วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ยาแก้อักเสบ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (แบคทีเรีย)

 

"ยาแก้อักเสบ" ที่คุณใช้เรียกในที่นี้ เข้าใจว่าหมายถึงกลุ่มยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ซึ่งมีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย จึงมีประโยชน์ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เช่น ทอนซิลอักเสบหูอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บิด ไทฟอยด์ อหิวาต์ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฝี พุพอง แผล อักเสบเป็นหนอง เป็นต้น เนื่องจากคำว่า "ยาปฏิชีวนะ" เป็นภาษาแพทย์ซึ่งฟังดูเป็นวิชาการ ที่อาจเข้าใจยากสักหน่อย เมื่อมียากลุ่มนี้ออกมาใช้ในสมัยก่อน (๔๐-๕๐ ปีมาแล้ว) แพทย์จึงแปลงชื่อยาเป็นภาษาชาวบ้านว่า "ยาแก้อักเสบ" เมื่อกินยานี้เข้าไปทำลายหรือฆ่าเชื้อ แบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคติดเชื้อ อาการอักเสบ (อาการปวดบวม แดง ร้อนที่อวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ฝี แผลอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ที่เห็นจากภายนอกได้ชัดเจน) ก็จะทุเลาลงไป




๑. ทำไมแต่ละครั้งที่ไปหาหมอ ถึงได้ยาแก้อักเสบมาไม่เหมือนกัน สังเกตดูว่าคนละชื่อกันเลย เช่น แอมพิซิลลินหรืออะม็อกซีซิลลิน

ที่ให้ยาปฏิชีวนะแตกต่างกันก็เพราะการเจ็บป่วย (เรียกให้จำเพาะเจาะจง ก็คือ "การติดเชื้อแบคทีเรีย") แต่ละครั้งเกิดจากสาเหตุ (เชื้อแบคทีเรีย) ต่างกัน
 เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งๆ มักจะมียาปฏิชีวนะให้เลือกใช้ได้มากกว่า ๑ ชนิด


๒. ตามความเป็นจริงแล้วยาแก้อักเสบแต่ละตัวกินแทนกันได้ไหมคะ หรือว่าเป็นโรคนี้ต้องกินยาแก้อักเสบตัวนี้ ถ้าเป็นโรคอื่นต้องกินยาแก้อักเสบตัวอื่น

 ขึ้นกับว่ายาชนิดนั้นๆ มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดใด 

๓. ถ้าสมมุติว่ามียาแก้อักเสบอยู่ที่บ้าน เช่น แอมพิซิลลิน แล้วเราเจ็บคอเป็นทอนซิลอักเสบ จะเอายาแอมพิซิลลินมากินได้ไหม หรือต้องซื้อยาตัวอื่นคะ

 ขึ้นกับว่ายาชนิดนั้นๆ มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดใด 

๔. ดิฉันเคยเห็นคนแถวบ้านเป็นแผลมีหนองที่นิ้วเท้า (เกิดจากเล็บขบ) แล้วเขานำยาแก้อักเสบมาถอดแคปซูลออก แล้วโรยยาใส่ที่แผลเลย ไม่ทราบว่าการทำแบบนั้นจะได้ผลดีหรือจะเป็นอันตรายอย่างไรหรือเปล่าคะ

ไม่แนะนำให้ทำเช่นนั้นครับ เพราะอาจใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแพ้ยาที่โรยได้ พบอยู่บ่อยๆ ว่าชาวบ้านจะนำเพนิซิลลิน หรือไม่ก็ซัลฟามาทาหรือโรยแผล วันแรกๆ ก็ ดูแห้งดี แต่วันต่อมากลับมีอาการเห่อ แดง คัน และเกาจนเป็นหนองเฟะ หรือไม่ก็พบว่าผงยาที่โรยนั้นเกาะกันเป็นแผ่นปกคลุมแผลไว้ ดูจากภายนอกนึกว่าแผลแห้ง แต่ข้างใต้แผลนั้นกลับมีหนองขังอยู่

๕. ยาแก้อักเสบตัวไหนที่ดีที่สุดหรือรักษาได้ครอบคลุมมากที่สุด และยาตัวไหนที่ทำให้แพ้ได้ง่ายบ้างคะ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงไม่ซื้อมากินค่ะ



ในโลกนี้ไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใดที่ดีที่สุด หรือรักษาได้ครอบจักรวาลที่สุด ยาแต่ละตัวมีขอบเขตในการรักษาโรคแตกต่างกันไปครับ การใช้ยาปฏิชีวนะต้องใช้ให้ถูกโรค (ถูกกับเชื้อ) ถูกขนาด และถูกระยะ (ครบวัน) ถ้าใช้ผิดโรคก็ไม่ได้ผล ถ้าผิดขนาดก็อาจไม่ได้ผล (ขนาดน้อยไป) หรือเป็นอันตราย (ขนาดมากเกินไป) ถ้าไม่ครบระยะ โรคอาจกำเริบ และเชื้ออาจดื้อยาตามมา




ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบแบบครอบจักรวาล แต่เป็น "ยาฆ่าเชื้อ" (แบคทีเรีย) ถ้าใช้ไม่เป็นหรือใช้พร่ำเพรื่อ ในอนาคตเชื้ออาจฆ่าเราได้ เนื่องจากเชื้อโรคบางชนิดอาจดื้อยาปฏิชีวนะสารพัด จนไม่อาจหายาปฏิชีวนะตัวใดในโลกมารักษาได้ ในขณะนี้วงการแพทย์ทั่วโลกพากันห่วงใยว่า ถ้าสักวันหากมีการระบาดของเชื้อดื้อยา มนุษย์ก็จะประสบภัยอันมหันต์ ก่อนใช้ "ยาแก้อักเสบ" (ยาปฏิชีวนะ) ก็ขอให้คิดสักนิด




ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับยา


1. ป่วย มีไข้ ต้องใช้ยาแก้อักเสบ
โรคส่วนใหญ่ของคนที่มารพ. เป็นโรคทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร นั่นคือกลุ่มพวกไข้เจ็บคอ หรือท้องเสีย ซึ่งในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ของการติดเชื้อจะเป็นเชื้อไวรัส .... ซึ่งการให้ยาแก้อักเสบส่วนใหญ่ก็เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์ 


2. ยาแพง ยาแรง
ยาราคาแพงบางตัวถูกสร้างขึ้นมาโดยมีความสามารถฆ่าเชื้อไม่กี่ชนิด ... และบ่อยครั้ง ที่ยาราคาแพงบางตัว ไม่สามารถนำมาใช้รักษาโรคง่ายๆได้


3. หายแล้วก็หยุดกินได้
การทำเช่นนี้ก่อผลเสีย สองอย่างก็คือ อย่างแรก ในครั้งแรก การได้รับยาไม่พอก็จะทำให้เชื้อเกิดการดื้อยาขึ้นมาบางส่วนและยังไม่ทันถูก ฆ่าให้หมดไป... ถึงจะหายป่วย แต่ก็จะมีเชื้อที่ดื้อยาหลงเหลืออยู่
อย่าง ที่สอง เมื่อเก็บยาไว้ใช้ในครั้งต่อไป มักจะเก็บไม่ถูกวิธี ยาที่ใช้ก็เสื่อมสภาพไป เมื่อนำมาใช้ก็ให้ระดับยาที่ต่ำเกินกว่าที่จะฆ่าเชื้อได้ ก็จะทำให้เชื้อที่เสี่ยงจะดื้อยาอยู่แล้วเกิดการดื้อยาเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก



4. เราสามารถซื้อยาตามอาการได้
การใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องใช้โดยมีความรู้เรื่องเชื้อเรื่องยา การซื้อเองโดยไม่มีความรู้หรือคิดว่ารู้(แต่จริงๆไม่รู้) นอกจากจะได้ยาไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นอยู่ ยังอาจเกิดอันตรายได้
มิฉะนั้น เขาคงไม่ระบุไว้ข้างกล่องหรอกครับว่า "ยาอันตราย"



5.ใช้ยากว้างๆดีกว่าใช้ยาแคบๆ
ในทางกลับกัน แพทย์จะเลือกยาที่ออกฤทธิ์แคบที่สุดเท่าที่จะแคบได้ในการรักษาโรค
สาเหตุหนึ่งคือ ราคาถูก
แต่สาเหตุที่สำคัญกว่าคือ ป้องกันการดื้อยา 



ที่มา 
http://www.doctor.or.th/node/2497
http://mor-maew.exteen.com/20080812/by