วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความจริง ของ เครื่องกรองนํ้า

เห็นใคร(เซลล์)หลายคน บอกว่าเครื่องกรองนํ้าโน่น นี่ นั่น ดีสารพัด
บางเครื่อง เติมโอโซนบ้างล่ะ ใส่แร่อันมหัศจรรย์บ้างล่ะ นํ้าพลังแม่เหล็ก(ยังกับ iron man) บางเครื่องเทพมาก กรองนํ้าออกมาเป็นโมเลกุลรูปเหลี่ยม (โครตเทพ) สารพัดตามแต่ละยี่ห้อ
โดยราคาบางชนิด ซื้อมอเตอร์ไซด์ได้คันนึงเชียวนะเออ (คุ้มมั้ยนั่น)
แต่เราคงจะลืมไปว่า นํ้าดื่มที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด คือนํ้าดื่มที่บริสุทธิ์ เท่านั้นเอง
ไม่ต้องพิเศษเลิศเลอมาจากไหน

ด้วยความที่เป็นคนธรรมดา ไม่เชี่ยวชาญด้านเครื่องกรองนํ้า
แต่ก็พอรู้มาบ้างว่า เครื่องกรองนํ้าทั่วโลกมันก็ก็มีหลักการเดียวกัน ก็คือ กรองนํ้าให้สะอาด (มากน้อยแล้วแต่ วิธีการของแต่ละยี่ห้อ)

มาเริ่มกันเลย!!!

นํ้าทั่วๆไป ที่กิน ดื่ม ใช้ กันมีหลายๆแบบ ตามพื้นที่นั้นๆ
1. นํ้าขวด
2. นํ้าปะปา
3. นํ้าฝน
4. นํ้าบาดาล
5. นํ้าจากแม่นํ้า ลำคลอง

ดังนั้นสิ่งปนเปื้อนก็จะต่างๆกันไป ตามแต่ละชนิดของแหล่งที่มาของนํ้า
1. นํ้าขวด
- สิ่งปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่ละยี่ห้อ
2. นํ้าปะปา
- คลอรีน ปูนขาว โซเดียมคาร์บอเนต สารส้ม 
3. นํ้าฝน
- ฝุ่น ผง ควันพิษ เชื้อโรคต่างๆ
4. นํ้าบาดาล
- ดิน ตะกอน ยาฆ่าแมลง สารเคมี สารพิษต่างๆ น้ำทิ้งจากโรงงาน น้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำ เชื้อโรคต่างๆ
5. นํ้าจากแม่นํ้า ลำคลอง
- ดิน ตะกอน ยาฆ่าแมลง สารเคมี สารพิษต่างๆ น้ำทิ้งจากโรงงาน น้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำ เชื้อโรคต่างๆ

แล้วจะทำอย่างไรกับสิ่งปนเปื้อนพวกนี้ล่ะ
หลักการง่ายๆ คือหาวัสดุที่สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนพวกนี้




คุ้นๆกันมั้ย สมัยเด็กๆ

แต่พอโตขึ้น มันก็มีสารเคมีบางตัวที่เหมาะสม มาให้ใช้งานเพิ่ม (อีกเยอะเลย ^^)

- PP(Poly Polemer), Sendiment 1-5 micron    ขจัด ตะกอน สนิม สิ่งปลอมปนในนํ้า
- ไส้กรองด้ายพัน 5 micron กรองสารอินทรีย์ต่างๆ กรวด หิน ดิน ทราย
- ไส้กรองจีบ 0.3 micron (ล้างได้) กรองกรวด หิน ดิน ทราย และสนิม
- Ceramic 0.3 micron (ล้างได้)   กรองฝุ่นขนาดเล็ก เชื้อโรค แบคทีเรีย
- Carbon GAC 0.3 micron   ดูดซับกลิ่น คลอรีน สี ปรับความเป็นกรด-ด่าง โลหะหนัก สารเคมี
- Carbon Block (CIF) 0.3 micron   ดูดซับกลิ่น คลอรีน สี ปรับความเป็นกรด-ด่าง โลหะหนัก สารเคมี
- Rasin 0.1 micron (ล้างได้)   ตัวกลางดูดสารละลายหินปูน ปรับความกระต้างของนํ้า
- UF Membrain (Ultra Filtration) 0.01 micron   กรองฝุ่นขนาดเล็ก เชื้อโรค แบคทีเรีย
- RO Membrain 0.0001 micron   กรองฝุ่นขนาดเล็ก เชื้อโรค แบคทีเรีย
- Post Carbon 0.3 micron   ดูดซับกลิ่น คลอรีน สี ปรับความเป็นกรด-ด่าง ที่หลงเหลืออยู่จากทุกขั้นตอน
- UV เอาไว้ฆ่าเชื้อโรคอย่างเดียว มีไวรัสบางตัว ต้องฆ่าด้วยรังสีแกรมม่า (อันนี้ก็เว่อร์ไป)

จำพวกนํ้า special (นํ้าบาดาล นํ้าคลอง)

- แมงกานีส กำจัดสารโลหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารละลายเหล็ก และยังเติมออกซิเจนให้กับน้ำ
- แอนทราไซต์ กำจัดตะกอนและสนิมเหล็ก

เครื่องกรองทั่วจักรวาล ก็คงหนีไม่พ้นสารเคมีด้านบน
มาดูชนิดของเครื่องกรองนํ้ากัน


1. กรองนํ้าธรรมดา (0.3 - 0.01 micron)
ระบบการกรอง 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 Sediment (PP)
ขั้นตอนที่ 2 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 3 Post Carbon

ระบบการกรอง 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 Sediment (PP)
ขั้นตอนที่ 2 Resin หรือ Carbon GAC ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่จะทำการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 4 UF Membrain หรือ Post Carbon ตามกำลังทรัพย์
ขั้นตอนที่ 5 Post Carbon

2. กรองนํ้า UV (0.3 - 0.01 micron)
ขั้นตอนที่ 1 Sediment (PP)
ขั้นตอนที่ 2 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 3 Resin
ขั้นตอนที่ 4 Post Carbon
ขั้นตอนที่ 5 UV

3. กรองนํ้า RO (0.0001 micron)
ระบบการกรอง 5 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ไส้กรอง20" Sediment (PP) กรองได้ 5 ไมครอน
ขั้นตอนที่ 2 Resin หรือ Carbon GAC ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่จะทำการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 4 RO Membrain
ขั้นตอนที่ 5 Post Carbon

4. กรองนํ้าลูกผสม (0.3 - 0.0001 micron)
เอาหลายๆอย่างมาผสมกัน (ตามแต่ละยี่ห้อ)
ระบบการกรอง 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ไส้กรอง20" Sediment (PP) กรองได้ 5 ไมครอน
ขั้นตอนที่ 2 Resin หรือ Carbon GAC ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่จะทำการติดตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 Carbon Block
ขั้นตอนที่ 4 RO Membrain
ขั้นตอนที่ 5 Post Carbon
ขั้นตอนที่ 6 UV

5. กรองนํ้าขั้นเทพ ( xxxx micron)
-โอโซน
-พลังแม่เหล็ก
-พลังนาโน
-โมเลกุล 6 เหลี่ยม
-พลังจิต
-อื่นๆ เยอะแยะ สารพัด แล้วแต่ยี่ห้อ

6 กรองนํ้าอุตสาหกรรม (0.01 - 0.0001 micron)
















**แต่ละชนิด สามารถปรับเปลี่ยน ขั้นตอน และ ใส้กรอง ได้ตามความต้องการ (เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด)





แสดงขั้นตอน การกรองนํ้า


แล้วๆ อายุการทำงานของไส้กรองล่ะ

ประมาณ 6-12 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มากน้อย


อยากจะทำ เครื่องกรองนํ้าเองกันมั้ย ประหยัดๆ 
แบบ ธรรมดา ก็ไม่เกิน 1,000 บาท
แบบ RO ก็ไม่เกิน 3,000 บาท

ลองเข้า link นี้ดูครับ
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/08/R9556971/R9556971.html
http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/06/R9383802/R9383802.html



ที่มา
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X11175678/X11175678.html
http://guru.sanook.com
http://www.aqua-dd.com