วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการวัด Air–Fuel Ratio (จูนหนา/บาง) อย่างแม่น


ถ้าท่านกำลังสงสัยว่ารถของท่านที่ติดแก้สมานั้นมีการจ่ายแก้สได้ส่วนผสมที่ดีหรือไม่ หรือที่เรียกกันในวงการว่าจูนบาง(แก้สน้อยอากาศมาก) จูนหนา(แก้สมากอากาศน้อย) เทคนิคการตรวจวัดที่เรากำลังจะบอกท่านคงสามารถช่วยท่านไขข้อข้องใจและแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือแพงๆเช่น AF meter ลองทำตามเป็นขั้นๆได้เลยครับ
1. ก่อนอื่นก็ต้องหาออกซิเจนเซนเซอร์ให้เจอก่อนมักอยู่แถวๆท่อไอเสียครับ ถ้ามีมากกว่าหนึ่งตัว ให้ใช้ตัวที่ใกล้เครื่องยนต์ที่สุด



2.ออกซิเจนเซนเซอร์มักจะมีสายไฟประมาณ 2 ถึง 4 เส้น จะต้องหาสายสัญญานให้เจอก่อนโดยติดเครื่องยนต์ให้ร้อนก่อนสัก ห้าถึงสิบนาทีเพราะออกซิเจนเซนเซอร์จะทำงานตอนที่มันร้อนเพียงพอเท่านั้น เสร็จแล้วใช้เข็มหมุดแทงและใช้โวลท์มิเตอร์วัดแรงดัน ถ้าค่าอยู่ระหว่าง 0จุดกว่าๆ ถึง 1 กว่าๆ แสดงว่าเป็นสายเซนเซอร์ ถ้าเป็นค่าอื่นๆเช่น 0 หรือ 12กว่าๆ 13กว่า แสดงว่าไม่ใช่สายสัญญานเซนเซอร์ พักดูรูปเซนเซอร์ใกล้ๆอีกที



3. จากนั้นก็ทำการจูนตามแต่วิธีที่ท่านถนัด เช่น ปรับวาวล์กลางสาย หรือ ปรับสกรูที่หม้อต้ม และการอ่านค่าแลมด้าทำได้โดยดูค่าโวลท์ แล้วเทียบเป็นค่าแลมด้าจากกราฟ



4. ตัวอย่างเช่นถ้าท่านอ่านค่าได้ ประมาณ 0.5 Volt แสดงว่าค่าแลมด้าอยู่ประมาณ 1 การจูนให้ได้ แลมด้าเท่ากับหนึ่งในทุกรอบเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่จะจูนอย่างไรให้ได้ใกล้เคียงในย่านของรอบเครื่องยนต์ที่กว้างพอสมควรก็ถือว่าดีแล้ว



5. ข้อจำกัดของวิธีนี้ก็คือ เซนเซอร์ที่ติดรถเป็นแบบที่อ่านค่าได้ในช่วงแคบ(narrow band) เพราะฉะนั้นถ้าค่าแลมด้ามากหรือน้อยกว่า หนึ่งมากๆจะอ่านค่าไม่แม่นยำ แต่พอจะใช้ประมาณได้ว่า rich หรือ lean ค่อนข้างมากหรือน้อยได้แม่นพอควร
6. สำหรับรถโตโยต้ารุ่นที่มีปลั้ก diagnosis แบบในรูปก็จะสามารถวัดค่าออกซิเจนเซนเซอร์ได้ง่ายกว่า ก่อนอื่นต้องมองหาขั้ว DIAGNOSIS ที่อยู่ที่ฝากระโปรงตามรูปก่อนครับ



7. เปิดฝาdiagnosis terminal แล้วก็หาดิจิตอลโวลท์มิเตอร์ มาวัดที่ขั้วต่ออกซิเจนเซนเซอร์ตำแหน่งตามรูป



8. อ้อ ลืมไปว่าต้องติดเครื่องให้ร้อนก่อนสัก ห้าถึง สิบนาทีให้ ออกซิเจนเซนเซอร์ร้อนจนถึงอุณหภูมิทำงานก่อนจึงจะวัดได้ครับ
9. ถ้าจูนโดยการปรับวาว์ลหรือสกรูปรับแรงดันต่างๆจนอ่อนใจแล้วยังได้ค่าไม่ใกล้เคียงแสดงว่า มิกเซอร์ที่ใช้ไม่แมทช์กับเครื่องลองเปลี่ยนมิกเซอร์ดู
10. ขอให้สนุกและประสบความสำเร็จในการปรับนะครับจะได้รถที่ทั้งประหยัดและแรงพอสมควร



GasThai.Com ขอขอบคุณ
บทความ/ทดสอบ โดยคุณนิพนธ์ ZG Garage 



ที่มา http://www.gasthai.com/article/html/8.html