ไอของน้ำมันเครื่องมีส่วนช่วยเลี้ยงวาล์วได้หรือไม่              
ก่อนอื่นต้องขอถามว่า ไอน้ำมันเครื่องคืออะไร
             ไอน้ำมันเครื่องที่เราเห็นคือ ไอเสียที่ตกค้างจากการ เผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ เป็นแก๊สไอเสีย จะถูกระ
             บายออกจากเครื่องยนต์ผ่านลิ้นไอเสีย จะมีประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ตกค้างจากการเผาไหม้ประมาณ
             20-30 เปอร์เซ็นต์จะเป็น คาร์บอน ซัลเฟอร์ และน้ำ ตกค้างอยู่ในกระบอกสูบ และเมื่อรวมตัวกันจะเกิดเป็นกรด
             กำมะถัน ทำปฏิกิริยากับน้ำมันเครื่อง จะเกิดแก๊สพิษและโคลนตรงกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของ เครื่องยนต์ และ
             เป็นเหตุให้น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพโดยเร็ว ดังนั้นจึงต้องมีการต่อท่อ ระบายแก๊สให้ออกไปจากเครื่องยนต์
             โดยนำไอเสียนี้กลับเข้ามาเผาไหม้ใหม่อีกครั้ง เพื่อลดมลภาวะอากาศเป็นพิษ (เป็นกฎข้อบังคับในการกำจัด
             ไอเสียที่เป็นพิษ) และช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง
             ดังนั้นจึงตอบได้ว่า วิศวกรได้ออกแบบระบบไอน้ำมันเครื่องโดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อนำไอน้ำมันเครื่องมาเลี้ยง
             วาล์วโดยตรง แต่ดูจากระบบแล้ว ไอของน้ำมันเครื่องก็หน้า จะมีส่วนช่วยในการป้องกันการสึกหรอของวาล์วได้
             ไม่มากนัก
14. จะมีวิธีป้องกันปัญหาเรื่องเสียงดังของวาล์ว บ่าวาล์วทรุด และบ่าวาล์วรั่วหรือไม่               เครื่องจักรทุกชนิดที่มีการเคลื่อนที่เกิดการเสียดสี เกิดการกระแทก ก็ย่อมเกิดการสึกหรอเป็นธรรมดา แต่สำ
              หรับเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซจะมีการสึกหรอมากขึ้นกว่าปกติ ก็เนื่องมาจากความร้อนที่เกิดขึ้นมากกว่า
              นั้นเอง ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาให้หมดไปนั้นจึงไม่สามารถทำได้ แต่หากจะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงไปได้บ้าง
              ก็พอจะมีวิธีแนะนำอยู่บ้างเช่น
              - อัตราการสึกหรอของบ่าวาล์วจะลดลงได้ถ้าหากใช้ความเร็วต่ำ

              - ไม่ขับขี่รถยนต์ในเวลาที่มีอากาศร้อนจัดเป็นระยะทางไกล โดยไม่มีการพัก มีการใช้รถอย่างต่อเนื่องแต่ไม่
              ควรเกิน 1 ? 2 ชั่วโมง

              - ควรสลับมาใช้น้ำมันเบนซินในสัดส่วน 1 ต่อ 10 ของการใช้งานจริง

              - ดูแลเรื่องระบบระบายความร้อน ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ และพัดลมให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่อุดตัน และควรใช้
              ผลิตภัณฑ์จำพวกน้ำยาหม้อน้ำควบคู่ไปด้วย

              - ควรใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืด (SAE) ที่สูงขึ้น
             
              - ในส่วนของน้ำมันที่ใช้สำหรับเลี้ยงวาล์ว ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีคุณสมบัติในการใช้งานโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ผลิต
              ได้มีการศึกษาถึงคุณสมบัติที่ใช้งานโดยเฉพาะ ก็จะแก้ปัญหาของการสึกหรอของบ่าวาล์วได้โดยตรงแล้ว จะ
              ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเครื่องยนต์ และสิ่งแวดล้อม ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทดแทนโดยปราศจากความเข้าใจ
              ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพราะนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลดีแล้วยังจะส่งผลเสียให้กับเครื่องยนต์ตามมาอีกด้วย

มาตรฐานในการติดตั้งแก๊สรถยนต์เบื้องต้น
  1. อัตราการเร่งต้องไม่ต่างจากน้ำมัน
  2. มีกล่องหลอกหัวฉีด
  3. น้ำมันไม่หายไปจากถัง เวลาใช้แก๊ส
  4. ไม่โชว์ Error ต่างๆ ที่หน้าปัดรถยนต์
  5. ถังแก๊ส ต้องเป็นถังใหม่ เพื่อความปลอดภัย
  6. หม้อต้ม หากเป็นมือ2 ต้องเปลี่ยนผ้าใหม่แล้ว
  7. ต้องมีใบวิศวกรให้( หรือเปล่า )
  8. ต้องมีการตรวจเช็คหลังการติดตั้งให้ รับประกันอย่างน้อย 1 ปี มีใบรับประกันจากอู่ว่าประกันค่าแรงและอะไหล่
  9. การเดินสายไฟ หรือท่อต่างๆ ต้องมีการหุ้มป้องกัน
  10. สามารถปรับไปใช้น้ำมัน/แก๊ส ขณะเครื่องติดได้
  11. การ Start สามารถเลือกได้ทั้งแก๊ส และ น้ำมัน โดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเครื่อง
  12. ไม่มีกลิ่นแก๊สเข้ามาในรถยนต์
  13. งานติดตั้งภายในเรียบร้อย ไม่มีสายไฟระเกะ ระกะ
  14. เจ้าของอู่ไม่ขูดเลือดมากเกินไป
  15. ต้องป้องกันไม่ให้ระบบหม้อน้ำมีปัญหา
  16. เกย์วัดระดับแก้สในรถต้องตรงหรือใกล้เคียง
  17. อู่ที่ติดตั้งระบบแก้สต้องทดสอบการใช้น้ำมัน และยอมรับว่ารถมีสภาพปกติก่อนติดแก้ส
  18. มีฟิวส์ตัดระบบที่เจ้าของรถถอดได้ เพื่อไปใช้ระบบน้ำมันในกรณีที่ระบบแก้สมีปัญหา และระบบตัดสวิทช์ไม่ทำงาน
  19. การเจาะรูสองรูเพื่อเดินสายแก้สที่ตัวถังห้องเก็บของ ต้องมีการซีลอย่างดี ป้องกันไม่ให้น้ำหรืออากาศเข้า ด้านล่าง
  20. ต้องสอนให้เจ้าของรถรู้วิธีดูแลระบบแก๊สเบื้องต้น และสามารถปรับจูนด้วยตนเองได้ ถ้าเป็นระบบ Mixer
  21. ใบรับรองไอเสีย Emission จะต้องปรับให้อยู่ในเกณฑ์ของกรมการขนส่ง หรือไม่เกินตอนใช้น้ำมัน เพราะขนส่งจะเข้มงวดและยกเลิก ตรอ ที่รับเงินแล้วปล่อยผ่าน ตอนนั้น ระบบ Mixer จะได้มีการปรับปรุง
  22. สะอาด ไม่เอามือสกปรก ไปจับเบาะ หรืออุปกรณ์ภายในรถ
  23. ติดตั้งกรองแก๊ส
  24. ใช้สายอ่อน เป็นสายเติม ไม่ใช่ใช้ท่อทองแดง
  25. มีการทดสอบ วาล์วเติม ว่าสามารถทำงาน ปกติ ในขณะที่ท่อขาด ให้เจ้าของรถดูได้
  26. ใช้ท่อหุ้มท่อทองแดงชนิดหนา ทนทานต่อการ ขูดขีด และการกระแทก
  27. ต้องเดิน ท่อทองแดง ไว้ใต้ท้องรถ โดยห่างจากแหล่งความร้อนเช่น ท่อไอเสีย และไม่ตำกว่าจุดตำสุดของรถ เพื่อป้องกันการกระแทก จากใต้ท้อง
  28.  การดัดท่อภายในห้องเก็บสัมภาระ (ที่ถังแก๊ส) ต้องมีความสมมาตร สั้นยาวแต่ละข้างควรเท่ากัน ไม่ดูเกะกะ
  29. พยายามติดตั้งหัวเติมในที่มิดชิด ได้ไม่โผล่ออกมามากแบบแท็กซี่
  30. ถ้ารถเป็นระบบหัวฉีด ควร มีระบบชดเชยรอบแอร์ และเดินเบาคงไม่ ไม่เกิน 900 รอบ ในขณะเปิดและปิดแอร์ รวมถึงรถเกียร์ออโต้ เมื่อใส่เกียร์ D หรือ R รอบเครื่องต้องไม่ตก และเครื่องไม่สั่น
ข้อน่ารู้เกี่ยวกับการติดแก๊สรถยนต์
ข้อน่ารู้เกี่ยวกับการติดแก๊สรถยนต์
มาตรฐานอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง
  1. ถังมัลติวาล์ว 48-55 ลิตร มีโซลินอยด์ที่คอถัง ถ้าไฟไม่จ่ายแก๊สไม่ไหล มัลติวาล์วมาตรฐานยุโรป ECE R 67-01 (00)มัลติวาล์วที่มีโซลินอยด์ จะปล่อยแก๊สออกจากถังก็ต่อเมื่อมีไฟมา ดังนั้นตอนดับเครื่อง จอดอยู่ หรือถ้าท่อแก๊สรั่วและเครื่องดับ แก๊สจะไม่ออกจากถังเลย ทันสมัยและปลอดภัยกว่าถังมือหมุน (ดูดีๆ นะครับ มัลติวาล์ว บางที่ไม่มีโซลินอยด์ และบางทีไม่มีเกจ์วัดปริมาณแก๊สที่ข้อต่อสายเข้ามาดูในรถได้ ต้องลำบากเปิดท้ายรถดู นอกจากนี้ มัลติวาล์วได้ประกบกับถังที่มีแก๊สแรงดันสูงอยู่ตลอดเวลา จึงควรสนใจว่าไม่ว่าผลิตที่ใด ได้ผ่านมาตรฐานใดๆ ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะนั่นเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้วย)
    ++ มาตรฐาน ECE R 67-01 นี้เข้มงวดมาก เพราะในยุโรปมีกว่า 10 ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้ควบคุม ใครจะติดตั้งแก๊สในรถ นี่นับเป็นหนึ่งในหลายมาตรฐานที่เชื่อถือได้++
    ในการติดตั้งถังปกติ ควรเจาะหกรู หรือห้ารู ยึดถังรูสองหุนครึ่งถังสามหุนสี่หรือสามรู กรณีที่มียึดกลางรูนึงในข้างหนึ่ง ถ้าพื้นที่ติดขัด รูร้อยท่อหายใจโปโล สองรู เกือบสี่สิบมิล รูที่ร้อยท่อโปโล จะใส่ยางวงกุ๊นขอบกันบาดท่อ และต้องฟิตต่อกัน ระหว่างยางขอบกับท่อโปโล ก่อนเอาขาถังประกบ ควรยิงซิลิโคนบางๆ รอบรูน็อต ด้านล่างไม่รองแหวนเปล่าๆ ให้มีเหล็กแบนยาวสองถึงห้านิ้วประกบก่อน เพื่อให้กระจายแรงกระชาก ก่อนใส่แหวนอีแปะและน็อตตัวเมีย ถ้าน็อตยาวพอ จะใส่ตัวเมียสองตัวต่อตัวผู้หนึ่งตัวกันคลาย พ่นสีดำอีกทีในจุดยึดใต้ท้อง และแหวนอีแปะที่ยึดถังกับขา หรือขากับรถด้านบน แหวนต้องหนาและกว้างกว่าปกติ ชุบซิงค์ ท่อโปโลที่ใช้ก็อย่างหนา ขายึดถังหนาสองหุน (บางที่ใช้หุนกว่า)
  2. ท่อแก๊สเป็นทองแดงอย่างหนา เบอร์ 18 (บางที่ใช้บางกว่าเป็น เบอร์ 19) หุ้มด้วยท่อยางทุกจุด ถ้ามีพื้นที่พอจะเดินวนกลมๆ ให้ยืดหยุ่นได้
  3. หม้อต้มอิตาลี หรือตุรกีใหม่ มาตรฐานยุโรปสูงสุด ECE R 67-01 (00) เลือกให้ตรงตามแรงม้าหรือพื้นที่ติดตั้ง หม้อต้มต้องเหมาะกับแรงม้า ไม่ใช่ซีซี และไม่ว่าจะผลิตที่ไหน ให้ถามหาหรือดูมาตรฐานด้วย เพราะต้องทำงานภายใต้แรงดัน จึงควรมีความปลอดภัย
  4. มีตัวไส้กรองแก๊สแยก ก่อนเข้าหม้อต้ม ระบบส่งเชื้อเพลิงใดๆ ควรมีการกรอง บางที่ไม่มีกรอง อ้างว่าไม่จำเป็นเพราะไม่อยากเพิ่มต้นทุน ตัวกรองนี้ไม่ว่าผลิตที่ใด ก็ควรผ่านมาตรฐานที่เชื่อถือได้ด้วย เพราะมีแก๊สแรงดันสูงผ่านตลอดเวลา
  5. ไฟที่จะไปติ๊กแก๊ส ไม่ใช่เปิดสวิทช์กุญแจแล้วไฟไปที่ติ๊กตลอด จะไปแค่ 2-3 วิ ถ้าเครื่องไม่หมุน ไฟจะไม่ไปติ๊กแก๊สต่อ (ยกเว้นรถบางคันที่สายไฟมีปัญหามา เช่น รถวางเครื่องหรือรถเครื่องคาร์บิวบางคัน)
  6. การต่อท่อทองแดงแบบตาไก่ หรือดับเบิลแฟล์ ไม่ต่อแบบซิงเกิลแฟล์ (ไม่มีการบานหัวแป๊บชั้นเดียว (แบบซิงเกิลแฟร์) ซึ่งปลายแป๊บจะแตกง่าย)
  7.  ท่อโปโลย่น ระบายแก๊สจากคอถัง (ถ้ารั่ว) เป็นแบบอย่างดี สั่งผลิตแบบหนาพิเศษ ไม่มีการผ่า ไม่มีซึม ร้อยผ่านยางกลมที่สอดไว้กับพื้นรถ กันบาดท่อโปโล
  8. ดิจิตอล แก๊ส มิเตอร์ แสดงเลขเป็น 1-99%แม่นยำกว่าต่อขึ้นหน้าปัด มีสวิทช์เลือกแก๊ส/น้ำมันในตัว ไม่ต้องมีสวิทช์โยกแบบโบราณ
  9. เข็มขัดรัดท่อทุกตัว ของดีแบบขันแน่น ไม่ใช่แบบบีบหรือหนีบเอา มีขอบเชิดขึ้นไม่บาดสาย ไม่ใช่
  10.  กล่องตัดหัวฉีดๆ ปิดสนิทและจะไม่ยกเลย ไม่ใช่ยังกระพริบเบาๆ
  11. มิกเซอร์ มีขนาดและทรงที่คำนวน พร้อมทดสอบมาอย่างดี
  12. ท่อยางน้ำ-แก๊สทุกเส้นใหม่ ยี่ห้อดี เป็น 2 ชั้น ทนแรงดันสูง
  13. มีจุกปิดที่เติมแก๊ส พร้อมกันหายด้วยสายสลิง ดูดีและทนทาน
  14. เช็คการรั่วของแก๊ส ด้วยแก๊ส-ดีเทคเตอร์ดิจิตอล ถ้ารั่วจะร้องดัง วัดทุกจุด แล้วอาจตามด้วยฟองผงซักฟอก ไม่ได้ใช้ฟองเช็คอย่างเดียว
  15. แก๊สเต็มถัง


ชุดติดตั้งอุปกรณ์แก๊สแอลพีจี

1.ถัง LPG (LPG TANK)
          เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตได้ในประเทศไทย และส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าแบบแผ่นรีดร้อน (Hot Rolled Coil) ที่ผ่านกรรมวิธีหลอมจากเตาคุณภาพสูง โดยเหล็กที่ใช้ในการผลิตถังจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ และต้องมีส่วนประกอบทางเคมีตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.370-2525
2.หม้อต้ม/อุปกรณ์ลดแรงดัน (Reguartor) แอลพีจี
          หม้อต้มจะทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพแก๊สจากของเหลวให้อยู่ในรูปของไอ เพื่อให้เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสมต่อการใช้กับเครื่องยนต์ มีวาล์วควบคุมการไหลเวียนของแก๊สให้สม่ำเสมอ โดยเซ็นเซอร์จทำการตรวจวัดอุณหภูมิระบบน้ำของเครื่องยนต์
          กล่าวได้ว่า หม้อต้มเป็นอุปกรณ์หลักที่จำเป็นในการใช้ติดตั้งอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบดูด และระบบฉีดแก๊ส โดยหม้อต้มที่ใช้ในระบบฉีดแก๊สมักจะมีรูปลักษณ์หลายแบบ มีทั้งแบบหม้อต้มและสายต้ม ซึ่งบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่จะออกแบบให้สวยงาม และกลมกลืนกับการนำไปติดตั้งในห้องเครื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ อยู่เสมอ
3. อุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศ (Mixer)
          ให้มีอัตราส่วนเหมาะสมกับการเผาไหม้ ก่อนจ่ายแก๊สเข้าเครื่องยนต์สำหรับการติดตั้งแก๊สระบบดูดทั้ง LPG/CNG ปัจจุบันมีมิกเซอร์สำหรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับรถยนต์แต่ละรุ่น โดยมีให้เลือกตั้งแต่ Fix Mixer, Variable Mixer โดยมีบางสำนักพยายามปรับปรุงรูปแบบการทำงานของอุปกรณ์ผสมให้มีการทำงาน ละเอียดขึ้น อาทิเช่น Valve Gas Mixer เป็นต้น
4.กล่องควบคุมการจ่ายแก๊สระบบดูด (Lambda Control)
          เป็นอุปกรณ์ควบคุมการสั่งจ่ายแก๊สในระบบดูด ด้วยสัญญานไฟฟ้าที่มีกล่องอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุมให้สเต็ปท์มอเตอร์ เปิด/ปิดวาล์วให้จ่ายแก๊สในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์ใน แต่ละรอบความเร็ว เพื่อขจัดปัญหาแก๊สหน้าหรือบางเกินไป ซึ่งส่งผลในเรื่องความประหยัด และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ในกรณีที่จ่ายแก๊สบางเกินไป
5.หัวฉีดแก๊ส (Gas Injection)
          เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ฉีดแก๊สเข้าห้องเผาไหม้ที่จำเป็นต้องทำ ได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองได้ทุกจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ โดยปัจจุบันหัวฉีดที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีทั้งหัวฉีดแบบราง, หัวฉีดแยกอิสระ และ Matrix
6.กล่องควบคุมและประมวลผลแก๊ส (Electronic Control Unit )
          หรือที่นิยมเรียกกันว่ากล่อง ECU มีหน้าที่รับข้อมูลการใช้เชื้อเพลิง และสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงกับอากาศจากกล่อง ECU ของรถยนต์ระบบหัวฉีด เพื่อจะนำมาควบคุมการทำงานของแก๊สแทนน้ำมัน ซึ่งกล่อง ECU แก๊สจะทำหน้าที่ประมวลสัญญานที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ของระบบทั้งหมดมาสั่งจ่าย แก๊สให้มีความเหมาะสมกับความต้องการเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์
7.สวิตซ์เลือกเชื้อเพลิง (Switch)
          เป็นปุ่มสวิตซ์ สามารถใช้ปรับเลือกใช้เชื้อเพลิงอัตโนมัติ โดยไม่ต้องหยุดรถ หรือดับเครื่องยนต์
8.วาล์ว (Valve)
          นับเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับถังแก๊ส ประกอบด้วยวาล์วป้องกันการรั่วของแก๊สในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน วาล์วป้องกันการรั่วซึมของแก๊สในกรณีที่ท่อเดินแก๊สรั่ว และวาล์วควบคุมการไหลย้อนของแก๊ส เป็นต้น
9.กรองแก๊ส (Gas Filter)
          ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกออกจากแก๊ส ก่อนจะจ่ายเข้าหัวฉีด เพื่อให้มีความสะอาดก่อนที่เชื้อเพลิงจะเผาไหม้
          อุปกรณ์แก๊ส นับเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการดัดแปลงเครื่องยนต์ จากเดิมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงมาเป็นแก๊ส ถ้าหากช่างหรือผู้ใช้รถยนต์เลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ย่อมหมายถึงงานติดตั้งที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และส่งผลดีต่อผู้ใช้รถยนต์ในระยะยาว
          ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามติดตามมาว่าการเลือกอุปกรณ์แก๊สที่ได้มาตรฐานนั้น ควรพิจารณาปัจจัยอะไรประกอบการตัดสินใจ ก่อนจะไปถึงในจุดนั้น ควรทำความเข้าใจอุปกรณ์แก๊สให้ถ่องแท้ถึงคุณสมบัติ และหลักการทำงานเบื้องต้น
          อุปกรณ์ที่แนะนำไปทั้ง 9 ชนิดนั้น เป็นอุปกรณ์หลัก ๆ เวลาที่ช่างนำไปติดตั้งนั้น จะมีการจัดเป็นชุดตามระบบที่ผู้ใช้ตัดสินใจเลือก ซึ่งมี 2 ระบบหลัก ๆ ด้วยกันคือระบบดูดแก๊ส กับระบบฉีดแก๊ส โดยแต่ละระบบสามารถจำแนกแยกย่อยออกไปตามความเหมาะสมสำหรับรถยนต์แต่ละรุ่น
ระบบดูดแก๊ส (MIXER)
          ระบบดูดธรรมดา (Fix Mixer)           อุปกรณ์ระบบดูดธรรมดาที่ใช้ในการติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจี มีดังนี้
  1. ถังบรรจุแก๊สแอลพีจี (lpg Tank)
  2. วาล์ว (Valve) ที่นิยมใช้มี 3 ประเภทคือวาล์วแบบมือหมุนธรรมดา,มัลติวาล์ว และวาล์วซูเปอร์
  3. อุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศ (Mixer)
  4. อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน หรือนิยมเรียกกันว่าหม้อต้ม (Reguartor)
  5. สวิตซ์ (Switch)
  6. ชุดสายไฟ
  7. ท่อทองแดง
          ระบบคาร์บูเรเตอร์ มีสัญญานออกซิเจนเซ็นเซอร์(Fix Mixer Lambda Control)           อุปกรณ์ระบบดูดสำหรับรถคาร์บูเรเตอร์ แบบมีสัญญานออกซิเจนเซ็นเซอร์ มีดังนี้
  1. ถังบรรจุแก๊สแอลพีจี (lpg Tank)
  2. วาล์ว (Valve) ที่นิยมใช้มี 3 ประเภทคือวาล์วแบบมือหมุนธรรมดา,มัลติวาล์ว และวาล์วซูเปอร์
  3. อุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศแบบแปรผัน (Variable Mixer)
  4. อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน หรือนิยมเรียกกันว่าหม้อต้ม (Reguartor)
  5. กล่องควบคุมการจ่ายแก๊สระบบดูด (Lambda Control)
  6. สวิตซ์ (Switch)
  7. ชุดสายไฟ
  8. ท่อทองแดง
ระบบฉีดแก๊ส (Sequential Injecton)
          อุปกรณ์ระบบฉีดแก๊สแอลพีจี มีดังนี้
  1. ถังบรรจุแก๊สแอลพีจี (lpg Tank)
  2. วาล์ว (Valve) ที่นิยมใช้มี 2 ประเภทคือมัลติวาล์ว และวาล์วซูเปอร์
  3. อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน หรือนิยมเรียกกันว่าหม้อต้ม (Reguartor)
  4. กล่องควบคุมและประมวลผลแก๊ส (Electronic Control Unit ) หรือ “ECU”
  5. หัวฉีด (GAS Injection)
  6. สวิตซ์ (Switch)
  7. ชุดสายไฟ
  8. ท่อทองแดง

ชุดติดตั้งอุปกรณ์ NGV/CNG

1. กรองก๊าซ (Gas Filter)
          กรองก๊าซ เป็นตัวกรองสิ่งสกปรกที่ติดมากับก๊าซก่อนจะเข้าสู่ระบบของเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันเศษสิ่งสกปรกที่ไปสะสมที่หัวจ่ายก๊าซ
2. หม้อลดแรงดัน (Regulator)
          หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวลดแรงดันและวาล์วควบคุมการปิด-เปิด ทำหน้าที่ลดความดันก๊าซจากถังบรรจุก๊าซให้อยู่ในระดับที่ใช้งานได้และทำการ ควบคุมปริมาณการไหลของก๊าซ โดยปริมาณการไหลจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนการจ่ายก๊าซของระบบ
3. ชุดหัวฉีดก๊าซ (Comorial Injection)
          หัวฉีดก๊าซทำหน้าที่จ่ายก๊าซให้กับเครื่องยนต์ติดตั้งต่อจากหม้อ ลดแรงดัน(Reducer) โดยจ่ายก๊าซตามคำสั่งที่ได้รับจาก ECU ซึ่งจะจ่ายก๊าซตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ ภายใต้การประมวลผลของ ECU
4. ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติ (CNG Cylinder)
          เป็นที่เก็บก๊าซจากการเติม โดยมีความจุถังเปล่าตั้งแต่ 70 ลิตรน้ำขึ้นไป ถังบรรจุก๊าซธรรมชาติควรตรวจสอบโดยผู้ชำนาญทุกๆ 1ปี)
5. วาล์วนิรภัย (Valve Seal Box)
          เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถระบายก๊าซออกจากถังในกรณีที่ถังรับความดัน สูงเกินกำหนด
6. วาล์วประธาน (Master Shut Off Valve)
          เป็นวาล์วทำจากวัสดุทองเหลืองอยู่ด้านล่างของหัวเติมก๊าซ จะใช้งานเมื่อต้องการทำการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ก๊าซในห้องเครื่องรถยนต์ ทำงานโดยใช้มือหมุนปิดเพื่อไม่ให้ก๊าซไหลเข้าระบบ
7. หัวรับก๊าซ (Filling Valve)
          มีหน้าที่รับ CNG เข้าถังบรรจุ หัวเติมก๊าซนี้จะมีเช็ควาล์วป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ก๊าซไหลทางเดียว ไม่สามารถไหลออกไป
8. กล่องสมองกลก๊าซ (E.C.U)
          เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับการอ่านค่าของเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อมาประมวลผลในการควบคุมการฉีด CNG เข้าสู่ห้องเผาไหม้ให้เหมาะสมกับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์
9. มิกเซอร์(Mixer) : ใช้เฉพาะระบบดูดเท่านั้น
          ทำหน้าที่จ่ายก๊าซเข้าร่วมไอดีและรีดความเร็วของอากาศผ่าน มิกเซอร์ให้เกิดการผสมผสานของก๊าซกับอากาศได้ดี แล้วจ่ายไปที่กระบอกสูบ เพื่อทำการเผาไหม้ต่อไป โดยใช้หัวเทียนจุดระเบิด
10. เกจวัดความดันก๊าซ(Pressure Gauge)
          ทำหน้าที่วัดความดันก๊าซแล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าในมาตรวัดปุ่มไฟ ตามปริมาณของก๊าซ เกจวัดความดันนี้จะดูได้เมื่อสตาร์ทรถยนต์แล้วเปลี่ยนไปใช้โหมดก๊าซ
11. โซลินอยด์ วาล์ว (Solenoid Shut-off valve)
          เป็นวาล์วอีเลคทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปิดก๊าซให้เข้าระบบเมื่อเดินเครื่องยนต์ในโหมดก๊าซและปิดก๊าซ เมื่อเดินเครื่องยนต์ในโหมดน้ำมันโซลินอยด์วาล์วจะปิดกั้นก๊าซไม่ให้ลิ้น เข้าหม้อต้มในขณะเติมก๊าซอยู่
12. ท่อก๊าซความดันสูง
          ท่อเชื้อเพลิงที่ทำการเชื่อต่อระหว่างถังบรรจุกับหม้อลดความ ดัน(Pressure Reducer)เพื่อส่งก๊าซจากถังก๊าซไปยังอุปกรณ์ในห้องเครื่องยนต์ ท่อก๊าซนี้ต้องทนแรงดันสูงและได้รับมาตรฐาน ISO-15000
          อุปกรณ์ NGV ที่แนะนำไปทั้ง 12 ชนิดนั้น เป็นอุปกรณ์หลัก ๆ เวลาที่ช่างนำไปติดตั้งจะมีการจัดเป็นชุดตามระบบที่ผู้ใช้ตัดสินใจเลือก ซึ่งมี 2 ระบบหลัก ๆ ด้วยกันคือระบบดูดก๊าซ (Fumigation)กับระบบฉีดก๊าซ (Injection System) โดยแต่ละระบบมีอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้
ระบบดูดก๊าซ (Fumigation)
          อุปกรณ์ของระบบผสมก๊าซ และอากาศในท่อไอดี (Air&GAS MIXER) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
  1. ถังบรรจุก๊าซ NGV/CNG
  2. วาล์วหัวถัง
  3. ท่อแรงดันสูง
  4. วาล์วหัวเติม
  5. เกจ์วัดแรงดันก๊าซ
  6. โซลินอยด์วาล์ว
  7. อุปกรณ์ลดแรงดันก๊าซ
  8. เพาเวอร์วาล์ว
  9. ก๊าซมิกเซอร์
  10. สวิตซ์เปลี่ยนเชื้อเพลิง
          อุปกรณ์ NGV ที่แนะนำไปทั้ง 12 ชนิดนั้น เป็นอุปกรณ์หลัก ๆ เวลาที่ช่างนำไปติดตั้งจะมีการจัดเป็นชุดตามระบบที่ผู้ใช้ตัดสินใจเลือก ซึ่งมี 2 ระบบหลัก ๆ ด้วยกันคือระบบดูดก๊าซ (Fumigation)กับระบบฉีดก๊าซ (Injection System) โดยแต่ละระบบมีอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้
ระบบฉีดก๊าซ (Injecton System)
          อุปกรณ์ระบบฉีดก๊าซ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
  1. ถังบรรจุก๊าซ NGV/CNG
  2. วาล์วหัวถัง
  3. ท่อแรงดันสูง
  4. วาล์วหัวเติม
  5. เกจ์วัดแรงดันก๊าซ
  6. โซลินอยด์วาล์ว
  7. อุปกรณ์ลดแรงดันก๊าซ
  8. หัวฉีด
  9. กล่อง ECU (Electronic control unit)
  10. สวิตซ์เปลี่ยนเชื้อเพลิง


ที่มา  
http://www.gasforcars.net
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ภาพ www.weekendhobby.com